หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงงานบริการรดิจิทัลเพื่อยกระดับอย่างต่อเนื่อง

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-OPSR-023

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงงานบริการรดิจิทัลเพื่อยกระดับอย่างต่อเนื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความสามารถในการประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการเชิงปริมาณ และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงบริการ ตลอดจนถอดองค์ความรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
−    พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549−    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551−    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558−    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 −    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DS601

ประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ

กำหนดกลุ่มผู้ใช้และตัวแบบการประเมิน

DS601.01 216768
DS601

ประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ

รวบรวมความคิดเห็นของผู้ใช้

DS601.02 216769
DS601

ประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ

สรุปผลการประเมินและการวิเคราะห์

DS601.03 216770
DS602

จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงบริการ

รับฟังข้อเสนอแนะ

DS602.01 216771
DS602

จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงบริการ

ชี้แจงสาเหตุ ผลกระทบและประโยชน์ที่จะได้รับแก่ผู้ใช้

DS602.02 216772
DS603

ถอดองค์ความรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้ บริการ

ประมวลผลคุณภาพการให้บริการ

DS603.01 216773
DS603

ถอดองค์ความรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้ บริการ

จัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงองค์ประกอบการออกแบบนวัตกรรมบริการ 

DS603.02 216774
DS603

ถอดองค์ความรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้ บริการ

ถ่ายทอดองค์ความรู้

DS603.03 216775

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    ทักษะการรับฟังและการให้ข้อมูลย้อนกลับ

−    ทักษะในการสร้างตัวชี้วัดและค่าวัด

−    ทักษะในการใช้เครื่องมือ GQM

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    มีจิตบริการ (Hospitable)

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

−    ความรู้ด้าน E-Government Life Cycle

−    เทคนิคการจัดการข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service-Level Agreement Management)

−    เทคนิคการประเมิน (Assessment Techniques)

−    ความรู้ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data and Analytic Literacy) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative)

−    เทคนิคการจัดการการสื่อสาร (Communication Management)

−    เทคนิคการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการปรับปรุงงานบริการรดิจิทัลเพื่อยกระดับอย่างต่อเนื่อง

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการปรับปรุงงานบริการรดิจิทัลเพื่อยกระดับอย่างต่อเนื่อง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

−    ความเข้าใจในแนวคิด หลักการข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการให้บริการเชิงประสิทธิภาพ

และคุณภาพ

−    ข้อเสนอวิธีการบริหารจัดการความรู้ที่ได้จากการประเมินคุณภาพการให้บริการ รวมทั้งการจัดเก็บ และแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

หน่วยสมรรถนะ เป็นความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงบริการดิจิทัล และปรับปรุงกระบวนงาน

บริการเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง การประเมินบริการดิจิทัล เน้นด้าน คุณภาพ

ของการให้บริการ ซึ่งกำหนดได้ในหลายมิติ ได้แก่ มิติของเวลา ทรัพยากรที่ใช้ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ และสัมฤทธิผลของการให้บริการ โดยจะทำการวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากระบบบริการดิจิทัลในแต่ละ

กระบวนงานบริการย่อยจุดต่างๆ เพื่อพิจารณาการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

(ก)    คำแนะนำ

−    Measurement และ Metric ในหน่วยสมรรถนะนี้มีความครอบคลุมทั้ง Software Measurement และการกำหนดวิธีการวัดโดยทั่วไป ซึ่งควรจะอ้างอิงกับ เครื่องมือ GQM: Goal Question Model ที่ใช้ในการออกแบบตัววัด โดยวิธีการวัดจะต้องให้มีความเหมาะสมกับทรัพยากรที่จะใช้ในการ

วัดอันได้แก่ เวลา งบประมาณ คน และ เทคโนโลยีที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

−    ข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการวิเคราะห์ ควรเป็นข้อมูลที่ได้จากระบบบริการดิจิทัล และไม่ควรที่จะเป็นข้อมูลที่เกิดจากการให้คนเข้าไปจดแล้วทำการบันทึกข้อมูลเพื่อมาทำการวิเคราะห์อีกครั้ง เพราะจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

−    การประเมินสามารถประเมินได้ทั้งบริการดิจิทัลในปัจจุบัน และบริการดิจิทัลใหม่ที่เกิดจาก

การร่วมมือในการสร้างบริการของเครือข่ายดำเนินงานร่วมกันระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้รับบริการ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

−    Service-Level Agreement หรือ SLA หมายถึง ระดับการให้บริการของผู้ให้บริการกับผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถกำหนดได้จากการนำเอาข้อมูลการให้บริการมาสรุปว่ามีระดับของการให้บริการเท่าใด มีความสามารถสนองตอบต่อการให้แก่ผู้ใช้บริการในระดับใด และเมื่อเปรียบเทียบกับบริการอื่น หรือบริการเดียวกันของหน่วยงานอื่น มีความแตกต่างกันอย่างไร 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ