หน่วยสมรรถนะ
จัดทำหลักสูตรรายวิชาการอบรมทำผมบุรุษ
สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HDS-UDOK-299B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดทำหลักสูตรรายวิชาการอบรมทำผมบุรุษ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 2359 ผูประกอบวิชาชีพด้านการสอน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการแสวงหา รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการจัดทำหลักสูตรและรายวิชา วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมเพื่อจัดรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรม จัดทำรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมการทำผมบุรุษให้เป็นไปตามหลักสูตร สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นไปตามหลักสุขอนามัยของมาตรฐานสากลและตามระเบียบ ข้อกำหนด กฎหมายและหลักจรรยาบรรณในวิชาชีพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้สอนเสริมสวย |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
2110201 รวบรวมองค์ความรู้เพื่อใช้ในการฝึกอบรมการทำผมบุรุษ |
1. แสวงหา
รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการจัดทำหลักสูตรและรายวิชา |
2110201.01 | 216960 |
2110201 รวบรวมองค์ความรู้เพื่อใช้ในการฝึกอบรมการทำผมบุรุษ |
2. เลือกและเรียงลำดับองค์ความรู้
สื่อและเอกสารที่ใช้ ให้มีความเชื่อมโยง ต่อเนื่อง (Continuity) มีการจัดช่วงลำดับ (Sequence)
และบูรณาการ (Integration)
กับองค์ประกอบหลักของหลักสูตร |
2110201.02 | 216961 |
2110202 จัดรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมทำผมบุรุษ |
1.
จัดทำรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมการทำผมบุรุษให้เป็นไปตามหลักสูตร
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
เป็นไปตามหลักสุขอนามัยของมาตรฐานสากลและตามระเบียบ ข้อกำหนด
กฎหมายและหลักจรรยาบรรณในวิชาชีพ |
2110202.01 | 216962 |
2110202 จัดรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมทำผมบุรุษ |
2.
จัดทำคำอธิบายรายวิชาหัวข้อการฝึกอบรมการทำผมบุรุษ
ได้อย่างครบถ้วนเข้าใจง่าย ครอบคลุมเนื้อหาในรายวิชาและหัวข้อการเรียนการสอน |
2110202.02 | 216963 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม 2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบทรงผมบุรุษ ทรงผมแฟชั่น และทำสีผม |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. แฟ้มสะสมผลงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. แฟ้มสะสมผลงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน ประเมินความรู้และทักษะด้วยการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
รวบรวมองค์ความรู้เพื่อใช้ในการฝึกอบรมการทำผมบุรุษ จัดรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมทำผมบุรุษและคำอธิบายรายวิชา (ก) คำแนะนำ ผู้รับการประเมินสามารถวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรมเพื่อกำหนดความรู้การอบรมให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับผิดชอบให้ทันสมัย สามารถพิจารณารายวิชาที่สอนหรือฝึกอบรมที่ทันสมัยตามสถานการณ์ให้ครบถ้วนถูกต้องเหมาะสมกับผู้เรียน สามารถจัดรายวิชาเพื่อจัดทำเป็นหลักสูตร การฝึกอบรมให้เป็นไปมาตรฐานสากลหลักสุขอนามัยและตามข้อกำหนดของกฎหมาย จัดรายวิชาให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องของหัวข้อที่ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ มีความทันสมัย เป็นไปตามหลักสากลและปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ผู้รับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อ สุขอนามัยและความปลอดภัย สามารถจัดรายวิชาให้ได้เนื้อหารายละเอียดตามหัวข้อการฝึกอบรมออกแบบทรงผมบุรุษ ทรงผมแฟชั่น ทำสีผม การตัด ซอย สระไดร์ เซ็ทผมบุรุษ ด้วยกรรไกร หรือปัตตาเลี่ยน ทำสีผม ปิดผมขาว ทำเคมีผมบุรุษเพื่อจัดเตรียมหลักสูตรรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมที่เป็นไปตามข้อกำหนด กฎ ระเบียบของทางราชการ และหลักจรรยาบรรณในอาชีพ จัดให้มีรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมที่ถูกต้องตามสุขอนามัยมาตรฐานสากล (ข) คำอธิบายรายละเอียด …………………………………………….N/A…………………………………………………………… |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน (รวบรวมองค์ความรู้เพื่อใช้ในการฝึกอบรมการทำผมบุรุษ) 1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 2) แฟ้มสะสมผลงาน
18.2 เครื่องมือประเมิน (จัดรายวิชาหรือหัวข้อการฝึกอบรมทำผมบุรุษ) 1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 2) แฟ้มสะสมผลงาน |