หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจาโขนยักษ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-UQYR-434B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจาโขนยักษ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 2655 นักแสดงโขน/ละครใน/ละครนอก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการรำตีบทโขนยักษ์ ตามบทพากย์-เจรจา โดยสามารถอธิบายความหมายของบทพากย์-เจรจา และปฏิบัติการรำใช้บทได้ ตลอดจนองค์ประกอบของการรำตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจา ตามที่กำหนด เช่น บทพากย์รถ บทมโหทรจัดทัพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแสดงโขน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01341

อธิบายความหมายในการตีบทและใช้บทโขนยักษ์ที่เกี่ยวข้อง 

1. อธิบายความหมายบทประพันธ์ในการรำตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจาโขนยักษ์

01341.01 216478
01341

อธิบายความหมายในการตีบทและใช้บทโขนยักษ์ที่เกี่ยวข้อง 

2. อธิบายความหมายของภาษาท่า ที่เกี่ยวข้องในการรำตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจา โขนยักษ์

01341.02 216479
01342

รำตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจา โขนยักษ์ตามที่กำหนด 

1. รำตีบทและใช้บท ตามบทพากย์-เจรจา โขนยักษ์ เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่กำหนด

01342.01 216480
01342

รำตีบทและใช้บทตามบทพากย์-เจรจา โขนยักษ์ตามที่กำหนด 

2. รำตีบทและใช้บท ตามบทพากย์-เจรจา โขนยักษ์ ที่กำหนด ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลอง และท่วงทำนองของ การพากย์-เจรจา

01342.02 216481

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ปฏิบัติการรำตีบทและใช้บท ตามบทพากย์-เจรจา ได้ตามที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้ความหมายของบทและปฏิบัติกระบวนท่ากระบวนท่ารำตีบทโขนยักษ์ ตามบทพากย์-เจรจา 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ผลงานการแสดงที่นำเสนอผ่านภาพถ่าย VDO หรือสื่อ Social media ในรูปแบบต่าง ๆ

    2. เกียรติบัตร วุฒิบัตรเกี่ยวกับการแสดงโขน และ/หรือ  

    3.  เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1.  ใบผ่านการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการแสดงโขน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับการตีบทใช้บท ตามบทพากย์-เจรจา โขนยักษ์

(ง) วิธีการประเมิน

    1. สาธิตการปฏิบัติงาน

    2. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องรู้ความหมายของการตีบทและใช้บท  ความหมายของบทละครตามคำพากย์และเจรจาโขนยักษ์

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการรำตีบทและใช้บท ตามบทพากย์-เจรจา ได้ตามที่กำหนด ได้แก่  รำตีบทและใช้บท ตามบทพากย์-เจรจา ได้แก่ บทพากย์รถ บทมโหทรจัดทัพ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขอบเขตความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้ ของการตีบทและใช้บท ตามบทพากย์-เจรจาโขนยักษ์ ตลอดจนองคประกอบร่วมระหว่างปฏิบัติ การตีบทและใช้บท ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมหรือให้ผู้แสดงด้วยกันทราบ ด้วยภาษาท่าทางตามรูปแบบนาฏศิลป์ไทย

    ภาษาท่า หมายถึง ท่าทางที่ประดิษฐ์ขึ้นให้วิจิตรและสวยงาม เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด อิริยาบถ อาการ และอารมณ์ความรู้สึก โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกระบวนท่า “นาฏยศัพท์” เป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อการสื่อความหมายตามบทพากย์-เจรจา หรือบทขับร้อง หมายรวมถึงการรำทวนบท ประกอบเพลงดนตรีของนาฏกรรมการแสดง โดยสามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ

   1) เพื่อแสดงแทนคำพูด เช่น ขอ รับ ปฏิเสธ สั่ง เรียก ฯลฯ

   2) เพื่อแสดงอิริยาบถและกิริยาอาการ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ

   3) เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใน เช่น ยิ้ม รัก โกรธ ดีใจ เศร้าโศก เสียใจ รื่นเริง ฯลฯ

   การตีบทและใช้บท มักใช้ต่อเนื่องกันตามสถานการณ์ โดยในแต่ละคำมีความหมายคือ

    ตีบท หมายถึง การตีความบทประพันธ์ที่ใช้ประกอบการแสดงโขน เพื่อนำเสนอเรื่องราว อารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร สู่ความมุ่งหมายหลักในการถ่ายทอดเนื้อหาวรรณกรรม และสื่อสารความหมายตามบทพากย์-เจรจา และบทร้อง 

    ใช้บท หมายถึง การแสดงภาษาท่าทางนาฏศิลป์ประกอบอากัปกิริยาอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ถูกกำหนดไว้ในเนื้อเรื่อง ประกอบเพลงหน้าพาทย์ รวมถึงการรำทวนบทในเพลงร้องด้วย

    การตีบทและใช้บท คือ การตีความบทประพันธ์ที่ใช้ประกอบในการแสดงโขน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์และความรู้สึก และการเลือกใช้ท่ารำที่เหมาะสมตามบทบาท ฐานะ และลักษณะของตัวละคร 

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

   1. องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ CB จะต้องเตรียมเครื่องเสียง และไฟล์เพลงที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ กระบองยักษ์ ศร หอก พลอง เป็นต้น

   2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดเตรียมชุดแต่งกายสำหรับฝึกนาฎศิลป์ไทย (โจงกระเบน) ที่มีความสุภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าและให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้



ยินดีต้อนรับ