หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การวางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-4-056ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การวางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ที่มีทักษะทางเทคนิคในการปฎิบัติงาน มีทักษะทางความคิดและปฎิบัติงานที่หลากหลาย ครอบคลุมการปฎิบัติงาน หาข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
303061 กำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.1 กำหนดเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์เป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์และข้อกำหนดของลูกค้า 303061.01 1627
303061 กำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.2 กำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์และข้อกำหนดของลูกค้า 303061.02 1628
303061 กำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.3 วางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 303061.03 1629
303062 เลือกเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.1เลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพให้เหมาะสมกับจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 303062.01 1630
303062 เลือกเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.2เลือกเครื่องมือการวัดและวิเคราะห์ให้ถูกต้องกับการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 303062.02 1631
303062 เลือกเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.3เลือกวิธีการตรวจสอบและกำหนดสภาวะการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ 303062.03 1632
303062 เลือกเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.4กำหนดแผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 303062.04 1633
303062 เลือกเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 1.5กำหนดวิธีการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ 303062.05 1634

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์หรือหลังพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ปริญญาตรี ทางด้านการพิมพ์ขึ้นไปและผ่านการทำงานมาแล้ว 1 ปี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1.  จัดทำเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือตามที่โรงพิมพ์กำหนด

  2. กำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้สอดคล้องกับเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพที่กำหนดขึ้น

  3. จำทำแผนตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้ครอบคลุมกับจุดตรวจสอบที่กำหนดขึ้น

  4. เลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพได้ตรงตามจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  5. เลือกเครื่องมือวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ได้ถูกต้องกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  6. เลือกวิธีการตรวจสอบและสภาวะการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้ถูกต้องกับข้อกำหนดที่กำหนดขึ้น

  7. ทำแผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  8. เขียนรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ข้อกำหนดหรือมาตรฐานต่างๆ ทางการพิมพ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์

  2. การควบคุมคุณภาพ

  3. การบริหารงานคุณภาพ

  4. เครื่องมือหรือแบบทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ

  5. สมบัติต่างๆ ของวัสดุทางการพิมพ์

  6. วิธีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ

  7. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

  8. เทคนิคการเขียนรายงานและการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ความถูกต้องของเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  2. จุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์สัมพันธ์กับเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพ

  3. แผนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ที่ครอบคลุมจุดตรวจสอบทุกจุด

  4. การเลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบให้สอดคล้องกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  5. การเลือกเครื่องมือวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ให้สอดคล้องกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  6. การเลือกวิธีการตรวจสอบและการกำหนดสภาวะการทดสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานต่างๆ

  7. แผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  8. รายงานและวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. วิธีการกำหนดเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  2. แนวทางการกำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  3. วิธีการจัดทำแผนตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  4. วิธีการเลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  5. วิธีการเลือกเครื่องมือวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์

  6. วิธีการเลือกวิธีการตรวจสอบและกำหนดสภาวะการทดสอบ

  7. การจัดทำแผนการสุ่มตัวอย่าง

  8. การเขียนรายงานและวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. หลักฐานการปฎิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียม การดำเนินการ และการเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  2. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ หลักการเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ และเทคนิคการเขียนรายงาน



(ง) วิธีการประเมิน



       N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. การกำหนดเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า หรือคุณภาพที่เป็นไปตามที่โรงพิมพ์กำหนด ครอบคลุมวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

  2. การกำหนดจุดตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ การกำหนดปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพที่ต้องการ

  3. ทำแผนตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ กำหนดแผนการตรวจสอบคุณภาพตามจุดตรวจสอบต่างๆ ข้อกำหนดในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  4. เครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพ ได้แก่ แบบทดสอบ (test form) และแถบควบคุมคุณภาพ (control strip)

  5. เครื่องมือการวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ เครื่องวัดความดำ เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมิเตอร์ กล้องส่องเม็ดสกรีน และเครื่องมือวัดค่าต่างๆ ที่ใช้ทางการพิมพ์

  6. วิธีการตรวจสอบและสภาวะการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์ หรือข้อกำหนดการทดสอบตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมการทดสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และมาตรฐานสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

  7. แผนการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การกำหนดจุดสุ่มตัวอย่าง ความถี่ในการสุ่มตัวอย่าง ขนาดของตัวอย่าง

  8. วิธีการรายงานผล ได้แก่ การส่งข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการอ่านผลข้อมูลการทดสอบ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ผลจาการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน/สาธิต กระบวนการปรับตั้งส่วนต่างๆ



18.2 หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ผลการตอบปากเปล่าจาการสัมภาษณ์ และหรือผลการตอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



ยินดีต้อนรับ