หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้งานดิจิทัลขั้นต้น

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DG-TNMQ-001

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้งานดิจิทัลขั้นต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ การจัดการข้อมูล การสำรองข้อมูล อุปกรณ์เคลื่อนที่ และคลาวด์คอมพิวติง ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การใช้เว็บเบราเซอร์ การสืบค้นข้อมูล การใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ปฏิทิน สื่อสังคม โปรแกรมการสื่อสาร และใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ สามารถใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวได้ เช่น การใช้งานบัญชีรายชื่อบุคคล การป้องกันภัยคุกคาม  การป้องกันมัลแวร์ การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง และปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

เข้าใจการใช้งานฮาร์ดแวร์

Dlit101.01 216655
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

เข้าใจการใช้งานระบบปฏิบัติการ

Dlit101.02 216656
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

เข้าใจการจัดการข้อมูล

Dlit101.03 216657
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

เข้าใจการสำรองข้อมูล

Dlit101.04 216658
Dlit102

ใช้งานอินเทอร์เน็ต

Dlit103

ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21

-    ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ  หน้าที่ความรับผิดชอบ  และการบริหารจัดการภาครัฐ

-    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครองพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ  กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

-    ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ  

-    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ปฏิบัติการใช้งานฮาร์ดแวร์

-    ปฏิบัติการใช้งานระบบปฏิบัติการ

-    ปฏิบัติการจัดการข้อมูล

-    ปฏิบัติการสำรองข้อมูล

-    ปฏิบัติการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่

-    ปฏิบัติการใช้งานคลาวด์คอมพิวติง

-    ปฏิบัติการใช้งานเว็บเบราเซอร์

-    ปฏิบัติการสืบค้นข้อมูล

-    ปฏิบัติการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  

-    ปฏิบัติการใช้งานปฏิทิน

-    ปฏิบัติการใช้งานสื่อสังคม

-    ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมการสื่อสาร

-    ปฏิบัติการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

-    ปฏิบัติการใช้บัญชีรายชื่อบุคคล

-    ปฏิบัติการป้องกันภัยคุกคาม

-    ปฏิบัติการป้องกันมัลแวร์

-    ปฏิบัติการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

-    ปฏิบัติการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง

-    ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ  (Exploratorily  Excitable)

-    ยอมรับปรับตัว  (Adaptive)

-    มีความพยายาม  ไม่ย่อท้อ  (Persistent)

-    ติดตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  (Keep  Abreast  with  Technological  Change)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    การใช้งานคอมพิวเตอร์

-    การใช้งานอินเตอร์เน็ต

-    การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    หลักฐานการใช้งานดิจิทัลขั้นต้นในการทำงาน

-    เอกสารหรือรายงานที่แสดงถึงการใช้งานดิจิทัลขั้นต้นในการทำงาน

(ข)  หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence)

-    เอกสารรับรองการสอบผ่านการทดสอบความรู้ทางด้านไอที  ด้านดิจิทัล  หรืออื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  หรือ

-    เอกสารรับรองการเข้ารับการอบรมความรู้ทางด้านไอที  ด้านดิจิทัล  หรืออื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

-    ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ  

หน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ การจัดการข้อมูล การสำรองข้อมูล อุปกรณ์เคลื่อนที่ และคลาวด์คอมพิวติง ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การใช้เว็บเบราเซอร์ การสืบค้นข้อมูล การใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ปฏิทิน สื่อสังคม โปรแกรมการสื่อสาร และใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ สามารถใช้งาน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวได้ เช่น การใช้งานบัญชีรายชื่อบุคคล การป้องกันภัยคุกคาม  การป้องกันมัลแวร์ การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง และปลอดภัย

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    การใช้งานฮาร์ดแวร์ มีขอบเขตครอบคลุม  ประเภทของฮาร์ดแวร์  เช่น  Desktop,  Laptop,  Tablet,  Smartphone,  Media  Player,  Digital  Camera  เป็นต้น องค์ประกอบ

ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  เช่น  System  Unit,  CPU,  Memory,  Input/Output Devices,  Storage  Devices  เป็นต้น  การเชื่อมต่ออุปกรณ์นำเข้าตัวอย่างเช่น  Driver,  USB,  PS2,  Firewire,  RJ45,  พอร์ต  Multimedia  เป็นต้น  การเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผล  เช่น  USB,  HDMI,  VGA,  DVI,  FireWire,  พอร์ต  Multimedia เป็นต้น พร้อมทั้งการแก้ปัญหาการใช้งานฮาร์ดแวร์

-    การใช้งานระบบปฏิบัติการ  มีขอบเขตครอบคลุม  ประเภทของซอฟต์แวร์  เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์  และโปรแกรมอรรถประโยชน์  เป็นต้น  การแสดงผลเดสก์ท็อป  เช่น  การปรับภาพพื้นหลัง,  การตั้งค่าการแสดงผล  Resolution,  การปรับแต่งไอคอน  เพิ่ม  ลบ  แก้ไข  เป็นต้น  ฟังก์ชันของระบบปฏิบัติการ  เช่น  Window,  Toolbar,  Task  Bar,  Control  Panel,  Start  Up,  Shut  Down  เป็นต้น  โปรแกรมประยุกต์บนระบบปฏิบัติการ  เช่น  การติดตั้ง  ถอนการติดตั้ง  และอัพเดตโปรแกรม  เป็นต้น  ตลอดจนการแก้ไขปัญหาการใช้ระบบปฏิบัติการ

-    การจัดการข้อมูล  มีขอบเขตครอบคลุม  การสร้าง  เคลื่อนย้าย  ใช้งาน  แฟ้ม/ฐานข้อมูล  พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนค่ากำหนดของแฟ้ม  เช่น  การตั้งชื่อ  เปลี่ยนชื่อ  คัดลอก  ย้าย  ระบุประเภท  จัดรูปแบบการแสดงผล  และคุณสมบัติ  เป็นต้น

-    การสำรองข้อมูล  มีขอบเขตครอบคลุม  รูปแบบการสำรองข้อมูล  เช่น  Unstructured,  System  Imaging,  Incremental  เป็นต้น  สำรองและกู้คืนข้อมูล  เช่น การสำรอง

และกู้คืนข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมประยุกต์  การสำรองข้อมูลไปยังหน่วยความจำสำรอง

และหน่วยจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์คอมพิวติง เป็นต้น

-    การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่  มีขอบเขตครอบคลุม  ประเภทของอุปกรณ์เคลื่อนที่  เช่น  Tablet,  Smartphone,  PDA  เป็นต้น  การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย  เช่น  WIFI,  Bluetooth  4G  เป็นต้น  การใช้แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  เช่น  SMS,  Social  Media,  Organizer  เป็นต้น  พร้อมทั้งการปรับแต่งแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

-    การใช้งานคลาวด์คอมพิวติง  มีขอบเขตครอบคลุม  บริการบนคลาวด์คอมพิวติง  เช่น  SaaS  PaaS  และ  IaaS  เป็นต้น  พร้อมทั้งการใช้บริการและการแบ่งปันทรัพยากรบนคลาวด์คอมพิวติง  เช่น  Dropbox,  OneDrive,  Google  Drive,  Amazon  Cloud  Service  เป็นต้น

-    การใช้งานเว็บเบราเซอร์ในการปฏิบัติงาน  มีขอบเขตครอบคลุม  การเลือกใช้เครือข่าย  เช่น  LAN,  MAN,  WAN,  VPN  เป็นต้น  รวมทั้งการใช้งานและการปรับแต่งเว็บเบราเซอร์

-    การสืบค้นข้อมูลในการปฏิบัติงาน  มีขอบเขตครอบคลุม  การสืบค้นด้วยคำค้นและเงื่อนไขที่กำหนด  เช่น  And,  Or,  Not,  Image,  Size,  Color,  File  Type  เป็นต้น  รวมถึง

การจัดการการเข้าถึงข้อมูลที่สืบค้น

-    การใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ในการปฏิบัติงาน  มีขอบเขตครอบคลุม  การสร้างอีเมล์  องค์ประกอบของอีเมล  เช่น  ชื่อเรื่อง  ไฟล์แนบ  ส่งถึง  สำเนาถึงและสำเนาลับ  เป็นต้น  การปรับตั้งค่าและการจัดการอีเมล  รวมทั้งรายชื่อผู้ติดต่อบนอีเมล์

-    การใช้งานปฏิทินในการปฏิบัติงาน  มีขอบเขตครอบคลุม  การสร้างตารางนัดหมาย  การปรับตั้งค่าปฏิทิน  เช่น  มุมมอง  การจัดเรียง  การกรอง  เป็นต้น  รวมทั้งการ

แบ่งปันปฏิทินให้ผู้อื่นใช้งาน  เช่น  Share,  Invite  เป็นต้น

-    การใช้งานสื่อสังคมในการปฏิบัติงาน  มีขอบเขตครอบคลุม  การใช้งานเครือข่าย

สังคมออนไลน์ตามประเภทของการติดต่อสื่อสาร  และตามหลักความปลอดภัย  เช่น  ด้านกฎหมาย  จริยธรรม  ความน่าเชื่อถือ  ปลอดภัย  เป็นต้น

-    การใช้งานโปรแกรมการสื่อสารในการปฏิบัติงาน  มีขอบเขตครอบคลุม  การเลือกใช้โปรแกรม

การสื่อสาร  เช่น  Internet  Relay  Chat,  SMS,  Web  Conference,  Google  Hangouts,  Streaming  Media  Technology,  E-learning  เป็นต้น รวมทั้งการปรับแต่งค่าของโปรแกรม  การสื่อสาร  

-    การใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงานมีขอบเขตครอบคลุมความปลอดภัยในการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์  การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  การบริการออนไลน์  รวมทั้งการเรียนรู้ออนไลน์

-    การใช้งานบัญชีรายชื่อบุคคล มีขอบเขตครอบคลุมความปลอดภัยในการสร้างบัญชีรายชื่อ และรหัสผ่าน รวมทั้งการใช้อัตลักษณ์บุคคลในการยืนยันตัวตน

-    การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีขอบเขตครอบคลุมการปรับรุ่นระบบปฏิบัติการ การกำหนดค่าไฟร์วอลล์ส่วนบุคคล  (Personal  Firewall)  การเลือกใช้เครือข่ายที่ปลอดภัย  

-    การป้องกันมัลแวร์  มีขอบเขตครอบคลุม  การใช้งานซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อความปลอดภัย  การตรวจสอบอาการผิดปกติจากมัลแวร์

-    การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย  มีขอบเขตครอบคลุม  ความปลอดภัยในการใช้งานโปรแกรม  เบราเซอร์  การทำงานกับระบบรหัสลับ  (Encryption)  การใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

-    การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง  มีขอบเขตครอบคลุม  การใช้งานเนื้อหาออนไลน์  การใช้บริการอินเทอร์เน็ต  การใช้งานอินเทอร์เน็ต  เช่น  ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์  หลักการโดยชอบธรรมในการใช้งานข้อมูล  มารยาทเครือข่าย  (Netiquette)  การให้ร้าย  การกลั่นแกล้ง  เป็นต้น

-    การจัดการความเป็นส่วนตัว  มีขอบเขตครอบคลุมการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคล  หรือองค์กร  โดยที่จะใช้มาตรการต่าง  ๆ  เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม  เช่น  การใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัส

เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  การจัดการการเข้าถึงข้อมูล  (Access  Control)  การใช้วิธีการแยกข้อมูลส่วนบุคคล  (Data  Masking)  การจัดการสิทธิ์และความยินยอม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ