หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างนวัตกรรมบริการหลักที่ใช้การได้และสำเร็จได้

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-ZYSR-022

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างนวัตกรรมบริการหลักที่ใช้การได้และสำเร็จได้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมบริการหลักที่ใช้การได้และสำเร็จได้ (Minimum Viable Service) สามารถออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนา นวัตกรรมสำหรับยกระดับการให้บริการอย่างมีประสิทธิผล 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
−    พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549−    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551−    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558−    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 −    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DS501

ออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล (Process Design)

ทบทวนรายละเอียดกระบวนการทำงานของ บริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

DS501.01 216755
DS501

ออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล (Process Design)

ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร

DS501.02 216756
DS501

ออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล (Process Design)

จัดทำเอกสารกระบวนงานเพื่อการอ้างอิงสำหรับการพัฒนา 

DS501.03 216757
DS502 ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design)

อธิบายได้ถึง Information Flow เพื่อทำให้ การพัฒนาบริการดิจิทัลมีประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการที่มีคุณภาพสูง

DS502.01 216758
DS502 ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design)

ระบุแหล่งข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้ซ้ำ หรือใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

DS502.02 216759
DS502 ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design)

จัดทำเอกสารอธิบายข้อมูลและการไหลของข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงร่วมกันในการพัฒนา

DS502.03 216760
DS503

ออกแบบองค์กรสำหรับการให้บริการ

ระบุทีมงานและทักษะที่ต้องการสำหรับพัฒนานวัตกรรมบริการตลอดกระบวนงานทั้ง Frontstage และ Backstage

DS503.01 216761
DS503

ออกแบบองค์กรสำหรับการให้บริการ

มอบอำนาจการตัดสินใจสำหรับบุคคลและทีมในการตัดสินใจเองได้

DS503.02 216762
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล ด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนา นวัตกรรมสำหรับยกระดับการให้บริการอย่างมี ประสิทธิผล

DS504.01 216763
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล ด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

พัฒนานวัตกรรมบริการที่สำเร็จได้ในระยะเวลา สั้นเพื่อให้ทันต่อการใช้งานและพิสูจน์สมมติฐาน ก่อนขยายการพัฒนา

DS504.02 216764
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล ด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

กำหนดสถานการณ์ทดสอบเสมือนจริง

DS504.03 216765
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล ด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่ได้จากการทดสอบและ จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับแต่ง

DS504.04 216766
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล ด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

ติดตาม ประเมิน และปรับแต่งนวัตกรรมบริการ

DS504.05 216767

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    ทักษะการวิเคราะห์กระบวนงานให้บริการแบบเชื่อมโยง

−    ทักษะการตั้งคำถามต่อความคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นนำเสนอเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา

−    ทักษะการสัมภาษณ์ การใช้คำถามติดตาม และให้คำปรึกษาเพื่อคัดเลือกแนวทางการให้บริการที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย พันธกิจ กระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

−    ความรู้ด้านการออกแบบองค์กรและเทคนิคการทำให้บรรลุผล Organization Design and Implementation)

−    ความรู้ด้านการปรับโครงสร้างการทำงานหน่วยงานภาครัฐ (Government Process reengineering)

−    ความรู้พื้นฐานด้านสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศได้แก่กระบวนงานดิจิทัลขององค์กร สถาปัตยกรรมข้อมูลของระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของหน่วยงาน

−    ความรู้ด้าน E-Government Life Cycle

−    ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบการให้บริการและกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library โดยมุ่งเน้นเรื่อง IT service management (ITSM) เป็นต้น

−    ความรู้ด้านมาตรฐานการจัดการการให้บริการด้านดิจิทัล (IT Service Management Standard)  เช่น ISO/IEC 20000 รวมถึง วงจรชีวิตการให้บริการ (Service Lifecycle)

−    เทคนิคการใช้เครื่องมือออกแบบการให้บริการ เช่น Service Canvas เป็นต้น

−    เทคนิคการออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์การใช้งานของผู้รับบริการ (User Experience Design)

−    เทคนิคการออกแบบกระบวนงานโดยใช้เครื่องมือ เช่น  UML Diagram, Flow Chart, Business Process Modeling (BPM) เป็นต้น

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทดสอบซอฟต์แวร์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการสร้างนวัตกรรมบริการหลักที่ใช้การได้และสำเร็จได้

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการสร้างนวัตกรรมบริการหลักที่ใช้การได้และสำเร็จได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

−    หลักฐานการนำนวัตกรรมบริการไปใช้และผลการประเมินจากผู้ใช้ 

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นสมรรถนะของข้าราชการที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน หรือ ให้บริการ

หน่วยงานภายนอกหรือภายใน การสร้างนวัตกรรมบริการ หมายถึงการสร้างต้นแบบที่ได้จากการออกแบบ

ร่วมกับกลุ่มนักวิชาการคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile Development) ที่สามารถทำซ้ำ โดยเน้นการวิเคราะห์หาส่วนที่สำคัญแล้วลงมือทำก่อนด้วยเวลาระยะสั้น เพื่อให้เห็นแนวคิดของการให้บริการ แล้วทำการประเมินผล จากนั้นจึงทำการปรับแก้ แล้วจึงทำในส่วนสำคัญถัดไป

(ก)    คำแนะนำ 

−    การวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม จะวิเคราะห์โดยใช้การกำหนด Scenario ของการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ หรือ บางส่วน เพื่อทดแทนบริการเดิมที่เป็นดิจิทัล หรือ บริการเดิมที่เป็นการทำงานด้วยคน โดยสามารถเลือกบริการที่กล่าวถึงในรายงาน PMQA ของหน่วยงาน มาเป็นตัวตั้งต้นได้ 

−    การวิเคราะห์เพื่อสร้างนวัตกรรมบริการหลัก จะใช้วิธีการคัดเลือกส่วนสำคัญเพื่อสร้างต้นแบบ

อย่างรวดเร็วในรอบแรก และเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมแก่นในรอบถัดไป

−    การใช้เทคนิคในการวิเคราะห์แบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง สำหรับงานบริการดิจิทัล จะต้องมีเครื่องมือสำหรับใช้สร้างต้นแบบที่ใช้งานได้ง่ายและสามารถสร้างต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว โดยจะทำงานร่วมกับ

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

−    สมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมบริการหลักที่ใช้การได้และสำเร็จได้หมายถึงการพัฒนาหรือออกแบบบริการใหม่ๆ ที่สามารถใช้งานได้จริงและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

−    บริการหลัก คือ บริการที่เป็นพื้นฐานหรือสำคัญต่อองค์กร

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

−    การออกแบบบริการร่วมกัน จะใช้แนวคิดแบบ Co-Creationคือการทำการออกแบบ

บริการร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยวิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุงกระบวนการ

ทำงานเดิม แล้วสร้างกระบวนการทำงานใหม่

−    การทำงานแบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile) คือเทคนิคในการทำงานที่ไม่เน้นความสมบูรณ์

ในแต่ละขั้นตอน แต่จะทำการคัดเลือกสิ่งที่ต้องทำ แล้วสร้างต้นแบบเพื่อประเมิน 

แล้วทำการปรับปรุงแก้ไข เมื่อเป็นที่พอใจจึงคัดเลือกสิ่งสำคัญลำดับถัดไป เพื่อดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ

จนครบถ้วน

−    เทคนิคการทวนสอบแนวคิด (Prove of Concept) ของการให้บริการดิจิทัล หมายถึง การจัดทำต้นแบบบริการ (Service Prototype) เพื่อใช้ในการพิจารณาความเป็นไปได้ทางเทคนิค และใช้ในการตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ