หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำบัญชีข้อมูลและบริหารคุณภาพข้อมูล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-NORS-036

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำบัญชีข้อมูลและบริหารคุณภาพข้อมูล

3. ทบทวนครั้งที่ / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถสำรวจชุดข้อมูล ระบุชุดข้อมูล จำแนกข้อมูล และกำหนดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ พร้อมทั้งจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Meta Data) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และบริหารคุณภาพข้อมูลได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    มาตรฐาน ISO/IEC 11179-5: 2015 Information technology - Metadata registries (MDR)Part 5: Naming principles-    มาตรฐาน ISO 15836-1: 2017Information and documentation -The Dublin Core metadata element set - Part 1: Core elements-    มาตรฐาน ISO 17369: 2013 Statistical data and metadata exchange (SDMX) และ Cross Domain Concepts and code lists ภายใต้ SDMX CONTENT-ORIENTED GUIDELINES-    มาตรฐาน ISO 19115:2003 Geographic Information Metadata-    มาตรฐาน ISO/IEC 27001: 2013Information technology -Security techniques –Information security management systems – Requirements -    พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562-    พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540-    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562-    ประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เรื่อง มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DUS201

สำรวจชุดข้อมูล

ระบุกระบวนการสำรวจชุดข้อมูลได้

DUS201.01 216802
DUS201

สำรวจชุดข้อมูล

ระบุชุดข้อมูลและรายละเอียดได้

DUS201.02 216803
DUS201

สำรวจชุดข้อมูล

สรุปผลการสำรวจชุดข้อมูลได้

DUS201.03 216804
DUS202

จำแนกข้อมูล (Data Classification)

กำหนดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

DUS202.01 216805
DUS202

จำแนกข้อมูล (Data Classification)

กำหนดชั้นข้อมูลได้

DUS202.02 216806
DUS202

จำแนกข้อมูล (Data Classification)

กำหนดแนวทางมาตรการบริหารจัดการข้อมูลตามการจำแนกข้อมูลได้

DUS202.03 216807
DUS202

จำแนกข้อมูล (Data Classification)

ตระหนักรู้เกี่ยวกับเชื่อมต่อบัญชีข้อมูล กับข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) ได้

DUS202.04 216808
DUS203

จัดทำคำอธิบายข้อมูล (Meta Data)

สร้างคำอธิบายข้อมูลได้ครบถ้วน และถูกต้องได้

DUS203.01 216809
DUS203

จัดทำคำอธิบายข้อมูล (Meta Data)

สร้างคำอธิบายข้อมูลให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดได้

DUS203.02 216810
DUS203

จัดทำคำอธิบายข้อมูล (Meta Data)

สร้างคำอธิบายข้อมูลที่สามารถบูรณาการกับระบบการจัดการข้อมูลภายในองค์กรได้

DUS203.03 216811
DUS204

จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

สร้างพจนานุกรมข้อมูลได้ครบถ้วน และถูกต้อง

DUS204.01 216812
DUS204

จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

สร้างพจนานุกรมข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

DUS204.02 216813
DUS204

จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

สร้างพจนานุกรมข้อมูลให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดได้

DUS204.03 216814
DUS205

ประเมินและบริหารคุณภาพของข้อมูล (Data Quality)

ระบุความสำคัญของการประเมินและบริหารคุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ตามมิติคุณภาพข้อมูลได้

DUS205.01 216815
DUS205

ประเมินและบริหารคุณภาพของข้อมูล (Data Quality)

ระบุหลักเกณฑ์ และเครื่องมือการประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐได้

DUS205.02 216816
DUS205

ประเมินและบริหารคุณภาพของข้อมูล (Data Quality)

อธิบายกระบวนการประเมินคุณภาพข้อมูลได้

DUS205.03 216817

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการใช้เครื่องมือและเทคนิคในการจัดทำบัญชีข้อมูล และบริหารคุณภาพข้อมูล

-    ทักษะการสื่อสาร และนำเสนอข้อมูลได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูล

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับ กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

-    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    ผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการจัดทำคลังข้อมูลให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์ รวมถึงรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลและบริหารคุณภาพข้อมูล

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการจัดทำบัญชีข้อมูลและบริหารคุณภาพข้อมูล

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ใบวุฒิการศึกษา

-    ประกาศนียบัตรต่าง ๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยสมรรถนะที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) และการบริหารคุณภาพข้อมูล (Data Quality) โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับการสำรวจชุดข้อมูล ระบุชุดข้อมูล จำแนกข้อมูล และกำหนดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ พร้อมทั้งจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Meta Data) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และบริหารคุณภาพข้อมูล

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-    บัญชีข้อมูล (Data Catalog) คือ เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน ซึ่งบัญชีข้อมูลจะเปรียบเสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Page) ของข้อมูลภาครัฐ ซึ่งบัญชีข้อมูลภาครัฐควรประกอบด้วยชุดข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ 

-    รายการบัญชีข้อมูลเปิดภาครัฐ 

-    รายการบัญชีข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เชิงบริการและเชิงนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ของหน่วยงานภาครัฐ

-    คำอธิบายชุดข้อมูล หรือเมทาดาต้า (Meta Data) คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายชุดข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูลและคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร ช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานและของประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปิดเผย เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ

-    พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เป็นส่วนหนึ่งของเมทาดาตาที่มีหน้าที่อธิบายข้อมูลภายในชุดข้อมูลอย่างละเอียดเป็นรายตัวแปร (Attribute) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถเข้าใจชุดข้อมูลในระดับตัวแปร มีประโยชน์ในการตัดสินใจว่าชุดข้อมูลนั้นมีข้อมูลตามที่ผู้ต้องการใช้กำลังค้นหาอยู่หรือไม่ โดยมีส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูลรายตัวแปร 3 รายการ ได้แก่ ชื่อตัวแปรข้อมูล ชนิดของตัวแปรข้อมูล และคำอธิบายตัวแปรข้อมูล

-    คุณภาพข้อมูล (Data Quality) คือ ข้อมูลที่ดี ได้มาตรฐานตามที่กําหนด กล่าวคือผลรวมของคุณลักษณะและคุณสมบัติของผลิตผลข้อมูลที่พึงประสงค์ทุกประการของผลการปฏิบัติงานตามดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพและองค์ประกอบที่กําหนดไว้ ข้อมูลที่เหมาะสมกับการใช้งาน ตอบสนองต่อการใช้งานตามภารกิจของหน่วยงาน และตรงตามวัตถุประสงค์

-    การประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment) หมายถึง กระบวนการประเมินผลโดยภาพรวมว่า เมื่อได้มีการบริหารจัดการและกำกับดูแลคุณภาพข้อมูลแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพอย่างไร ทั้งนี้การตรวจสอบและประเมินคุณภาพจะต้องทำอย่างเป็นระบบ มีหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนมีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าและกระทำโดยทีมผู้ประเมิน โดยองค์ประกอบในการประเมินคุณภาพ ประกอบด้วย 

-    ความถูกต้อง และสมบูรณ์ (Accuracy and Completeness) หมายถึง ข้อมูลถูกต้องแม่นยำหรือข้อมูลที่ปราศจากข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน หมายถึงขอบเขตที่ข้อมูลถูกต้องเชื่อถือได้ และความสมบูรณ์ของข้อมูล หรือข้อมูลไม่ขาดหาย กว้างพอและลึกพอสำหรับการใช้งาน ข้อมูลครบทั้งหมดตามที่ผู้ใช้ต้องการ

-    ความสอดคล้องกัน (Consistency) หมายถึง ข้อมูลถูกนำเสนอในรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันล้วนมีความสอดคล้องหรือไม่ขัดแย้งกัน มีแนวคิด คำนิยาม วิธีการและรหัสที่ทำให้ข้อมูลจากต่าง ๆ แหล่งกันสามารถเปรียบเทียบข้ามช่วงเวลา และบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่งได้

-    ความเป็นปัจจุบัน (Timeliness) หมายถึง ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันสมัยเพียงพอต่อการใช้งานและพร้อมใช้งานตามที่กำหนดและในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ หรือมีข้อมูลทันต่อการใช้งานทุกครั้งตามที่ผู้ใช้ต้องการ

-    ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง ข้อมูลสามารถนำไปใช้ได้กับงานที่ทำอยู่ เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือเป็นข้อมูลที่จําเป็นต้องทราบ มีมุมมองและความละเอียดเพียงพอต่อการนําไปใช้งาน

-    ความพร้อมใช้ (Availability) หมายถึง ข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย หรือมีข้อมูลนั้นอยู่ สามารถใช้งานได้จริง และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ