หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องเจีย

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-RGWE-382A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องเจีย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่องเจีย โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถเลือกใช้หินเจีย การปรับตั้งค่าเงื่อนไขในการทำงาน  การจับยึดชิ้นงาน ให้เหมาะสม รวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของขนาดชิ้นส่วน ดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM05.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

102MM05.1.01 217709
102MM05.1

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนและหลังปฏิบัติงาน

102MM05.1.02 217710
102MM05.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานเจีย

2.1 กำหนดขั้นตอนและเลือกเครื่องมือตัดในการกัด

102MM05.2.01 217711
102MM05.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานเจีย

2.2 เลือกหินเจีย

102MM05.2.02 217712
102MM05.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานเจีย

2.3 เลือกอุปกรณ์จับยึดสำหรับงานเจีย

102MM05.2.03 217713
102MM05.2

กำหนดขั้นตอนในการทำงานเจีย

2.4 ทำการสมดุลและแต่งหน้าหิน

102MM05.2.04 217714
102MM05.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย

3.1 จับยึดชิ้นงานบนเครื่องเจีย

102MM05.3.01 217715
102MM05.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย

3.2 ปรับตั้งค่าเงื่อนไขงานเจียน

102MM05.3.02 217716
102MM05.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย

3.3 ปฏิบัติงานเจีย

102MM05.3.03 217717
102MM05.3

การปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย

3.4 ตรวจสอบความถูกต้อง ขนาดของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์และแก้ไขให้ตรงตามข้อกำหนด

102MM05.3.04 217718
102MM05.4

การบำรุงรักษาเครื่องเจียและอุปกรณ์

4.1 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเจียและอุปกรณ์

102MM05.4.01 217719
102MM05.4

การบำรุงรักษาเครื่องเจียและอุปกรณ์

4.2 บำรุงรักษาเครื่องกัดและอุปกรณ์

102MM05.4.02 217720

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 1.    สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 2.    สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

 3.    สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

 4.    สามารถตรวจสอบประเภทและขนาดวัตถุดิบให้ตรงรายละเอียดที่ระบุไว้ในแบบ

 5.    สามารถติดตั้งวัตถุดิบกับเครื่องกัดได้

 6.    สามารถตั้งค่าและปรับค่าพารามิเตอร์งานเจีย

 7.    สามารถใช้เครื่องกัดสามารถเดินกินเนื้อวัสดุ

 8.    สามารถใช้เครื่องมือวัด

 9.    สามารถตรวจสอบขนาดของชิ้นงานภายหลังการกัด และตัดสินผลตรวจสอบ

10.    สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องกัดและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้

11.    สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องกัดและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้

12.    สามารถซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องกัดและอุปกรณ์เบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 1.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

 2.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

 3.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

 4.    ความรู้เกี่ยวกับแบบทางวิศวกรรม

 5.    ความรู้เกี่ยวกับหินเจีย

 6.    ความรู้เกี่ยวกับพารามิเตอร์งานเจีย

 7.    ความรู้ด้านวัสดุประเภทโลหะที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือแพทย์

 8.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบเครื่องเจีย

 9.    ความรู้ด้านการวัดและการใช้งานเครื่องมือวัด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่องเจียจากสถานประกอบการ หรือ

      2.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องเจีย หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องเจีย และ

      3.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน หรือ

      4.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน หรือ

      5.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถใช้ หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัย สำหรับปฏิบัติงานได้อย่างถูกหลักความปลอดภัย

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดรายละเอียดและลำดับของการดำเนินงาน จัดเตรียมเครื่องมือตัด และวัตถุดิบ หรือโลหะที่ใช้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถเตรียมเครื่องมือวัด ใช้งานเครื่องมือวัด เช่น High Gauge ร่วมกับ Dial Gauge สำหรับตรวจสอบขนาด และความราบ บนแท่นระดับ 

      4.    ผู้เข้าประเมินต้องจับยึดวัตถุดิบและหินเจีย รวมถึงปรับความสมดุลหินและแต่งหน้าหินเจีย

      5.    ผู้เข้าประเมินต้องเลือกใช้หินเจียเหมาะสมกับโลหะชีววัสดุ (Metal Biomaterials)

      6.    ผู้เข้าประเมินต้องอ่านแบบทางวิศวกรรมของงานได้ และสามารถควบคุมเครื่องเจียให้ผลิตชิ้นงานได้ตรงตามข้อกำหนดของแบบงาน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 

      2.    เครื่องมือวัด หมายถึง เครื่องมือวัดระยะ ได้แก่ ไม่บรรทัด และเวอร์เนียคาลิปเปอร์

      3.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานกับเครื่องเจีย เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัย ถุงมือ ฯลฯ

(ค)    วัสดุและอุปกรณ์

      1.    วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย วัตถุดิบที่เป็นโลหะชีววัสดุ (Metal Biomaterials) เช่น สเตนเลสสตีล และไทเทเนียม เป็นต้น หรือโลหะที่ใช้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์

      2.    เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องเจียแบบที่ผู้เข้ารับการทดสอบถนัดและมีความชำนาญ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 

      3.    อุปกรณ์ที่เครื่องจักรที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครื่องมือตัด เครื่องมือวัด และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความปลอดภัยในการทำงาน

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดขั้นตอนในการทำงานเจีย

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องเจีย

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องเจีย 

      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

      4.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการบำรุงรักษาเครื่องเจียและอุปกรณ์

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องกลึง

      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการบำรุงรักษาเครื่องเจียและอุปกรณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ