หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-SPHN-387A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถผู้ปฏิบัติงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) ได้อย่างปลอดภัย สามารถเตรียมงานก่อนการปฏิบัติงาน ป้อนและตรวจสอบโปรแกรมคำสั่ง รวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของขนาดชิ้นส่วนภายหลังการผลิต และบำรุงรักษาเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) เบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM10.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

102MM10.1.01 217767
102MM10.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนและหลังปฏิบัติงาน

102MM10.1.02 217768
102MM10.2

การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

2.1 ศึกษารายละเอียดจากแบบงาน

102MM10.2.01 217769
102MM10.2

การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

2.2 ป้อนโปรแกรมคำสั่ง

102MM10.2.02 217770
102MM10.2

การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

2.3 จัดเตรียมวัสดุ และป้อนวัสดุ

102MM10.2.03 217771
102MM10.3

การปฏิบัติงานกับเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

3.1 การปฏิบัติงานขึ้นรูป

102MM10.3.01 217772
102MM10.3

การปฏิบัติงานกับเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

3.2 การแยกโครง Support ออกจากชิ้นงาน

102MM10.3.02 217773
102MM10.3

การปฏิบัติงานกับเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

3.3 อบคงรูปชิ้นงาน

102MM10.3.03 217774
102MM10.3

การปฏิบัติงานกับเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

3.4 ตรวจสอบความถูกต้อง ขนาดของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

102MM10.3.04 217775
102MM10.4

การบำรุงรักษาเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

4.1 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

102MM10.4.01 217776
102MM10.4

การบำรุงรักษาเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

4.2 บำรุงรักษาเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) และอุปกรณ์

102MM10.4.02 217777

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 1.    สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 2.    สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

 3.    สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

 4.    สามารถตรวจสอบประเภทและขนาดวัตถุดิบให้ตรงรายละเอียดที่ระบุไว้ในแบบ

 5.    สามารถนำสารป้อนเข้าสู่เครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

 6.    สามารถระบุชนิดวัสดุจากแถบป้ายบอกข้อมูลที่ถังวัสดุ

 7.    สามารถทำความสะอาด Platform ก่อนการขึ้นรูป

 8.    สามารถป้อนคำสั่งด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

 9.    สามารถสั่งงานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

10.    สามารถนำชิ้นงานสำเร็จออกจาก Platform

11.    สามารถนำโครง Support ออกจากชิ้นงานสำเร็จ

12.    สามารถแสดงการอบคงรูปชิ้นงาน

13.    สามารถใช้เครื่องมือวัด

14.    สามารถตรวจสอบขนาดของชิ้นงานภายหลังการขึ้นรูป และตัดสินผลตรวจสอบ

15.    สามารถตรวจสอบสภาพเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

16.    สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

17.    สามารถซ่อมแซมเครื่องมือเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) และอุปกรณ์เบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

2.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

3.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

4.    ความรู้เกี่ยวกับแบบทางวิศวกรรม

5.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

6.    ความรู้ด้านวัสดุประเภทพอลิเมอร์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือแพทย์

7.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

8.    ความรู้ด้านการวัดและการใช้งานเครื่องมือวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) จากสถานประกอบการ หรือ

      2.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)  และ

      3.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน หรือ

      4.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน หรือ

      5.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

     2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    เข้ารับการประเมินต้องสามารถใช้ หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัย สำหรับปฏิบัติงานได้อย่างถูกหลักความปลอดภัย

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการทำงาน จัดเตรียมสารเรซินพอลิเมอร์ ในการผลิตเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      3.    ผู้เข้าประเมินต้องใส่สารเรซินพอลิเมอร์ลงในถังเรซิน และปรับอุณหภูมิบริเวณถังเรซิน

      4.    ผู้เข้าประเมินต้องอ่านแบบทางวิศวกรรมของงานได้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

      2.    เครื่องมือวัด หมายถึง เครื่องมือวัดระยะ ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ 

      3.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานกับเครื่อง 3D Printing เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัยถุงมือ ฯลฯ

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย วัตถุดิบที่เป็นชีววัสดุพอลิเมอร์ (Polymer Biomaterials) เช่น PMMA เป็นต้น หรือพอลิเมอร์ที่ใช้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์

      2.    เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) แบบที่ผู้เข้ารับการทดสอบถนัดและมีความชำนาญ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 

      3.    อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครื่องมือวัด เครื่องมือตัดโครง Support และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

      4.    ไฟล์อิเล็คทรอนิกส์ควรมีประกอบด้วย โปรแกรมคำสั่ง สำหรับขึ้นรูปแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความปลอดภัยในการทำงาน

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมก่อนการปฏิบัติงานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการปฏิบัติงานด้วยเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานกับเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

      4.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการปฏิบัติงานกับเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการบำรุงรักษาเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA)

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการบำรุงรักษาเครื่อง 3D Printing ระบบสเตอริโอลิโทกราฟี (SLA) และอุปกรณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ