หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำโปรแกรมคำสั่งสำหรับเครื่องกัด CNC

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-SSXO-394A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำโปรแกรมคำสั่งสำหรับเครื่องกัด CNC

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการจัดทำโปรแกรมคำสั่งสำหรับเครื่องกัด กำหนดขั้นตอนในการทำงานกัด การเลือกใช้เครื่องมือตัด การแก้ไขโปรแกรมคำสั่งรวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของทางเดินของเครื่องมือตัดเพื่อใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM17.1

กำหนดขั้นตอนในการทำงาน

1.1 กำหนดขั้นตอนการกัด

102MM17.1.01 217837
102MM17.1

กำหนดขั้นตอนในการทำงาน

1.2 เลือกเครื่องมือตัดสำหรับงานกัด

102MM17.1.02 217838
102MM17.1

กำหนดขั้นตอนในการทำงาน

1.3 กำหนดพารามิเตอร์ในการตัดเฉือนด้วยเครื่องกัดที่เหมาะสม

102MM17.1.03 217839
102MM17.2

ตรวจสอบความสมบูรณ์ของ 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

2.1 ตรวจเช็คความไม่สมบูรณ์ของ 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

102MM17.2.01 217840
102MM17.2

ตรวจสอบความสมบูรณ์ของ 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

2.2 ปรับปรุง 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

102MM17.2.02 217841
102MM17.3

การทำโปรแกรมคำสั่ง (CAM) สำหรับเครื่องกัด CNC


3.1 กำหนดค่าศูนย์แกนชิ้นส่วน

102MM17.3.01 217842
102MM17.3

การทำโปรแกรมคำสั่ง (CAM) สำหรับเครื่องกัด CNC


3.2 สร้างทางเดินของเครื่องมือตัดสำหรับงานกัด

102MM17.3.02 217843
102MM17.3

การทำโปรแกรมคำสั่ง (CAM) สำหรับเครื่องกัด CNC


3.3 ตรวจสอบความถูกต้องของทางเดินของเครื่องมือตัด และสร้าง NC-Code

102MM17.3.03 217844
102MM17.3

การทำโปรแกรมคำสั่ง (CAM) สำหรับเครื่องกัด CNC


3.4 ตรวจสอบความถูกต้องของ NC-Code

102MM17.3.04 217845

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถอ่านแบบชิ้นส่วน

2.    สามารถเลือกเครื่องมือตัดสำหรับงานกัดเพื่อใช้กับการขึ้นรูป

3.    สามารถใช้โปรแกรม CAD ในการตรวจสอบของ 3D Model

4.    สามารถใช้คำสั่งโปรแกรม CAD ในการซ่อม 3D Model ให้มีความสมบูรณ์

5.    สามารถกำหนดพารามิเตอร์รูปทรงของเครื่องมือตัดสำหรับงานกัดลงในโปรแกรม CAM

6.    สามารถกำหนดพารามิเตอร์ของการตัดเฉือนกระบวนการกัดด้วยโปรแกรม CAM

7.    สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นของการทำงานกัดในโปรแกรม CAM

8.    สามารถใช้โปรแกรม CAM ในการสร้างทางเดินจำลอง (Tool Path) 

9.    สามารถจำลองการเดินของเครื่องมือตัดเฉือนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์

10.    สามารถสร้าง NC-Code 

11.    สามารถแสดงการตรวจสอบความถูกต้องของ NC-Code

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับแบบทางวิศวกรรม

2.    ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ GD&T

3.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตัดสำหรับงานกัด (Rotational Cutting Tool)

4.    ความรู้เกี่ยวกับวัสดุเครื่องมือสำหรับงานกัด (Rotational Cutting Tool)

5.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกัด

6.    ความรู้เกี่ยวกับพารามิเตอร์งานกัดที่ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานสำเร็จงาน

7.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทของไฟล์ CAD และประเภทวัตถุในโปรแกรม CAD

8.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรม CAD

9.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรม CAM

10.    ความรู้เกี่ยวกับ NC-Code งานกัด

11.    ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกัด CNC และอุปกรณ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านการใช้งานโปรแกรม CAM ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยกระบวนการกัด จากสถานประกอบการ หรือ

      2.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโปรแกรม CAM ชิ้นส่วนด้วยกระบวนการกัด หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโปรแกรม CAM ชิ้นส่วนด้วยกระบวนการกัด หรือ

      3.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับงานกัด CNC หรือ

      4.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานกัด CNC หรือ

      5.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้โปรแกรม CAD ในการสร้างแบบจำลอง 2D/3D งาน Surface เบื้องต้น และการตรวจสอบขนาด

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้โปรแกรม CAM

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมึความรู้เกี่ยวกับการตัดเฉือนโลหะที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น สเตนเลสสตีล หรือไทเทเนียม เป็นต้น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

      2.    โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรม CAM  หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นใดที่ช่วยในการสร้างภาพทางเดินเครื่องมือตัดจาก NC-Code หรือ

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    อุปกรณ์ที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรม CAD และโปรแกรม CAM

      2.    ไฟล์อิเล็คทรอนิกส์ที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย แบบจำลองสามมิติของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดขั้นตอนในการทำงาน

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้โปรแกรม CAM

      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการตัดเฉือน

      4.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการกำหนดขั้นตอนในการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความสมบูรณ์ของ 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้โปรแกรม CAD

      3.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการตรวจสอบความสมบูรณ์ของ 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการทำโปรแกรมคำสั่ง (CAM) สำหรับเครื่องกัด CNC

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้โปรแกรม CAM

      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการตัดเฉือน

      4.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการทำโปรแกรมคำสั่ง (CAM) สำหรับเครื่องกลึง CNC

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ