หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วัดผลและประเมินผลการฝึกอบรมทำผมสตรี

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-GQVE-314B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วัดผลและประเมินผลการฝึกอบรมทำผมสตรี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2359 ผูประกอบวิชาชีพด้านการสอน


1 2359 ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการประเมินผลการฝึกอบรม การวิเคราะห์ผลการฝึกอบรมเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการฝึกอบรมทำผมสตรี การออกแบบทรงผม การตัด ซอย เซ็ต ไดร์เพื่อจัดทรง การม้วนเพื่อดัด ม้วนเพื่อเซ็ต การเกล้าผม การทำสีผม การปิดผมขาว และการทำทรีทเม้นท์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนเสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.  ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 – 2561 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2120801

กำหนดเกณฑ์ เครื่องมือ ในการวัดผลและประเมินผลการฝึกอบรมทำผมสตรี

1.กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล โดยระบุระยะเวลาเรียน อัตราส่วนระหว่างภาคทฤษฎี : ปฏิบัติการ และเกณฑ์การตัดสิน

2120801.01 217032
2120801

กำหนดเกณฑ์ เครื่องมือ ในการวัดผลและประเมินผลการฝึกอบรมทำผมสตรี

2.ออกแบบ กำหนดเครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดผลและประเมินผลการฝึกอบรมทำผมสตรี

2120801.02 217033
2120802

วัดผลประเมินผล และวิเคราะห์ผลการฝึกอบรมเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการฝึกอบรมทำผมสตรี

1.วัดและประเมินผลในแต่ละรายวิชาโดยใช้เครื่องมือและเกณฑ์การวัดผลที่กำหนด

2120802.01 217034
2120802

วัดผลประเมินผล และวิเคราะห์ผลการฝึกอบรมเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการฝึกอบรมทำผมสตรี

2.วิเคราะห์ผลการฝึกอบรม เพื่อประเมินความสามารถของผู้สอนและนำมาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการฝึกอบรมทำผมสตรี   

2120802.02 217035

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะและความรู้เกี่ยวกับการออกแบบทรงผมพื้นฐาน ทรงผมแฟชั่น การสระผม ไดร์ผม เซ็ทผม ม้วนผม เกล้าผม ดัดผม ยืดผม ทำสีผม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการวิเคราะห์และประเมินผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ในการวิเคราะห์และประเมินผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1.  เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



     2. แฟ้มสะสมผลงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1.  เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



     2. แฟ้มสะสมผลงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



ประเมินความรู้และทักษะด้วยการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

วิเคราะห์และประเมินผลการฝึกอบรมตามหัวข้อที่กำหนด และประเมินผลการฝึกอบรมผู้สอน



(ก) คำแนะนำ



ผู้รับการประเมินสามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่องจากการเรียนรู้ในการฝึกอบรม โดยใช้แบบประเมินผู้สอน ประเมินโดยการให้คะแนน โดยผลการเรียนรู้เฉลี่ยเป็นคะแนน สามารถประเมินผู้สอน ประเมินหลักสูตร ประเมินสถานที่แต่ละหน่วย



 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



…………………………………………….N/A……………………………………………………………



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        18.1 เครื่องมือประเมิน (กำหนดวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมกับหัวข้อการฝึกอบรมทำผมสตรี)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



          18.2 เครื่องมือประเมิน (วิเคราะห์ผลการฝึกอบรมเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาการฝึกอบรมทำผมสตรี)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ