หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-TWZJ-011

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความเข้าใจในสถาปัตยกรรม (Enterprise Architecture) องค์กรเข้าใจการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลรวมทั้งเข้าใจในองค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560-    พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560-    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DG801 เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กร ระบุความสำคัญของสถาปัตยกรรมองค์กร DG801.01 217427
DG801 เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กร ระบุกรอบแนวคิดของสถาปัตยกรรมองค์กร DG801.02 217428
DG801 เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กร ระบุองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมองค์กรได้ DG801.03 217429
DG801 เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กร
ระบุกระบวนการดำเนินงานของสถาปัตกรรมองค์กร
DG801.04 217430
DG802 เข้าใจการนำสถาปัตยกรรมองค์กรมาใช้เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล
เข้าใจองค์กรดิจิทัลและแผนแม่บทสถาปัตยกรรมองค์กร
DG802.01 217431
DG802 เข้าใจการนำสถาปัตยกรรมองค์กรมาใช้เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ระบุหลักการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล DG802.02 217432
DG802 เข้าใจการนำสถาปัตยกรรมองค์กรมาใช้เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ระบุแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล DG802.03 217433
DG802 เข้าใจการนำสถาปัตยกรรมองค์กรมาใช้เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ระบุองค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล DG802.04 217434

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

−    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

−    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการหน้าที่ความรับผิดชอบและการบริหารจัดการภาครัฐ

−    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารทางราชการกฎหมายว่าด้วยการละเมิด

−    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

−    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



−    มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น(Holistic Viewand Task Linkage)

−    ทักษะการติดตามแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล

−    ทักษะการวิเคราะห์เปรียบเทียบเทคโนโลยี

−    ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

−    มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

−    ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายพันธกิจกระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

−    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

−    ความรู้ในระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงาน

−    ความรู้ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data and Analytic Literacy) ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative)

−    เทคนิคการจัดทำโมเดลข้อมูล (Data Modeling)

−    ความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย และระบบงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน(PerformanceEvidence)

−    หลักฐานการเข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล

−    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการเข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน

สู่รัฐบาลดิจิทัล

(ข)    หลักฐานความรู้(KnowledgeEvidence)

−    ผลการทดสอบความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

−    ประกาศนียบัตรต่าง ๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

−    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ

หลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

- เข้าใจสถาปัตยกรรมองค์กรมีขอบเขตครอบคลุมถึงการระบุความสำคัญกรอบแนวคิด องค์ประกอบ และกระบวนการดำเนินงานของสถาปัตยกรรมองค์กรเข้าใจการนำสถาปัตยกรรมองค์กรมาใช้เพื่อ

การเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลมีขอบเขตครอบคลุมถึงเข้าใจในองค์กรและแผนแม่บทของสถาปัตยกรรม

องค์กรรวมถึงต้องเข้าใจและระบุหลักการแนวคิดและองค์ประกอบการเปี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

-    สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) คือ “การวางแผนการออกแบบและการจัดการ โครงสร้างและการดำเนินงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ” โดยมีกรอบแนวคิด ของสถาปัตยกรรมองค์กร (EAFramework) มาช่วยในการดำเนินงาน เช่น ZackmanFramework, FederalEnterpriseArchitecture (FEA) เป็นต้น

-    ZackmanFramework โดยจะมีองค์ประกอบของกรอบแนวคิดอยู่ 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การสื่อสารโดยการตั้งคำถาม 5W1H และ 6มุุมมอง

คำถาม 5W1H ได้แก่

-    What คือ สิ่งที่มีอยู่ในองค์กรข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ

-    How คือ วิธีการใช้ในกระบวนการและการดำเนินงาน

-    Where คือ ที่ตั้งและตำแหน่งของกระบวนการและข้อมูล

-    Who คือ บุคคลและบทบาทที่เกี่ยวข้องในกระบวนการและการดำเนินงาน

-    When คือ เวลาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการและการดำเนินงาน

-    Why คือ วัตถุประสงค์และเหตุผลในการทำงานขององค์กร

        6 มุมอง ได้แก่

-    มุมมองผู้บริหาร(Executive)

-    มุมมองผู้จัดการธุรกิจ(Business)

-    มุมมองสถาปนิก(Architect)

-    มุมมองวิศวกร(Engineer)

-    มุมมองช่างเทคนิค(Technician)

-    มุมมองระดับองค์การ(Enterprise)



-    Federal Enterprise Architecture (FEA) จะแบ่งสถาปัตยกรรมองค์กร ออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่

-    Performance Reference Model

-    Business Reference Model

-    Data Reference Model

-    Application Reference Model

-    Infrastructure Reference Model

-    Security Reference Model

-    รัฐบาลดิจิทัล คือ “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนบูรณาการของกลยุทธ์การทำให้รัฐบาล มีความทันสมัย”

-    การเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล คือ ปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ