หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รู้หลักการบริหารจัดการข้อมูล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-ENFB-035

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รู้หลักการบริหารจัดการข้อมูล

3. ทบทวนครั้งที่ / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle) ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy) และการบูรณาการข้อมูล (Data Integration) เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558-    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 -    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560-    พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562-    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562-    มาตรฐานระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (ISO 27001)-    ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DUS101

เข้าใจวงชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle)

ระบุความสำคัญวงจรชีวิตของข้อมูลได้

DUS101.01 216792
DUS101

เข้าใจวงชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle)

ระบุกระบวนการการจัดการข้อมูลตามวงจรชีวิตของข้อมูลได้

DUS101.02 216793
DUS101

เข้าใจวงชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle)

ระบุกฎเกณฑ์ที่จำเป็นในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตสำหรับชุดข้อมูลดิจิทัลได้

DUS101.03 216794
DUS102

เข้าใจความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy)

ระบุความสำคัญของนโยบายด้านการป้องกันข้อมูลได้

DUS102.01 216795
DUS102

เข้าใจความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy)

ระบุการรักษาความลับของข้อมูลได้

DUS102.02 216796
DUS102

เข้าใจความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy)

ระบุมาตราฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศได้

DUS102.03 216797
DUS103

เข้าใจการบูรณาการข้อมูล (Data Integration)

ระบุความสำคัญของการบูรณาการข้อมูลได้

DUS103.01 216798
DUS103

เข้าใจการบูรณาการข้อมูล (Data Integration)

ระบุกระบวนการเชื่อมโยงและรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลได้

DUS103.02 216799
DUS103

เข้าใจการบูรณาการข้อมูล (Data Integration)

ระบุเครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมโยงและรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลได้

DUS103.03 216800
DUS103

เข้าใจการบูรณาการข้อมูล (Data Integration)

ระบุแนวทางในการส่งเสริมการบูรณาการข้อมูล

DUS103.04 216801

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการสื่อสาร และนำเสนอข้อมูลได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับ กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการและการเชื่อมโยงข้อมูล

-    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการรู้หลักการบริหารจัดการข้อมูล

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการรู้หลักการบริหารจัดการข้อมูล

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ใบวุฒิการศึกษา

-    ประกาศนียบัตรต่าง ๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยสมรรถนะที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Lifecycle) ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy) และการบูรณาการข้อมูล (Data Integration)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-    วงจรชีวิตข้อมูล (Data Lifecycle) คือ “ลำดับขั้นตอนของข้อมูลตั้งแต่เริ่มสร้างข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล” ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

-    กระบวนการสร้างข้อมูล (Create) คือ การสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยวิธีการบันทึกเข้าไปด้วยบุคคล หรือบันทึกอัติโนมัติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการซื้อข้อมูล หรือการรับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาจัดเก็บในภายหลัง

-    กระบวนการจัดเก็บข้อมูล (Store) เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดจากกระบวนการสร้าง หรือข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้มีระเบียบ ง่ายต่อการใช้งาน ไม่สูญหาย หรือ

ถูกทำลาย และให้ผู้ใช้งานสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว

-    กระบวนการใช้ข้อมูล (Use) เป็นการนำข้อมูลที่จัดเก็บมาประมวลผล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ รวมถึงการสำรอง (Backup) ข้อมูล โดยการคัดลอกข้อมูลที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันเพื่อทำสำเนา เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียหายหรือการสูญหายของข้อมูล

-    กระบวนการเผยแพร่ข้อมูล (Publish) เป็นการแชร์ข้อมูล กระจายข้อมูล ควบคุมการเข้าถึง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และกำหนดเงื่อนไขในการนำข้อมูลไปใช้

-    กระบวนการจัดเก็บข้อมูล (Archive) เป็นการคัดลอกเอาข้อมูลที่มีช่วงอายุเกินการใช้งานหรือไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อทำสำเนาสำหรับการเก็บรักษา โดยที่ข้อมูลนั้นไม่มีการลบ ปรับปรุง หรือแก้ไขอีก และสามารถนำกลับไปใช้งานได้ใหม่เมื่อต้องการ

-    กระบวนการทำลายข้อมูล (Destroy) เป็นการทำลายข้อมูลที่มีการจัดเก็บถาวรเป็นระยะเวลานานหรือเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด

-    ความมั่นคงปลอดภัย และการรักษาความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูล (Data Security and Privacy)

-    ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) คือ การป้องกันข้อมูลในบริบทของการรักษาความลับ ความถูกต้องของข้อมูล ความพร้อมใช้งานของข้อมูล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

-    การรักษาความลับ (Confidentiality) คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตามระดับชั้นของข้อมูล และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล

-    ความถูกต้องของข้อมูล (Integrity) คือ การคงสภาพของข้อมูลหรือการรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ รวมถึงปกป้องข้อมูลให้ปราศจากการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้ไม่มีสิทธิ์

-    ความพร้อมใช้งานของข้อมูล (Availability) คือ ข้อมูลต้องพร้อมสำหรับการใช้งานเสมอ รวมถึงมีการสำรองข้อมูลไว้เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเหตุกาณ์ที่ไม่คาดฝัน

-    การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) เป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลตั้งแต่การวางแผน จัดเก็บ ใช้ เผยแพร่ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูล โดยจะต้องมีการระบุวัตถุประสงค์เป็นหลักฐานให้ชัดเจน ห้ามไม่ให้มีการเปิดเผย หรือแสดง หรือทำให้ปรากฏในลักษณะอื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ หรือมีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำสิ่งนั้นได้

-    การบูรณาการข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Integration) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่สอดคล้องกันเข้ามารวมอยู่ในแหล่งข้อมูลเดียวกัน เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำข้อมูลหลัก (Master Data) คลังข้อมูล (Data Warehouse) ทะเลสาบข้อมูล (Data Lake) รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ซึ่งการบูรณาการข้อมูลมีส่วนช่วยในการควบคุมและจัดการคุณภาพของข้อมูลให้ดีมากยิ่งขึ้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ