หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-RLJJ-431B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 2655 นักแสดงโขน/ละครใน/ละครนอก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ โดยสามารถอธิบายและปฏิบัตินาฏยศัพท์ในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ เช่น  เต้นฉะ เลาะเลาะ เก้ง เสือลากหาง ป้องหน้า ใช้ตัว ยักคอ ย้อนตัว เดินมือ กระโดดคว้า กระทืบสามเหลี่ยม เป็นต้น และแสดงการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ตามที่กำหนด เช่น เพลงเสมอมาร เพลงตระนิมิต เพลงตระบองกัน เพลงชำนาญ เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแสดงโขน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01311

อธิบายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ 

1. อธิบายความหมายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์

01311.01 216466
01311

อธิบายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ 

2. อธิบายความหมายของเพลงหน้าพาทย์ และโอกาสในการนำไปใช้

01311.02 216467
01312

รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ตามที่กำหนด 

1. ปฏิบัติกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ ที่กำหนด

01312.01 216468
01312

รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ตามที่กำหนด 

2. ปฏิบัติท่ารำเพลงหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนยักษ์ ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลองและทำนองเพลง

01312.02 216469

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ปฏิบัติกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์โขนยักษ์ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลองและทำนองเพลงได้ถูกต้องตาม ตามเพลงที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้นาฏยศัพท์พื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์ ในการแสดงโขน ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่สามารถสื่อความหมายในการแสดงต่าง ๆ ของวงการนาฏศิลป์ไทย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ผลงานการแสดงที่นำเสนอผ่านภาพถ่าย VDO หรือสื่อ Social media ในรูปแบบต่าง ๆ

    2. เกียรติบัตร วุฒิบัตรเกี่ยวกับการแสดงโขน และ/หรือ  

    3.  เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1.  ใบผ่านการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการแสดงโขน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับความรู้และทักษะการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนยักษ์

(ง) วิธีการประเมิน

    1. สาธิตการปฏิบัติงาน

    2. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินจะรู้นาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสัมพันธ์กับเพลงหน้าพาทย์ ที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 5 คำ เช่น เต้นฉะ เลาะเลาะ เก้ง เสือลากหาง ป้องหน้า ใช้ตัว ยักคอ ย้อนตัว เดินมือ กระโดดคว้า กระทืบสามเหลี่ยม ฯลฯ

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์ตามเพลงที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 3 เพลง เช่น เพลงเสมอมาร เพลงตระนิมิต เพลงตระบองกัน เพลงชำนาญ เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขอบเขตความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้ ของการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ ตลอดจนองค์ประกอบร่วมระหว่างปฏิบัติการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมหรือให้ผู้แสดงด้วยกันทราบ ด้วยภาษาท่าทางตามรูปแบบนาฏศิลป์ไทย

    นาฏยศัพท์ หมายถึง คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบายการปฏิบัติท่ารำในการแสดงโขน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของกระบวนท่า ใช้สำหรับสื่อสารบทบาท และกิริยาของตัวละคร 

    หน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยา อารมณ์ หรือการแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครในการแสดงโขน ซึ่งผู้แสดงจะต้องรำตามจังหวะ หน้าทับ และทำนองเพลงที่กำหนดไว้ 

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

    1. องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ CB จะต้องเตรียมเครื่องเสียง และไฟล์เพลงที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ อาวุธ ศรและกระบองยักษ์ เป็นต้น    

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดเตรียมชุดแต่งกายสำหรับฝึกนาฎศิลป์ไทย (โจงกระเบน) ที่มีความสุภาพ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าและให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้



ยินดีต้อนรับ