หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำคลังข้อมูลเพื่อการใช้งานภายใน และระหว่างหน่วยงาน

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-KMLT-037

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำคลังข้อมูลเพื่อการใช้งานภายใน และระหว่างหน่วยงาน

3. ทบทวนครั้งที่ / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านในหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถรวบรวม ศึกษาบัญชีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม ดำเนินการจัดทำโครงสร้างและชนิดข้อมูล เตรียมความพร้อมข้อมูล วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และกำหนดวิธีแปลงข้อมูลหน่วยงานไปสู่รูปแบบมาตรฐาน พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลให้เป็นไปตามบัญชีข้อมูลที่กำหนดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562-    พระราชบัญญัติ การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562-    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DUS301

รวบรวม และศึกษาบัญชีข้อมูล

เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการรวบรวมข้อมูลได้

DUS301.01 216863
DUS301

รวบรวม และศึกษาบัญชีข้อมูล

รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้

DUS301.02 216864
DUS301

รวบรวม และศึกษาบัญชีข้อมูล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวมได้

DUS301.03 216865
DUS301

รวบรวม และศึกษาบัญชีข้อมูล

ระบุผลจากการศึกษาบัญชีข้อมูลได้

DUS301.04 216866
DUS302

ดำเนินการจัดทำโครงสร้าง และชนิดข้อมูลให้เป็นไปตามบัญชีข้อมูล

กำหนดโครงสร้างข้อมูลที่สอดคล้องตามบัญชีข้อมูลได้

DUS302.01 216867
DUS302

ดำเนินการจัดทำโครงสร้าง และชนิดข้อมูลให้เป็นไปตามบัญชีข้อมูล

กำหนดชนิดข้อมูลที่สอดคล้องตามบัญชีข้อมูลได้

DUS302.02 216868
DUS302

ดำเนินการจัดทำโครงสร้าง และชนิดข้อมูลให้เป็นไปตามบัญชีข้อมูล

ตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้างและชนิดข้อมูล

DUS302.03 216869
DUS303

เตรียมความพร้อมข้อมูล

ทำความสะอาดข้อมูล (Clean Data) ได้

DUS303.01 216870
DUS303

เตรียมความพร้อมข้อมูล

ปรับชนิดข้อมูลให้เป็นไปตามที่กำหนดได้

DUS303.02 216871
DUS303

เตรียมความพร้อมข้อมูล

ปรับโครงสร้างข้อมูลให้เป็นไปตามโครงสร้างที่กำหนดได้

DUS303.03 216872
DUS304

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

วิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น

DUS304.01 216873
DUS304

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

จัดทำข้อเสนอโครงการ/แนวทางการดำเนินงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

DUS304.02 216874
DUS305

กำหนดวิธีแปลงข้อมูลของหน่วยงานไปสู่รูปแบบมาตรฐาน

กำหนดมาตรฐานข้อมูลขององค์กร และหน่วยงาน   อื่นที่จะใช้ข้อมูลร่วมกันได้

DUS305.01 216875
DUS305

กำหนดวิธีแปลงข้อมูลของหน่วยงานไปสู่รูปแบบมาตรฐาน

กำหนดวิธีการมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Standard Data Exchange) ได้

DUS305.02 216876
DUS306

ควบคุมคุณภาพสารสนเทศ (Information Quality)และบัญชีข้อมูล

กำหนดสาระสำคัญของโลจิสติกส์สารสนเทศ (Information Logistics) ได้

DUS306.01 216877
DUS306

ควบคุมคุณภาพสารสนเทศ (Information Quality)และบัญชีข้อมูล

ตรวจสอบความถูกต้องของโลจิสติกส์สารสนเทศ (Information Logistics) ในแต่ละระบบหรือ หน่วยงานได้

DUS306.02 216878
DUS306

ควบคุมคุณภาพสารสนเทศ (Information Quality)และบัญชีข้อมูล

ระบุวิธี และแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลสารสนเทศ  ได้

DUS306.03 216879
DUS306

ควบคุมคุณภาพสารสนเทศ (Information Quality)และบัญชีข้อมูล

ตรวจสอบข้อมูลตามบัญชีข้อมูลที่กำหนดได้

DUS306.04 216880
DUS306

ควบคุมคุณภาพสารสนเทศ (Information Quality)และบัญชีข้อมูล

ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลได้

DUS306.05 216881

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ในการจัดเตรียมข้อมูล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการจัดเก็บ จำแนก และจัดการข้อมูลในคลังข้อมูล

-    ทักษะในการใช้เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ทักษะในการทำความสะอาดข้อมูล การเตรียมข้อมูล และการแปลงข้อมูลให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ทักษะการสื่อสาร และนำเสนอข้อมูลได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ความเข้าใจในแนวทางการออกแบบคลังข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ในการจัดเตรียมข้อมูล

-    ความรู้ความสามารถในการจัดทำระบบการจัดการข้อมูล

-    ความรู้ความเข้าใจในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

-    ความรู้ในการประเมินผลกระทบของข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์ และการใช้งานข้อมูลในแง่มุมต่าง ๆ ในองค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    หลักฐานการจัดทำคลังข้อมูลเพื่อการใช้งานภายใน และระหว่างหน่วยงาน

-    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการจัดทำคลังข้อมูลเพื่อการใช้งานภายใน และระหว่างหน่วยงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ใบวุฒิการศึกษา

-    ประกาศนียบัตรต่าง ๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยสมรรถนะที่เกี่ยวกับการจัดทำคลังข้อมูลเพื่อการใช้งานภายใน และระหว่างหน่วยงาน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับการศึกษาบัญชีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม ดำเนินการจัดทำโครงสร้างและชนิดข้อมูล เตรียมความพร้อมข้อมูล วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และกำหนดวิธีแปลงข้อมูลหน่วยงานไปสู่รูปแบบมาตรฐาน พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลให้เป็นไปตามบัญชีข้อมูลที่กำหนด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-    คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือ แหล่งเก็บข้อมูลที่สร้างจากกระบวนการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อที่จะเก็บไว้เป็นข้อมูลส่วนกลาง (Centralized Repository) ซึ่งการจัดทำคลังข้อมูลมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดเตรียมแหล่งข้อมูลเป็นแหล่งเดียว ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ และหาข้อมูลเชิงลึก ให้ผู้ดูแลข้อมูลเห็นภาพรวมของข้อมูลภายในองค์กร และลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งคลังข้อมูลเป็นเหมือนสารานุกรมที่นำเสนอมุมมองข้อมูลย้อนหลัง (Historical Data) ที่มีมุมมองกว้างและครอบคลุม โดยมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และมีโครงสร้างที่ชัดเจน 

-    การเตรียมข้อมูล เป็นกระบวนการจัดเตรียมข้อมูลดิบเพื่อให้เหมาะกับการประมวลผลและการวิเคราะห์เพิ่มเติม ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญคือ การรวบรวมข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล และการระบุประเภทของข้อมูล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

-    การรวบรวมข้อมูล คือ กระบวนการประกอบรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ต้องใช้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ในคลังข้อมูล ระบบคลาวด์ เป็นต้น

-    การทำความสะอาดข้อมูล คือ การแก้ไขข้อผิดพลาดและเติมข้อมูลที่หายไปเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพข้อมูล และเป็นการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สอดคล้องกัน ซึ่งกระบวนการนี้สามารถรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของช่องข้อมูลอีกด้วย

-    การระบุประเภทของข้อมูล เป็นกระบวนการระบุข้อมูลดิบ (ภาพ ไฟล์ข้อความ คลิปวิดีโอ ฯลฯ) และเป็นการระบุประเภทที่สื่อความหมายของข้อมูล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ