หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตชิ้นส่วนด้วยการทุบขึ้นรูป (Forging)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-JVTR-391A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตชิ้นส่วนด้วยการทุบขึ้นรูป (Forging)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะการปฏิบัติงานผลิตชิ้นส่วนด้วยการทุบขึ้นรูปได้อย่างปลอดภัย สามารถเตรียมงานก่อนการปฏิบัติงาน ป้อนโลหะ และตั้งค่าการขึ้นรูป รวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของขนาดชิ้นส่วนภายหลังการผลิต และบำรุงรักษาเครื่องทุบขึ้นรูปเบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM14.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

102MM14.1.01 217808
102MM14.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนและหลังปฏิบัติงาน

102MM14.1.02 217809
102MM14.2

การเตรียมการปฏิบัติงานด้วยเครื่องทุบขึ้นรูป

2.1 ติดตั้งแม่พิมพ์

102MM14.2.01 217810
102MM14.2

การเตรียมการปฏิบัติงานด้วยเครื่องทุบขึ้นรูป

2.2 จัดเตรียมวัตถุดิบและป้อนโลหะ

102MM14.2.02 217811
102MM14.2

การเตรียมการปฏิบัติงานด้วยเครื่องทุบขึ้นรูป

2.3 ตั้งค่าการทุบขึ้นรูป

102MM14.2.03 217812
102MM14.3

ดำเนินการขึ้นรูปชิ้นส่วนด้วยเครื่องเครื่องทุบขึ้นรูป

3.1 การปฏิบัติงานขึ้นรูป

102MM14.3.01 217813
102MM14.3

ดำเนินการขึ้นรูปชิ้นส่วนด้วยเครื่องเครื่องทุบขึ้นรูป

3.2 ตรวจสอบความถูกต้อง ขนาดของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

102MM14.3.02 217814

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  1.    สามารถปฏิบัติตามกฏความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

  2.    สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  3.    สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  4.    สามารถตรวจสอบประเภทและขนาดวัตถุดิบให้ตรงรายละเอียดที่ระบุไว้ในแบบ

  5.    สามารถแสดงการป้อนโลหะเข้าสู่เครื่องทุบขึ้นรูป

  6.    สามารถแสดงการใช้สารหล่อลื่นในการทุบขึ้นรูป

  7.    สามารถตรวจสอบความพร้อมของแม่พิมพ์ก่อนการติดตั้ง

  8.    สามารถหาเลือกใช้เครื่องทุบขึ้นรูปที่เหมาะสมกับแม่พิมพ์

  9.    สามารถติดตั้งแม่พิมพ์

10.    สามารถบังคับใช้เครน

11.    สามารถเลือกใช้สายรัด และรัดแม่พิมพ์เข้ากับเครนได้ 

12.    สามารถตั้งค่าการทุบขึ้นรูปในโปรแกรมควบคุมเครื่อง

13.    สามารถสั่งงานเครื่องทุบขึ้นรูปให้สามารถขึ้นรูป

14.    สามารถดำเนินการทดสอบการทำงานของระบบกลไกแม่พิมพ์ และการทุบขึ้นรูป

15.    สามารถใช้เครื่องมือวัด

16.    สามารถตรวจสอบขนาดของชิ้นงานภายหลังการทุบขึ้นรูป และตัดสินผลตรวจสอบ

17.    สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องทุบขึ้นรูปและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

18.    สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องทุบขึ้นรูปและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

19.    สามารถซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องทุบขึ้นรูปและอุปกรณ์เบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

  2.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

  3.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

  4.    ความรู้เกี่ยวกับแบบทางวิศวกรรม

  5.    ความรู้เกี่ยวกับเครนและการบังคับควบคุมเครน

  6.    ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณแรงในสายรัด (Crane Harness)

  7.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทุบขึ้นรูป

  8.    ความรู้ด้านวัสดุประเภทโลหะที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือแพทย์

  9.    ความรู้เกี่ยวกับการอ่านคุณลักษณะ (Specification) ของเครื่องทุบขึ้นรูป

10.    ความรู้เกี่ยวกับการทุบขึ้นรูป

11.    ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณแรงปิดแม่พิมพ์ และปริมาตร (น้ำหนัก) โลหะ

12.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบเครื่องทุบขึ้นรูป

13.    ความรู้ด้านการวัดและการใช้งานเครื่องมือวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่องทุบขึ้นรูปจากสถานประกอบการ หรือ

      2.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตุการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องทุบขึ้นรูป หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องทุบขึ้นรูป และ

      3.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน หรือ

      4.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน หรือ

      5.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

     2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีความสามารถในการควบคุมเครนเพื่อติดตั้งแม่พิมพ์ และเข้าใจหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้วยเครน

      2.    ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีความสามารถในการติดตั้งแม่พิมพ์เข้ากับเครื่องทุบขึ้นรูป โดยใช้อุปกรณ์ทางกล ปรับเลื่อนทดสอบกลไก และทดลองทุบขึ้นรูปได้ 

      3.    ผู้เข้ารับการทดสอบต้องเข้าใจวิธีการใช้เครื่องทุบขึ้นรูป รวมถึงสัญลักษณ์และปุ่มควบคุม

      4.    ผู้เข้ารับการทดสอบควรเข้าในสมบัติของโลหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิ Glass Temperature

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

      2.    เครื่องมือวัด หมายถึง เครื่องมือวัดระยะ ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ 

      3.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานกับเครื่องทุบขึ้นรูป เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัยถุงมือ หน้ากาก ฯลฯ

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย โลหะชีววัสดุ (Biomaterials) เช่น สเตนเลสสตีล ไทเทเนียม โคบอลโครเมียม หรือโลหะที่ใช้ทำเครื่องมือแพทย์

      2.    เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องทุบขึ้นรูปแบบที่ผู้เข้ารับการทดสอบถนัดและมีความชำนาญ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

      3.    อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครน เครื่องมือวัด และ แบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความปลอดภัยในการทำงาน

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมการปฏิบัติงานด้วยเครื่องทุบขึ้นรูป

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องทุบขึ้นรูป

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการปฏิบัติงานด้วยเครื่องทุบขึ้นรูป

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินการขึ้นรูปชิ้นส่วนด้วยเครื่องเครื่องทุบขึ้นรูป

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องทุบขึ้นรูป

      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

      4.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการปฏิบัติงานเครื่องทุบขึ้นรูป

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการบำรุงรักษาเครื่องทุบขึ้นรูป

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องทุบขึ้นรูป

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ