หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-EXKT-012

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการเตรียมการและควบคุมการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ที่ครอบคลุมการวิเคราะห์โครงการเพื่อปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมการทำข้อเสนอและติดตามโครงการการวางแผนการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรการปรับปรุงสถาปัตยกรรมองค์กรให้สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามหน่วยงานและให้บริการแบบต่อเนื่องรวมทั้งดำเนินการตรวจสอบตามแผนสถาปัตยกรรมองค์กรได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
−    พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560−    พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2560−    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่4) พ.ศ.2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DG901 เตรียมการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
จัดทำทะเบียนสถาปัตยกรรมองค์กรและองค์ประกอบ
DG901.01 217414
DG901 เตรียมการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร กำหนดขั้นตอนการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร DG901.02 217415
DG901 เตรียมการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร สื่อสารสถาปัตยกรรมองค์กร DG901.03 217416
DG902 วางแผนการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
กำหนดสิ่งที่ต้องกำกับและวัดผลด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรได้
DG902.01 217417
DG902 วางแผนการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร กำหนดวิธีการในการกำกับวิเคราะห์วัดผลได้ DG902.02 217418
DG902 วางแผนการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
กำหนดระยะเวลาในการกำกับวิเคราะห์และวัดผลได้
DG902.03 217419
DG902 วางแผนการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
กำหนดผู้รับผิดชอบในการกำกับวิเคราะห์และวัดผลได้
DG902.04 217420
DG903 ดำเนินการตรวจสอบตามแผน
เตรียมเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบและประเมินผลด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรได้
DG903.01 217421
DG903 ดำเนินการตรวจสอบตามแผน
กำหนดวิธีการและเกณฑ์การตรวจสอบด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร ตามแผนที่กำหนด
DG903.02 217422
DG903 ดำเนินการตรวจสอบตามแผน
ดำเนินการตรวจสอบตามแผนสถาปัตยกรรมองค์กร
DG903.03 217423
DG904 วิเคราะห์ผลการตรวจสอบด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
รวบรวมผลการตรวจสอบและประเมินผลด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
DG904.01 217424
DG904 วิเคราะห์ผลการตรวจสอบด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร
วิเคราะห์ผลตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรตามแผนที่กำหนด
DG904.02 217425
DG904 วิเคราะห์ผลการตรวจสอบด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร สรุปผลการวิเคราะห์ผลตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบด้านการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร DG904.03 217426

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการหน้าที่ความรับผิดชอบและการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

−    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic Viewand Task Linkage)

−    ทักษะในการดำเนินการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร

−    ทักษะการติดตามแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

−    ทำงานร่วมกับและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น (Collaborative)

−    มีทักษะด้านการจัดทำทะเบียนสถาปัตยกรรมองค์กรและองค์ประกอบ

−    มีทักษะด้านการกำหนดขั้นตอนการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีทักษะด้านการสื่อสารสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีทักษะด้านการสื่อสารวิเคราะห์โครงการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีทักษะด้านการจัดทำข้อเสนอแนะประกอบโครงการ

−    มีทักษะด้านการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีทักษะด้านการปรับปรุงแบบสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีทักษะด้านการเตรียมเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบและประเมินผล

−    มีทักษะด้านการกำหนดวิธีการและเกณฑ์การตรวจสอบบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรตามตามมาตรฐานและเป้าหมายที่กำหนด

−    มีทักษะด้านการรวบรวมผลการตรวจสอบบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

−    มีทักษะด้านการวิเคราะห์ผลตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรตาม

มาตรฐานและเป้าหมายที่กำหนด

−    มีทักษะด้านการสรุปผลการวิเคราะห์และทบทวนบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

−    มีทักษะด้านการรายงานผลการตรวจสอบบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายพันธกิจกระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

−    ความรู้ด้านการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (Architecture Governance)

−    ความรู้ในระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงาน

−    ความรู้ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data and Analytic Literacy) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative)

−    เทคนิคการจัดทำโมเดลข้อมูล (Data Modeling)

−    มีความรู้ในการดำเนินการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีความรู้ด้านการจัดทำทะเบียนสถาปัตยกรรมองค์กรและองค์ประกอบ

−    มีความรู้ด้านการกำหนดขั้นตอนการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีความรู้ด้านการสื่อสารสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีความรู้ด้านการสื่อสารวิเคราะห์โครงการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีความรู้ด้านการจัดทำข้อเสนอแนะประกอบโครงการ

−    มีความรู้ด้านการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีความรู้ด้านการปรับปรุงแบบสถาปัตยกรรมองค์กร

−    มีความรู้ด้านการเตรียมเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบและประเมินผล

−    มีความรู้ด้านการกำหนดวิธีการและเกณฑ์การตรวจสอบบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรตามตามมาตรฐานและเป้าหมายที่กำหนด

−    มีความรู้ด้านการรวบรวมผลการตรวจสอบบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

−    มีความรู้ด้านการวิเคราะห์ผลตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรตามมาตรฐานและเป้าหมายที่กำหนด

−    มีความรู้ด้านการสรุปผลการวิเคราะห์และทบทวนบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

−    มีความรู้ด้านการรายงานผลการตรวจสอบบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน(PerformanceEvidence)

−    หลักฐานการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร

(ข)    หลักฐานความรู้(KnowledgeEvidence)

−    ประกาศนียบัตรต่างๆจากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการเตรียมการและควบคุมการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรที่ครอบคลุมการวิเคราะห์โครงการเพื่อปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมการทำข้อเสนอและติดตามโครงการการวางแผนการกำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรการปรับปรุงสถาปัตยกรรมองค์กรให้สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามหน่วยงานและให้บริการแบบต่อเนื่องรวมทั้งดำเนินการตรวจสอบตามแผนสถาปัตยกรรมองค์กรได้

(ก) คำแนะนำ

ต้องมีการเตรียมการทำทะเบียนสถาปัตยกรรมองค์กรและองค์ประกอบโดยกำหนดขั้นตอนการใช้งาน

สถาปัตยกรรมองค์กรให้ชัดเจนและมีการสื่อสารสถาปัตยกรรมองค์กรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมหรือรับรู้การดำเนินการมีการวิเคราะห์ประเมินและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับบริบทขององค์กร

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

−    สถาปัตยกรรมองค์กร (EnterpriseArchitecture) คือ “การวางแผนการออกแบบ และการจัดการโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ” โดยมีกรอบแนวคิด ของสถาปัตยกรรมองค์กร (EAFramework) มาช่วยในการดำเนินงาน เช่น ZackmanFramework, Federal Enterprise Architecture (FEA)

-    Zackman Framework โดยจะมีองค์ประกอบของกรอบแนวคิดอยู่ 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การสื่อสารโดยการตั้งคำถาม 5W1H และ6มุุมมอง

คำถาม 5W1H ได้แก่

-    What คือ สิ่งที่มีอยู่ในองค์กรข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ

-    How คือ วิธีการใช้ในกระบวนการและการดำเนินงาน

-    Where คือ ที่ตั้งและตำแหน่งของกระบวนการและข้อมูล

-    Who คือ บุคคลและบทบาทที่เกี่ยวข้องในกระบวนการและการดำเนินงาน

-    When คือ เวลาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการและการดำเนินงาน

-    Why คือ วัตถุประสงค์และเหตุผลในการทำงานขององค์กร

        6 มุมมอง ได้แก่

-    มุมมองผู้บริหาร (Executive)

-    มุมมองผู้จัดการธุรกิจ (Business)

-    มุมมองสถาปนิก (Architect)

-    มุมมองวิศวกร (Engineer)

-    มุมมองช่างเทคนิค (Technician)

-    มุมมองระดับองค์การ (Enterprise)

-    Federal Enterprise Architecture (FEA) จะแบ่งสถาปัตยกรรมองค์กรออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ Performance,Business,Data,Application,Infrastructure และ Security Reference Model

-    การใช้สถาปัตยกรรมองค์กรมีขอบเขตที่คลอบคลุมถึงกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาการทำงานล่าช้า

กว่ากำหนดซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่การวิเคราะห์ภาพรวมและระบบการทำงานการเชื่อมโยงการทำงาน

กับกลยุทธ์ (Strategic Alignment) ไปจนถึงการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี ภายในพร้อมติดตาม การทำงานเพื่อปรับปรุง ให้เหมาะสมโดยมีกรอบการทำงานที่ชัดเจน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ