หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามกฎหมายกรอบ ธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติที่ดีด้านดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-FYYM-004

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามกฎหมายกรอบ ธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติที่ดีด้านดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการอธิบายหลักกฎหมาย กรอบธรรมาภิบาล (Governance Framework) และหลักปฏิบัติ (Principles) ที่ดีด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้องได้และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.2549-    พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่2) พ.ศ.2551-    พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558-    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560-    พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DG101 อธิบายกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติดิจิทัลที่เกี่ยวข้องได้
ระบุกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานดิจิทัลที่รับผิดชอบได้
DG101.01 217473
DG101 อธิบายกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติดิจิทัลที่เกี่ยวข้องได้
สามารถอธิบายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตาม
DG101.02 217474
DG102 นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
ระบุความเชื่อมโยงของกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของการทำงานดิจิทัลแบบบูรณาการได้
DG102.01 217475
DG102 นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
สามารถประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้ปฏิบัติได้
DG102.02 217476

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

-    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการหน้าที่ความรับผิดชอบและการบริหารจัดการภาครัฐ

-    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครองพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการกฎหมายว่าด้วยการละเมิด

-    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

-    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการระบุประเด็นหรือผลลัพธ์การทำงานแบบดิจิทัลเพื่อนำกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติที่ดีไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

-    ทักษะในการวิเคราะห์ตีความในถ้อยความของตัวบทที่บัญญัติไว้สามารถอ้างอิงระบุถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้รับตลอดจนสามารถเชื่อมโยงกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติที่ดีกับการทำงานดิจิทัลในบริบทที่รับผิดชอบ

-    ยอมรับปรับตัว(Adaptive)

-    มีความพยายามไม่ย่อท้อ(Persistent)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    องค์ความรู้พื้นฐานและเชิงลึกด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์การ

ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมถึงกฎหมายที่สนับสนุน

เศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม

-    ความรู้พื้นฐานด้านสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศได้แก่กระบวนงานดิจิทัลขององค์กรสถาปัตยกรรม

ข้อมูลของระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของหน่วยงาน

-    ความรู้ด้านกรอบธรรมภิบาลและหลักปฏิบัติที่ดีเช่นEnterpriseGovernanceตามกรอบของCOSO,ITGovernanceตามกรอบของCOBIT5,ISO/IEC38500,e-GovernmentCapabilityMaturityModel เป็นต้น ตลอดจนมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

-    ความรู้ด้านมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเช่นTOGAF,TH-eGIF,ISO9001(QMS), ISO/IEC27001,27002(ISMS), ISO/IEC20000,ITIL(ITServices) เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน(PerformanceEvidence)

-    หลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติที่ดีด้านดิจิทัล

-    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามกฎหมายกรอบธรรมาภิบาล

และหลักปฏิบัติที่ดีด้านดิจิทัล



(ข)    หลักฐานความรู้(KnowledgeEvidence)

-    ข้อเสนอแนะความคิดเห็นของตนในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและประโยชน์ในการนำกรอบธรรมาภิบาลหลักปฏิบัติที่ดีและกฎหมายไปใช้รวมทั้งระบุผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำไปประยุกต์

-    ประกาศนียบัตรต่างๆจากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง





(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ

หลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายกฎหมายกรอบธรรมาภิบาล กฎหมาย กรอบธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และปัญหาที่เกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตาม รวมทั้งระบุความเชื่อมโยงของกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและหลักปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของการทำงานดิจิทัลแบบบูรณาการ และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้ปฏิบัติ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

-    กฎหมายกรอบธรรมาภิบาล และแนวปฏิบัติดิจิทัล มีขอบเขตที่ครอบคลุมถึงกรอบแนวทางและข้อบังคับที่จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินการทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และรับผิดชอบต่อสังคม กรอบธรรมาภิบาล และแนวปฏิบัติดิจิทัลมีความสำคัญ อย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายในการดำเนินธุรกิจและการบริการสาธารณะ

-    หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายกรอบธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติดิจิทัล ประกอบด้วย:

-    ความโปร่งใส (Transparency): การเปิดเผยข้อมูลและการดำเนินงานอย่างโปร่งใส

-    ความรับผิดชอบ (Accountability): การรับผิดชอบต่อการดำเนินงานและการตัดสินใจ

-    การมีส่วนร่วม (Participation): การให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

-    ความยั่งยืน (Sustainability): การดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

-    ความมั่นคงและความเป็นส่วนตัว (Security and Privacy): การปกป้องข้อมูล และระบบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล

-    แนวปฏิบัติดิจิทัลนั้นสามารถครอบคลุมถึงการบริหารจัดการข้อมูล การรักษา ความปลอดภัยทางไซเบอร์  การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและมาตรฐานสากล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการตัดสินใจและการบริการประชาชน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ