หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดกรอบการให้บริการแบบเชื่อมโยง

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-HWTA-018

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดกรอบการให้บริการแบบเชื่อมโยง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความสามารถในการระบุประเด็นปัญหา และผลกระทบของปัญหาของการให้บริการแบบแยกส่วน วิเคราะห์สาเหตุปัญหา กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง และระบุแนวทางในการแก้ปัญหาและกำหนดกรอบการให้บริการแบบเชื่อมโยงได้  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
−    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558−    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 −    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DS101

ระบุประเด็นปัญหาและผลกระทบของปัญหาของกระบวนการทำงาน และการให้บริการแบบแยกส่วน

ระบุประเด็นผลกระทบและแยกแยะปัญหาของระบบ

บริการปัจจุบันที่เกิดจากการแยกส่วน

DS101.01 216720
DS101

ระบุประเด็นปัญหาและผลกระทบของปัญหาของกระบวนการทำงาน และการให้บริการแบบแยกส่วน

สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ของประเด็นปัญหาและผลกระทบได้อย่างมีเหตุผลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

DS101.02 216721
DS102

ระบุแนวทางในการแก้ปัญหาและกำหนดกรอบการให้บริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

ลำดับความสำคัญของปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเพื่อบูรณาการกระบวนการให้บริการ

DS102.01 216722
DS102

ระบุแนวทางในการแก้ปัญหาและกำหนดกรอบการให้บริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

กำหนดแนวทางการปฏิบัติเชิงรุกและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคต

DS102.02 216723
DS102

ระบุแนวทางในการแก้ปัญหาและกำหนดกรอบการให้บริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

เสนอแนวทางการบูรณาการกระบวนการบริการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

DS102.03 216724

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ 

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage)

−    ทักษะในการคาดคะเนแนวโน้มของปัญหาการให้บริการที่เกิดขึ้นในระดับองค์กร

−    ทักษะเปิดรับความคิดของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย พันธกิจ กระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายดิจิทัลและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

−    ความรู้ด้านการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์องค์กรกับการให้บริการดิจิทัล

−    ความรู้เกี่ยวกับกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลดิจิทัลแห่งชาติ (Thailand e-Government Interoperability Framework) หรือ TH e-GIF

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

−    ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบการให้บริการและกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library โดยมุ่งเน้นเรื่อง IT service management (ITSM) เป็นต้น

−    เทคนิคการออกแบบกระบวนงานโดยใช้เครื่องมือ เช่น  UML Diagram, Flow Chart, Business Process Modeling (BPM) เป็นต้น

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับงานบริการ

−    มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

−    มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์การการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

−    มีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

−    มีความรู้เกี่ยวกับการนำไปใช้การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

−    หลักฐานการกำหนดกรอบการให้บริการแบบเชื่อมโยง

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการกำหนดกรอบการให้บริการแบบเชื่อมโยง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

−    การนำเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการให้บริการแบบแยกส่วนและให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาเพื่อการบูรณาการบริการได้ 

−    ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยสมรรถนะของข้าราชการและบุคคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ โดยเน้นการให้บริการดิจิทัล ได้แก่ การให้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อัจฉริยะ หรือผ่านระบบสื่อสังคมออนไลน์ โดยอาจมีเนื้อหาที่ครอบคลุมข้อมูล หรือข้อความ หรือเสียง หรือภาพ หรือวีดีทัศน์ หรือแผนที่หรืออื่นๆที่มีความมั่นคงปลอดภัยต่อผู้ให้และผู้รับบริการโดยจะต้องมีการบริหาร

จัดการความเสี่ยงและปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบประกาศและกฎเกณฑ์ในระดับประเทศกระทรวงและกรม

ที่เกี่ยวข้องรวมถึงสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่ดีในการทำงานดิจิทัลในบริบทที่เกี่ยวข้องตามบทบาทและ

ความรับผิดชอบ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

−    THe-GIF 2.0 หมายถึง กรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ 2.0 ปีหน่วยงานภาครัฐ ปี พ.ศ. 2554 (Thailand Electronic-Government Interoperability Framework)

−    COSO หมายถึงมาตรฐาน Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission ปี ค.ศ.2013 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ