หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดรายละเอียดหลักสูตรการอบรมทำผมบุรุษ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-XFVN-300B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดรายละเอียดหลักสูตรการอบรมทำผมบุรุษ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2359 ผูประกอบวิชาชีพด้านการสอน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการจัดทำแผนการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและระยะเวลาการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ วิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการสอนหรือการฝึกอบรม การกำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้สำเร็จหลักสูตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนเสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2110301

กำหนดระยะเวลาเรียนและจัดทำแผนการฝึกอบรม

1 พิจารณาระยะเวลาที่ใช้ฝึกอบรมให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของผู้เรียน หลักสูตรครบถ้วน ทันสมัยตามสถานการณ์  

2110301.01 216964
2110301

กำหนดระยะเวลาเรียนและจัดทำแผนการฝึกอบรม

2 จัดทำแผนการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและระยะเวลาการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ วิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการสอนหรือการฝึกอบรม 

2110301.02 216965
2110302

กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้สำเร็จหลักสูตร

1 กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่สำเร็จหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาของการฝึกอบรบ

2110302.01 216966
2110302

กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้สำเร็จหลักสูตร

2 กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์สำหรับการผู้รับการฝึกอบรมที่สำเร็จหลักสูตรที่มีความทันสมัย ตรงต่อความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 

2110302.02 216967

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการถ่ายทอด การสอน

  2. ทักษะการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน

  3. ทักษะการทำความเข้าใจผู้เรียน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม



2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบทรงผมบุรุษ ทรงผมแฟชั่น และทำสีผม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1.  เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



     2. แฟ้มสะสมผลงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1.  เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



     2. แฟ้มสะสมผลงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



ประเมินความรู้และทักษะด้วยการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

กำหนดระยะเวลาเรียนและจัดทำแผนการฝึกอบรม และกำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้สำเร็จหลักสูตร



(ก) คำแนะนำ



ผู้รับการประเมินควรมีความรู้ในการพิจารณาระยะเวลาที่ใช้ฝึกอบรมให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของผู้เรียน หลักสูตรครบถ้วน ทันสมัยตามสถานการณ์ สามารถจัดทำแผนการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและระยะเวลาการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ วิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการสอนหรือการฝึกอบรม สามารถกำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่สำเร็จหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาของการฝึกอบรบ และมีความทันสมัย ตรงต่อความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การกำหนดรายละเอียดหลักสูตรออกแบบทรง ผมพื้นฐาน ทรงผมยอดนิยม ทรงผมแฟชั่น




  1. กำหนดวัตถุประสงค์ และขอบเขตของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตรให้ตรงกับสายอาชีพที่ต้องการ การสอนและการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  2. จัดหัวข้อการฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเรียนรู้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ดังนี้

    1. การวางแผนงานด้านการบริการ

    2. การทำสีผมระดับมืออาชีพเฉพาะทาง ได้แก่ การทำไฮไลท์ การฟอกสีผม การกัดสีผม การทำสีผม ต่างระดับหลายมิติในเวลาเดียวกัน การกำหนดสีผมให้เหมาะกับสีผิว การแก้ไขปัญหาสีที่เข้มเกินไปให้อ่อนลง การแก้ไขสีที่อ่อนมากให้กลับคืนธรรมชาติ หรือสีแฟชั่นที่ต้องการปกปิดผมขาว การเติมสีเฉพาะส่วนโคนผมที่งอกขึ้นมาใหม่ เทคนิคการหักล้างสีที่ไม่ต้องการ ออกแบบการทำไฮไลท์ โลว์ไลท์ เทคนิคต่างๆ เพื่อให้เหมาะกับสีผิว และสอดคล้องกับแบบทรงผมที่ต้องการ การเปลี่ยนแปลงจากทรงผมแบบต่าง ๆ ผมสั้น ผมยาว ผมซอยไล่ ทั้งสั้นและยาว รวมไปถึงทรงผมที่ตัดในยุคนี้คือทรงผมต่างระดับ



  3. การแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กลับไปดูแลต่อเนื่องถึงการบริการครั้งต่อไป



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (แสวงหาความรู้ที่ทันสมัยเพื่อจัดเตรียมหลักสูตรการอบรมทำผมบุรุษ)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



          18.2 เครื่องมือประเมิน (จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมทำผมบุรุษ)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



 



ยินดีต้อนรับ