หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบนวัตกรรมบริการ

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-AFDZ-020

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบนวัตกรรมบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความเข้าใจ สามารถอธิบายประสบการณ์ของผู้ใช้บริการได้ตลอดกระบวนการให้บริการแบบเชื่อมโยง (User Experience and User Journey) มีความสามารถในการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการ ศึกษาทางเลือกของการให้บริการดิจิทัล ตลอดจนสามารถประเมินทางเลือกการให้บริการดิจิทัล สามารถระบุองค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ของการให้บริการ และสร้างพิมพ์เขียวการให้บริการ (Service Blueprint) สำหรับพัฒนานวัตกรรมบริการที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (UX) ได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
−    พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549−    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551−    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558−    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 −    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DS301

เข้าใจและอธิบายประสบ การณ์ของผู้ใช้บริการได้ ตลอดกระบวนการให้บริการ แบบเชื่อมโยง (User Experience and User Journey)

กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ

DS301.01 216734
DS301

เข้าใจและอธิบายประสบ การณ์ของผู้ใช้บริการได้ ตลอดกระบวนการให้บริการ แบบเชื่อมโยง (User Experience and User Journey)

สามารถอธิบายคุณค่าของการส่งมอบบริการแก่ประชาชนหรือผู้รับ บริการ

DS301.02 216735
DS301

เข้าใจและอธิบายประสบ การณ์ของผู้ใช้บริการได้ ตลอดกระบวนการให้บริการ แบบเชื่อมโยง (User Experience and User Journey)

วิเคราะห์ความต้องการบริการดิจิทัลเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการ

DS301.03 216736
DS301

เข้าใจและอธิบายประสบ การณ์ของผู้ใช้บริการได้ ตลอดกระบวนการให้บริการ แบบเชื่อมโยง (User Experience and User Journey)

สรุปความต้องการบริการดิจิทัลและกระบวนการให้บริการแบบเชื่อมโยง

DS301.04 216737
DS302

ระบุองค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ ของการให้บริการ

กำหนดฉากทัศน์ทางเลือกในบริบทของผู้ใช้บริการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบริการดิจิทัล 

DS302.01 216738
DS302

ระบุองค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ ของการให้บริการ

ระบุองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัลเพื่อให้เกิดบริการตามที่ต้องการ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องผู้ให้บริการผู้รับบริการ artifacts/ products ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการที่เกี่ยวข้อง

DS302.02 216739
DS302

ระบุองค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ ของการให้บริการ

ระบุ service ecosystemของระบบบริการทั้งที่อยู่เบื้องหน้า (Frontstage) ของผู้รับบริการและเบื้องหลัง (Backstage) ที่ทำให้เกิดการบริการ


DS302.03 216740
DS302

ระบุองค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ ของการให้บริการ

ระบุ กรอบกระบวนการให้บริการทั้งภาพใหญ่ซึ่งอาจประกอบด้วยกระบวนการให้บริการใหญ่กระบวนการเดียว (Large Offering) หรือหลายกระบวนการ ของบริการย่อยที่เชื่อมโยงกัน (Across Multiple Sub offerings) โดยคำนึงการลดความซ้ำซ้อนในทำงานและ การใช้ทรัพยากร (Resources)


DS302.04 216741
DS303

สร้างพิมพ์เขียวบริการ Service Blueprint สำหรับ พัฒนานวัตกรรมบริการ

ประเมินความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีบนพื้นฐานการออกแบบกระบวนงาน (Process Design) ออกแบบองค์กร (Organization Design) และออกแบบสารสนเทศ (Information Design)


DS303.01 216742
DS303

สร้างพิมพ์เขียวบริการ Service Blueprint สำหรับ พัฒนานวัตกรรมบริการ

ประเมินความเป็นไปได้ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับคำสั่ง

DS303.02 216743
DS303

สร้างพิมพ์เขียวบริการ Service Blueprint สำหรับ พัฒนานวัตกรรมบริการ

ประเมินความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือกในการพัฒนาบริการดิจิทัล

DS303.03 216744
DS303

สร้างพิมพ์เขียวบริการ Service Blueprint สำหรับ พัฒนานวัตกรรมบริการ

สร้างพิมพ์เขียวบริการ (Service Blueprint) สู่การพัฒนา นวัตกรรมบริการ

DS303.04 216745

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage)

−    ทักษะในการคาดการณ์สถานการณ์หรือปัญหาการให้บริการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

−    ทักษะในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าและออกแบบกระบวนงานบริการแบบเชื่อมโยง 

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    มีจิตบริการ (Hospitable)

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ (Exploratorily Excitable)

−    มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้ด้านการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์องค์กรกับการให้บริการดิจิทัล

−    ความรู้เกี่ยวกับกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand e-Government Interoperability Framework) หรือ TH e-GIF

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานแบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile)

−    ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบการให้บริการและกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library โดยมุ่งเน้นเรื่อง IT service management (ITSM) เป็นต้น

−    แนวคิดและเทคนิคการทำ Design thinking

−    เทคนิคการใช้เครื่องมือออกแบบการให้บริการ เช่น Service Canvas เป็นต้น

−    เทคนิคการออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์การใช้งานของผู้รับบริการ (User Experience Design)

−    เทคนิคการออกแบบกระบวนงานโดยใช้เครื่องมือ เช่น  UML Diagram, Flow Chart, Business Process Modeling (BPM) เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการออกแบบนวัตกรรมบริการ

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการออกแบบนวัตกรรมบริการ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

−    การให้คำแนะนำผู้อื่นในการออกแบบบริการดิจิทัล

−    การติดตามเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆเพื่อออกแบบบริการดิจิทัลที่มีความแตกต่างจากเดิมทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพ

−    การนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนระบบงานทั่วทั้งองค์กรได้ 

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นสมรรถนะของข้าราชการที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน หรือ ให้บริการระหว่างหน่วยงานภายนอกหรือภายใน โดยมุ่งเน้นการออกแบบบริการดิจิทัลแบบ Co-creation ร่วมกับนักวิชาการคอมพิวเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง  มีการวิเคราะห์ทางเลือกการให้บริการ วิเคราะห์ทรัพยากรที่ใช้  การประเมินความคุ้มค่า ให้ความสำคัญกับคุณภาพของการให้บริการ และสร้างบริการใหม่ที่คำนึงถึง

ประสบการณ์ผู้ใช้

(ก)    คำแนะนำ 

−    การออกแบบบริการร่วมกัน จะใช้แนวคิดแบบ Co-Creation คือการทำการออกแบบบริการร่วม

กันระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยวิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานเดิม แล้วสร้างกระบวนการทำงานใหม่

−    การวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม จะวิเคราะห์โดยใช้การกำหนดสถานการณ์ (Scenario) ของการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ หรือ บางส่วน เพื่อทดแทนบริการเดิมที่เป็นดิจิทัล หรือ บริการเดิมที่เป็นการทำงานด้วยคน โดยสามารถเลือกบริการที่กล่าวถึงในรายงาน PMQA ของหน่วยงาน มาเป็นตัวตั้งต้นได้ 

−    การวิเคราะห์ทรัพยากรที่ใช้ จะวิเคราะห์ถึง องค์ประกอบด้านคอมพิวเตอร์ (HW, SW, Process, 

Data, People, Security) โดยงบประมาณจะประกอบไปด้วยงบลงทุน ค่าบำรุงรักษารายปี และ

ค่าใช้จ่ายในการนำบริการไปให้ประชาชนรับบริการ (Implementation) 

−    การประเมินความคุ้มค่า และการวิเคราะห์ผลกระทบ สำหรับบริการภาครัฐ จะให้ความสำคัญกับ

คุณภาพของการให้บริการระหว่างรัฐกับรัฐ (G2G: Government to Government) ระหว่างรัฐ

กับประชาชน (G2C: Government to Citizen) หรือกับภาคธุรกิจ, (G2B: Government to 

Business0) ซึ่งเป็นการให้บริการผู้ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐ มากกว่าผลตอบแทน

เชิงเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนการเปิดช่องทางการเข้าถึงภาครัฐและหรือมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ

−    การวิเคราะห์บริการดิจิทัลเพื่อสร้างบริการใหม่จะใช้หลักการออกแบบและสร้างสรรค์ร่วมกับ

ผู้ใช้งาน (Co-Creation)

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

−    THe-GIF 2.0 หมายถึง กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ 2.0 ปีหน่วยงาน

ภาครัฐปี พ.ศ. 2554 (Thailand Electronic-Government Interoperability Framework)

−    PMQA (Public sector Management Quality Award) คือ กลไกในการพัฒนาการบริหาร

จัดการภาครัฐสู่องค์กรสู่ความเป็นเลิศซึ่งประกอบไปด้วย การนำองค์กร การวางแผนยุทธศาสตร์

การให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้เสียการวัดวิเคราะห์และจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์การดำเนินการ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ