หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดทิศทางและนโยบายด้านการตลาดเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-WOIU-374A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดทิศทางและนโยบายด้านการตลาดเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์     



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการแสวงหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ทิศทางของการทำงาน และประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการดำเนินงานโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เพื่อนำมาจัดทำยุทธศาสตร์กำหนดทิศทางของสถานประกอบการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101MD14.1

แสวงหาข้อมูล

1.1 แสวงหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์

101MD14.1.01 217644
101MD14.1

แสวงหาข้อมูล

1.2 คัดกรองความน่าเชื่อถือข้อมูล

101MD14.1.02 217645
101MD14.1

แสวงหาข้อมูล

1.3 สำรวจแนวโน้มความต้องการผู้ใช้

101MD14.1.03 217646
101MD14.2

ตัดสินใจดำเนินการ

2.1 ใช้เครื่องมือในการตัดสินใจ

101MD14.2.01 217647
101MD14.2

ตัดสินใจดำเนินการ

2.2 ประเมินโอกาสและความเสี่ยง

101MD14.2.02 217648
101MD14.2

ตัดสินใจดำเนินการ

2.3 จัดทำแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

101MD14.2.03 217649

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถระบุแหล่งข้อมูลด้านการตลาดเครื่องมือแพทย์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับการอ่านกราฟแนวโน้ม และข้อมูลตัวเลข

2.    ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยตลาด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.    เอกสารแสดงประวัติบริหารงานเพื่อสร้างนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ หรือ

      2.    แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานเพื่อสร้างนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.    เอกสารรับรองการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยองค์กร หรือ

      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวกับการวินิจฉัยองค์กร และ

      3.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาองค์กร หรือ

      4.    เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวกับการวินิจฉัยองค์กร และ

      5.    เอกสารรับรองการเรียนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ หรือ

      6.    เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ และ

      7.    เอกสารรับรองการเรียนที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม หรือ

      8.    เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวกับนวัตกรรม

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง)    วิธีการประเมิน

      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือแฟ้มสะสมผลงาน

      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน การอบรม หรือการสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีประสบการในการบริหารงานองค์กร และมีความเข้าใจในการหาโอกาสพัฒนาองค์กรจาก ช่องว่างในกระบวนการทำงานของการพัฒนาเครื่องมือแพทย์

      2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เรื่องของ SWOT เพื่อหาโอกาสในการพัฒนา และมีความเข้าใจในการจัดกิจกรรมระดมสมอง หรือวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์

      3.    ผู้เข้ารับการประเมินควรทราบแหล่งข้อมูล หรือเสียงของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำมาเป็นปัจจัยนำเข้าในการวางแผน

      4.    ผู้เข้ารับการประเมินควรทราบวิธีการประเมินโอกาสและความเสี่ยงขององค์กรในภาพรวม และระบบงานภายในองค์กร โดยอาจนำหลักการข้อกำหนด เช่น ISO31000 มาประยุกต์ใช้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

      1.    ช่องว่างในกระบวนการทำงาน (Gap) หมายถึง ขั้นตอนการทำงานที่ขาดไปในห่วงโซ่คุณค่าของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือผลิตภัณฑ์น้อยลงหรือสูญเสียความโดดเด่น

      2.    นวัตกรรม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการทำงานใหม่ภายในองค์กร หรือการให้บริการรูปแบบใหม่แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้คุณค่าของการส่งมอบสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น หรือมีความโดดเด่นในตัวสินค้าและบริการ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการแสวงหาข้อมูล

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    หลักฐานการผ่านอบรมเกี่ยวกับการบริหารงานองค์กร

      3.    ประเมินโดยการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคในการหาแหล่งข้อมล และสำรวจความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

      4.    ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกบการหาข้อมูล และสำรวจแนวโน้มความต้องการผู้ใช้

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตัดสินใจดำเนินการ

      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

      2.    หลักฐานการผ่านอบรมเกี่ยวกับการบริหารงานองค์กร 

      3.    ประเมินโดยการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิควิธีการจัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์กร หรือแผนการสร้างนวัตกรรมของสินค้าและบริการ รวมถึงการตัดสินใจดำเนินการ

      4.    ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร หรือแผนการสร้างนวัตกรรมของสินค้าและบริการ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ