หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการสอนหรือฝึกอบรมตามหัวข้อต่อขนตาที่กำหนดสำหรับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-YACW-329B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการสอนหรือฝึกอบรมตามหัวข้อต่อขนตาที่กำหนดสำหรับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2359 ผูประกอบวิชาชีพด้านการสอน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการดำเนินการสอนต่อขนตา โดยการสอนวงจรชีวิตของขนตาระยะชั้นเริ่มต้น ระยะขั้นเปลี่ยนแปลง และระยะหยุดการเติบโต  สอนการวิเคราะห์ส่วนประกอบของขนตา สอนการต่อขนตาประกอบด้วยการสอนการวิเคราะห์รูปหน้า วงจรขนตาวิเคราะห์ วิเคราะห์รูปทรงตา สอนชนิดของขนตาประเภทต่างๆ และความเหมาะสมกับบุคลิกภาพ สอนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การต่อขนตาในการทำงาน สอนการดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและยาวนาน  สอนการจัดเตรียมอุปกรณ์การต่อขนตาแบบต่าง ๆ เพื่อการต่อขนตาอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามมาตรฐานสากล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนเสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2140701

สอนวิธีการต่อขนตาที่ถูกต้องเป็นไปตามสุขอนามัย

1. สอนรายละเอียดในการวิเคราะห์สุขภาพของผู้รับบริการ วงจรขนตา ส่วนประกอบของขนตา  

2140701.01 217094
2140701

สอนวิธีการต่อขนตาที่ถูกต้องเป็นไปตามสุขอนามัย

2. วิเคราะห์รูปหน้า วิเคราะห์โครงหน้า วิเคราะห์รูปทรงตา และวิเคราะห์สุขภาพร่างกายของผู้รับบริการ    

2140701.02 217095
2140702

สอนเทคนิคที่จำเป็นในการต่อขนตา

1. ซักถามความเข้าใจของผู้เรียนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียน 

2140702.01 217096
2140702

สอนเทคนิคที่จำเป็นในการต่อขนตา

2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามข้อข้องใจหรืออันตรายที่เกิดจากการต่อขนตา 

2140702.02 217097

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะทักษะการสอน การถ่ายทอด เทคนิคการสอน

  2. ทักษะการทำความเข้าใจผู้เรียน

  3. ทักษะในการใช้อุปกรณ์การต่อขนตา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับบทเรียนในการวิเคราะห์สุขภาพร่างกายของผู้รับบริการ  โดยการวิเคราะห์รูปหน้า   วิเคราะห์สภาพผิว วิเคราะห์บุคลิกภาพเพื่อทำการออกแบบขนตาที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า



2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และชนิดของขนตา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1.  เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



     2. แฟ้มสะสมผลงาน



     3. เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1.  เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



     2. แฟ้มสะสมผลงาน



     3. เอกสารประเมินผลการสังเกตการปฏิบัติงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



ประเมินความรู้และทักษะโดย การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติงาน และ แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

สอนหรืออบรมการต่อขนตาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบด้วย สอนการวิเคราะห์รูปหน้า วิเคราะห์รูปทรงคิ้ว รูปทรงตา ขนตา การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ กาวต่อขนตาในการทำงาน การดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและยาวนาน    



(ก) คำแนะนำ



ผู้รับการประเมินสามารถทำการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการต่อขนตา เข้าใจการวิเคราะห์สุขภาพร่างกายของผู้รับบริการ เช่น ศัลยกรรมตา ตากุ้งยิง ขนตาขึ้นผิดที่ ไฝหรือติ่งเนื้อบริเวณดวงตา ผิวแพ้ง่าย โรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับตา สามารถสอนการจัดเตรียมอุปกรณ์การต่อขนตาแบบต่าง ๆ เพื่อการต่อขนตาอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามมาตรฐานสากล สอนทักษะการต่อขนตาด้วยความชำนาญ และคำนึงถึงความสะอาด สอนการปรับแต่งทรงขนตาให้มีความสวยงามเหมาะสมกับใบหน้าและบุคลิกภาพของผู้รับบริการ สอนวิธีการให้คำแนะนำในการบำรุงรักษาเส้นขนตาที่ต่อแล้วตามหลักความปลอดภัยและสุขอนามัย



 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การสอนการต่อขนตา




  • การฝึกอบรมหัวข้อการวิเคราะห์สุขภาพร่างกายของผู้รับบริการ เช่น ศัลยกรรมตา ตากุ้งยิง ขนตาขึ้นผิดที่ ไฝหรือติ่งเนื้อบริเวณดวงตา ผิวแพ้ง่าย โรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับตา ทำเลสิคมาแล้วเกินกว่า 3 เดือนจึงจะต่อขนตาได้

  • การสอนให้รู้จักวงจรชีวิตของขนตาระยะชั้นเริ่มต้น ระยะขั้นเปลี่ยนแปลง และระยะหยุดการเติบโต

  • สอนการวิเคราะห์ส่วนประกอบของขนตา ได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้ำ เมลานิน

  • สอนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การต่อขนตา ในการทำงาน สอนการดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและมีอายุยาวนาน

  • สอนชนิดของขนตาประเภทต่าง ๆ และความเหมาะสมกับบุคลิกภาพ

  • สอนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การต่อขนตาในการทำงาน

  • สอนการดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและมีอายุยาวนาน

  • สอนการจัดเตรียมอุปกรณ์การต่อขนตาแบบต่าง ๆ เพื่อการต่อขนตาอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามมาตรฐานสากล ซึ่งอุปกรณ์การต่อขนตาได้แก่ โฟมทำความสะอาดขนตา เส้นขนตาที่เหมาะสม ทวิสเซอร์ หรือคีมหนีบขนตา และคีมแหวกขนตา แผ่นปิดใต้ตา แปรงปัดขนตา ผลิตภัณฑ์ต่อขนตา ครีมถอดขนตาในกรณีที่มีขนตาเก่าอยู่ พัดลมเป่าขนตา หน้ากากอนามัย เทปดึงหนังตา

  • สอนประเภทของขนตา ได้แก่ ประเภทขนไหม มีลักษณะดำเงา ประเภทขนมิ้ง มีลักษณะเสมือนขนตาจริง โดยสีของขนตาได้แก่สีดำ หรือสีอื่น ๆ

  • สอนการควบคุมอุณหภูมิความชื้นภายในห้อง ควรเป็นสถานที่มิดชิด ปลอดเชื้อโรค อุณหภูมิประมาณ 24-28 องศาเซลเชียส ความชื้นสัมพัทธ์ 40-70 เปอร์เซ็นต์

  • สอนการเก็บรักษากาวต่อขนตา และขนตา จะต้องใส่กล่องปิดสนิท กันความชื้น ใช้กาวที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย ตามหลักมาตรฐานสากลและหลักการสุขอนามัยและความปลอดภัย

  • สอนการถอดขนตาเก่าที่เคยต่อมาก่อน โดยการเตรียมขั้นตอนและอุปกรณ์เช่นเดียวกับการต่อขนตาใหม่ การใช้ผลิตภัณฑ์เจลในการต่อขนตาเพื่อถอดขนตาเก่าออก เตรียมขนตาใหม่ให้พร้อมสำหรับการต่อครั้งใหม่

  • สอนการต่อขนตา



      • การต่อขนตาประเภทเส้นต่อเส้น (Single) ความหนาของเส้นขนตา 0.10, 0.12,0.15,0.18,0.20 มิลลิเมตร

      • การต่อขนตาประเภทวอลลุ่ม (Volume) ความหนาของเส้นขนตา 0.10,0.07,0.05,0.03 มิลลิเมตร

      • ความงอนของขนตา (Type of Curls) มีความงอนแตกต่างกันไปเรียงลำดับน้อยไปหามากดังนี้ I, J, B, C, L, LC, LD, M






16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        18.1 เครื่องมือประเมิน (สอนวิธีการต่อขนตาที่ถูกต้องเป็นไปตามสุขอนามัย)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



          18.2 เครื่องมือประเมิน (สอนเทคนิคที่จำเป็นในการต่อขนตา)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



                    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ