หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แสดงกระบวนท่ารบโขนลิง

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-BNWF-442B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แสดงกระบวนท่ารบโขนลิง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 2655 นักแสดงโขน/ละครใน/ละครนอก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการรำกระบวนท่ารบโขนลิงโดยสามารถอธิบายและปฏิบัตินาฏยศัพท์ในการรำกระบวนท่ารบโขนลิง เช่น จับ 1 จับ 2 (สามทีไขว้) จับ 3 (หกกัด) จับ 4 (ท่าตาย) ลอย 1 ลอย 2 ลอยสูง 1 ลอยสูง 2 ท้ารบ เงื้อพระขรรค์ ขยับพระขรรค์ ขู่ เหม่ ย่างสามขุม เป็นต้น และแสดงการรำกระบวนท่ารบโขนลิงตามที่กำหนด เช่น ท่ารบตัวดี กระบวนท่าท้ารบ กระบวนท่าจับ 1-4 กระบวนท่าขึ้นลอย 1-2 ท่าตีพลาด เป็นต้น 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแสดงโขน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01431

อธิบายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนท่ารบโขนลิง 

1. อธิบายความหมายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการรำกระบวนท่ารบ โขนลิง

01431.01 216502
01431

อธิบายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนท่ารบโขนลิง 

2. อธิบายความหมายของ กระบวนท่ารบ โขนลิง

01431.02 216503
01432

รำกระบวนท่ารบโขนลิงตามที่กำหนด

1. ปฏิบัติกระบวนท่ารบโขนลิงที่กำหนด

01432.01 216504
01432

รำกระบวนท่ารบโขนลิงตามที่กำหนด

2. ปฏิบัติกระบวนท่ารบโขนลิง ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลอง และทำนองเพลง

01432.02 216505

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ปฏิบัติการรำกระบวนท่ารบโขนลิงได้ตรงตามจังหวะและหน้าทับ ตามที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้นาฏยศัพท์พื้นฐานในการปฏิบัติกระบวนท่ารำกระบวนท่ารบโขนลิง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ผลงานการแสดงที่นำเสนอผ่านภาพถ่าย VDO หรือสื่อ Social media ในรูปแบบต่าง ๆ

    2. เกียรติบัตร วุฒิบัตรเกี่ยวกับการแสดงโขน และ/หรือ  

    3.  เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1.  ใบผ่านการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการแสดงโขน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับความรู้และทักษะการรำกระบวนท่ารบโขนลิง 

(ง) วิธีการประเมิน

    1. สาธิตการปฏิบัติงาน

    2. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินจะรู้นาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสัมพันธ์กับกราวรำตรวจพล ที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 5 คำ เช่น จับ 1 จับ 2 (สามทีไขว้) จับ 3 (หกกัด) จับ 4 (ท่าตาย) ลอย 1 ลอย 2 ลอยสูง 1 ลอยสูง 2 ท้ารบ เงื้อพระขรรค์ ขยับพระขรรค์ ขู่ เหม่ ย่างสามขุม

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติกระบวนท่ารำกราวตรวจพลที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 2 กระบวนท่า เช่น ท่ารบตัวดี กระบวนท่าท้ารบ กระบวนท่าจับ 1-4 กระบวนท่าขึ้นลอย 1-2 ท่าตีพลาด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขอบเขตความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้ ของกระบวนท่ารบ ตลอดจนองค์ประกอบร่วมระหว่างปฏิบัติกระบวนท่ารบ ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมหรือให้ผู้แสดงด้วยกันทราบ ด้วยภาษาท่าทางตามรูปแบบนาฏศิลป์ไทย

    นาฏยศัพท์ หมายถึง คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบายการปฏิบัติท่ารำในการแสดงโขน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของกระบวนท่า ใช้สำหรับสื่อสารบทบาท และกิริยาของตัวละคร 

    กระบวนท่ารบ หมายถึง กระบวนท่าการสู้รบของตัวละคร ระหว่างฝ่ายพลับพลา กับฝ่ายลงกา ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงจะต้องมีทักษะและความชำนาญในการใช้อาวุธ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับกระบวนท่ารบของนักแสดงโขนพระ นักแสดงโขนยักษ์ และนักแสดงโขนลิง ในระหว่างการปฏิบัติการแสดงที่สามารถแสดงชั้นเชิงและลีลาประกอบได้อย่างถูกต้อง 

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

    1. องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ CB จะต้องเตรียมเครื่องเสียง และไฟล์เพลงที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ พระขรรค์ลิง ตรี เป็นต้น

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดเตรียมชุดแต่งกายสำหรับฝึกนาฎศิลป์ไทย (โจงกระเบน) ที่มีความสุภาพ 

กรณีการทดสอบหน่วยสมรรถนะ กระบวนท่ารบ ผู้เข้ารับประเมินจะต้องจัดเตรียมนักแสดงร่วมที่มีสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างปฏิบัติการทดสอบสมรรถนะดังกล่าว ได้แก่ นักแสดงโขนพระ นักแสดงโขนยักษ์ และนักแสดงโขนลิง พร้อมด้วยชุดแต่งกายสำหรับฝึกนาฎศิลป์ไทย (โจงกระเบน) ที่มีความสุภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าและให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ