หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดมาตรการป้องกันภัยไซเบอร์ในระบบดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-WWOX-041

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดมาตรการป้องกันภัยไซเบอร์ในระบบดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง สามารถระบุและประเมินความเสี่ยง รวมถึงกำหนด ออกแบบ และพัฒนาแนวทางการป้องกันภัยไซเบอร์ได้อย่างเหมาะสม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 2.     พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 3.    พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  พ.ศ. 2562 4.     พระราชบัญญัติว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 5.    มาตรฐานและข้อกำหนด เช่น ISO/IEC 27001, NIST Cybersecurity Framework, และ CIS Controls

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
CS201

วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง

CS201.01 216929
CS201

วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

ระบุความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น


CS201.02 216930
CS201

วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

ประเมินความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์โดยใช้มาตรฐานความปลอดภัย

CS201.03 216931
CS202

กำหนดมาตรการป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสม

กำหนดมาตรการป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสมตามความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

CS202.01 216932
CS202

กำหนดมาตรการป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสม

ออกแบบระบบป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสม

CS202.02 216933
CS202

กำหนดมาตรการป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสม

พัฒนาแนวทางการป้องกันไซเบอร์ได้อย่างเหมาะสม

CS202.03 216934

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบไอที


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยง

-    ทักษะในการออกแบบระบบป้องกันไซเบอร์

-    ทักษะในการตรวจสอบ และการตอบสนองต่อการบุกรุกทางไซเบอร์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล

-    ความรู้พื้นฐานด้านระบบไอที

-    ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์

-    ความรู้ด้านกฎหมายและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยไซเบอร์

-    ความรู้ในการพัฒนาและบริหารจัดการนโยบายความปลอดภัยไซเบอร์ในองค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    หลักฐานการกำหนดมาตรการป้องกันภัยไซเบอร์ในระบบดิจิทัล

-    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการกำหนดมาตรการป้องกันภัยไซเบอร์ในระบบดิจิทัล

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ใบวุฒิการศึกษา

-    ประกาศนียบัตรต่าง ๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    หน่วยความสามารถนี้ครอบคลุมถึงการกำหนดมาตรการป้องกันไซเบอร์ในระบบไอทีที่หลากหลาย 

รวมถึงระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูล ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและการกำหนดมาตรการป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสมสำหรับระบบไอทีที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยและข้อกำหนดขององค์กร ผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถ

ทำงานร่วมกับทีมงานและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อประกันความปลอดภัยของข้อมูลและระบบไอที

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- วิเคราะห์ความเสียงจากการโจมตีทางไซเบอร์ มีขอบเขตที่ครอบคุลมถึงกระบวนการในการประเมินและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบข้อมูลหรือโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีขององค์กร โดยจะพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยคุกคามที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล ความเสียหายทางการเงิน หรือการหยุดชะงักในการดำเนินงานขององค์กร กระบวนการนี้จะช่วยให้สามารถระบุความเสี่ยงที่มีความสำคัญและจัดทำแผนเพื่อการจัดการและบรรเทาความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- กำหนดมาตรการป้องกันไขเบอร์ที่เหมาะสม มีขอบเขตที่ครอบคลุมถึงการวางแผนและดำเนินการเพื่อ

ปกป้องระบบและข้อมูลในองค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูล การโจมตีจากไวรัส หรือ

การรั่วไหลของข้อมูลที่เหมาะสม ตามความเสียงจากการโจมตีทางไซเบอร์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ