หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารประสิทธิภาพการบริการและการทำงานดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-ANJQ-024

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารประสิทธิภาพการบริการและการทำงานดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความสามารถในการกำหนดวิธีการวัดประสิทธิภาพของการให้บริการดิจิทัล รวบรวมผลลัพธ์ของจุดให้บริการย่อยต่างๆ วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการดิจิทัล และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพบริการดิจิทัลได้ ตลอดจนการประเมินความคุ้มค่าในการพัฒนาบริการดิจิทัล 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
−    พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549−    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551−    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558−    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 −    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DS701

กำหนดวิธีการวัดประสิทธิภาพของการให้ บริการดิจิทัล

ทบทวนกระบวนการให้บริการ

DS701.01 216776
DS701

กำหนดวิธีการวัดประสิทธิภาพของการให้ บริการดิจิทัล

คัดเลือกบริการย่อยที่จะใช้เป็นตัวชี้วัดหลักในบริการดิจิทัล

DS701.02 216777
DS701

กำหนดวิธีการวัดประสิทธิภาพของการให้ บริการดิจิทัล

กำหนดวิธีการวัด ค่าวัด และเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการให้บริการ

DS701.03 216778
DS702

รวบรวมผลลัพธ์ของจุดให้บริการย่อยต่างๆ

กำหนดแหล่งข้อมูลดิจิทัลที่เป็นค่าวัดของบริการย่อยทั้งหมดในบริการดิจิทัลที่คัดเลือก

DS702.01 216779
DS702

รวบรวมผลลัพธ์ของจุดให้บริการย่อยต่างๆ

รวบรวมข้อมูลที่เป็นค่าวัดของบริการย่อยที่ได้ คัดเลือก

DS702.02 216780
DS702

รวบรวมผลลัพธ์ของจุดให้บริการย่อยต่างๆ

คำนวณค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

DS702.03 216781
DS703

วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการดิจิทัล

วิเคราะห์รูปแบบและแนวโน้มข้อมูลจาก การให้บริการ (Pattern) ในหลากหลายมิติ

DS703.01 216782
DS703

วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการดิจิทัล

แปลผลข้อมูลที่ได้จากการรวบเพื่อระบุระดับของประสิทธิภาพของการให้บริการ

DS703.02 216783
DS703

วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการดิจิทัล

วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาประสิทธิภาพการให้บริการ

DS703.03 216784
DS704

กำหนดแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพบริการดิจิทัล

ประเมินความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา ประสิทธิภาพ

DS704.01 216785
DS704

กำหนดแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพบริการดิจิทัล

จัดทำรายงานทางเลือกในการแก้ไขปรับปรุง ประสิทธิภาพของบริการดิจิทัล

DS704.02 216786
DS704

กำหนดแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพบริการดิจิทัล

นำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับปรุงแผนที่นำทางบริการดิจิทัล และ สถาปัตยกรรมองค์กร

DS704.03 216787
DS705

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อสนับสนุนการประเมินความคุ้มค่าของการพัฒนาบริการดิจิทัลได้

DS705.01 216788
DS705

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

ระบุต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบริการดิจิทัลได้ 

DS705.02 216789
DS705

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

ระบุประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาบริการดิจิทัลได้

DS705.03 216790
DS705

ประเมินความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost-Benefit Analysis)

ระบุผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาบริการดิจิทัลต่อผู้ใช้และองค์กรได้

DS705.04 216791

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    ทักษะการการกำหนดกรอบ มุมมอง และสมมติฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

−    ทักษะการคิดวิเคราะห์กระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานใหม่มาใช้ในการปรับปรุงการทำงานของการให้บริการอยู่เสมอ

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    มีจิตบริการ (Hospitable)

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้ด้าน e-Government Capability Maturity Model

−    ความรู้ด้านมาตรฐานการจัดการการให้บริการด้านดิจิทัล (IT Service Management Standard)  เช่น ISO/IEC 20000 รวมถึง วงจรชีวิตการให้บริการ (Service Lifecycle)

−    เทคนิคการวัดผลจากการลงทุน (ROI: Return on Investment) การวัดผลจากคุณค่า (ROV: Return on Value) และการวัดคุณค่าจากการลงทุน (VOI: Value of Investment) 

−    เทคนิคการประเมิน (Assessment Techniques)

−    เทคนิคการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost Benefit Analysis)

−    ความรู้ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data and Analytic Literacy) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative)

−    การบริหารจัดการระดับการให้บริการ (Service Level Management)

−    การบริหารจัดการการให้บริการอย่างต่อเนื่อง (Service Continuity Management)

−    การบริหารจัดการและการประกันคุณภาพ (Quality Assurance and Management)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการบริหารประสิทธิภาพการบริการและการทำงานดิจิทัล

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการบริหารประสิทธิภาพการบริการและการทำงานดิจิทัล

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

−    การนำเสนอแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการดิจิทัลเพื่อเป้าหมายและความสำเร็จององค์กร

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

หน่วยสมรรถนะบริหารจัดการประสิทธิภาพการให้บริการดิจิทัล เป็นสมรรถนะที่ใช้สำหรับสร้างตัว

วัดบริการย่อยในบริการดิจิทัล ซึ่งสัมพันธ์กับเป้าหมายการให้บริการ เมื่อกำหนดค่าวัดแล้ว ให้รวบรวมข้อมูล

จากระบบบริการดิจิทัลมาวิเคราะห์ รูปแบบและแนวโน้มของค่าวัด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่อธิบายผล

การให้บริการ แล้วจึงทำแผนการปรับปรุงบริการดิจิทัล เพื่อบรรจุในแผนที่นำทางเพื่อดำเนินการต่อไป โดยจะต้องใช้สถาปัตยกรรมองค์กรประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบ และการจัดทำแนวทางแก้ไขบริการดิจิทัล   

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

−    Metric คือค่าวัดที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการให้บริการย่อย หรือบริการรวม 

−    Measurement คือการวัดค่า ซึ่งสามารถวัดค่าได้แบบโดยตรง หรือโดยอ้อม

−    ความคุ้มค่าในการทำโครงการ (Cost Benefit Analysis) เป็นการคำนวณผลตอบแทน โดยคิดครอบคลุมเงินลงทุนทั้งหมด, ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ, จุคคุ้มทุน

−    การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ (Cost-Benefit Analysis) เป็นเทคนิคสำหรับการค้นหา

ต้นทุนและผลประโยชน์ที่คิดค่าออกมาเป็นตัวเงินของโครงการ ณ ช่วงเวลาที่กำหนดให้ การประเมินจะพิจารณามุมมองทางเศรษฐศาสตร์, สังคมหรือเชิงสวัสดิการ พิจารณาผลกระทบ

ของโครงการต่อประชาชนหรือสภาพแวดล้อมภายนอกโครงการ ควบคู่กับต้นทุนและผลประโยชน์

ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโครงการ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน  



ยินดีต้อนรับ