หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SEC-KUNN-067A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส    1219    ผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกรักษาความปลอดภัย

ISCO รหัส    1219    ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัย


1 5414 พนักงานรักษาความปลอดภัย

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05221

วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

1. วิเคราะห์รายละเอียดแต่ละรายวิชาในหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติได้ถูกต้องครบถ้วน

05221.01 217233
05221

วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

2. จัดทำรายวิชาใหม่ที่มีการปรับปรุงตามหลักสูตรรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าได้ถูกต้อง ทันสมัยทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

05221.02 217234
05221

วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน

3. วิพากษ์หลักสูตรรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้วเพื่อจัดทำหลักสูตรใหม่อย่างถูกต้องครบถ้วน

05221.03 217235
05222

นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว

1. จัดทำรูปเล่มรายละเอียดหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงได้ถูกต้องครบถ้วน

05222.01 217236
05222

นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว

2. นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำไปใช้ได้ถูกต้องครบถ้วน

05222.02 217237

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยขนส่งทรัพย์สินมีค่า ความรู้ในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม  รายวิชาที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน การฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

  • ทักษะการจัดรายวิชาในหลักสูตรการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๘

  • ความรู้เกี่ยวกับการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

  • ความรู้ในสอนวิธีการรับมอบทรัพย์สินมีค่า การขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้อยู่ในสภาพดี 

  • ความรู้ในการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย

  • ความรู้ในสอนการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

  • ความรู้ในการสอนการบันทึกรายการขนส่งทรัพย์สินมีค่า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสารเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย

  • หลักสูตรการฝึกอบรมรักษาความปลอดภัย

  • เอกสารเกี่ยวกับสื่อการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย

  • เอกสารระบุเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการฝึกอบรมตามแบบที่กำหนด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำหนดกลยุทธ์การฝึกอบรมการขนส่งทรัพย์สินมีค่า

  • ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและขอบเขตการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยทั้งภาคทฤษฏี และ ภาคปฏิบัติ

  • ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม

  • ความรู้เกี่ยวกับการสร้างและเขียนหลักสูตรฝึกอบรม

  • ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่อการฝึกอบรม

  • ความรู้เกี่ยวกับการเลือกวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตสื่อการฝึกอบรม

  • ความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตสื่อการฝึกอบรม

  • ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบและผลิตสื่อการฝึกอบรม

  •   ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๘



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ประเมินโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. วิเคราะห์รายละเอียดแต่ละรายวิชาในหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ



2. จัดทำรายวิชาใหม่ที่มีการปรับปรุงตามหลักสูตรรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินให้ทันสมัยทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ



3. จัดทำรูปเล่มรายละเอียดหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และทรัพย์สินที่ปรับปรุง



4. นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำไปใช้



(ก) คำแนะนำ



หลักสูตรในการฝึกอบรมต้องสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยการขนส่งทรัพย์สินมีค่าและมีขอบเขตการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยทั้งภาคทฤษฏีและ ภาคปฏิบัติ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน หน่วยสมรรถนะย่อย 05221 วิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าให้เป็นปัจจุบัน



1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน



2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือการประเมิน หน่วยสมรรถนะย่อย 05222 นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งทรัพย์สินมีค่าที่ปรับปรุงแล้ว



1. แบบทดสอบข้อสอบข้อเขียน



2. แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ