หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยให้มีเครือข่ายธุรกิจอย่างยั่งยืน

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-FTBI-289B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยให้มีเครือข่ายธุรกิจอย่างยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1211 ผู้จัดการด้านการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการและการพาณิชย์



ISCO 1221 ผู้จัดการด้านการขาย การตลาด และการพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยให้กว้างขวางออกไป หรือขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ หรือขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศเป็นธุรกิจข้ามชาติ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้บริหารธุรกิจเสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ มาตรการควบคุมการประกอบกิจการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย พ.ศ.2562 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3110801

ขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยอย่างยั่งยืน

1. มีความรู้ในการประยุกต์ใช้แผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อการขยายกิจการธุรกิจเสริมสวย 

3110801.01 216567
3110801

ขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยอย่างยั่งยืน

2. ขยายสาขากิจการธุรกิจเสริมสวยอย่างยั่งยืนอย่างน้อย 1 สาขาในประเทศเปิดดำเนินการต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 5 ปี

3110801.02 216568
3110802

วางแผนขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศ

1. มีความรู้ด้านกฎหมายข้อบังคับในการทำธุรกิจเสริมสวยในประเทศที่จะทำการขยายธุรกิจ

3110802.01 216569
3110802

วางแผนขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศ

2. มีความรู้ในวัฒนธรรมของประเทศที่จะทำการขยายธุรกิจ

3110802.02 216570
3110802

วางแผนขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศ

3. จัดทำแผนขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศ

3110802.03 216571

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะทางการบริหารงานสาขาธุรกิจ

  2. ทักษะการวางแผน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการขยายกิจการธุรกิจเสริมสวย



2. ความรู้ด้านกฎหมายข้อบังคับในการทำธุรกิจเสริมสวยในประเทศที่จะทำการขยายธุรกิจ



3. ความรู้ในวัฒนธรรมของประเทศที่จะทำการขยายธุรกิจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



2. แฟ้มสะสมผลงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



2. แฟ้มสะสมผลงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




  • วิธีการประเมิน



ประเมินความรู้และทักษะด้วยการสัมภาษณ์ และแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขยายสาขากิจการธุรกิจเสริมสวย และวางแผนขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศ




  • คำแนะนำ



ผู้รับการประเมินสามารถขยายธุรกิจเสริมสวย หรือสร้างระบบแฟรนไชส์ของธุรกิจเสริมสวยอย่างยั่งยืน และมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์  




  • คำอธิบายรายละเอียด



การให้สัมปทาน (Franchising)



การที่บริษัทแม่ (Franchisor) ให้สิทธิแก่อีกบริษัทหนึ่ง (franchisee) ในการดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยมักมีการเก็บค่าธรรมเนียม (franchise fee) เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และ ค่าธรรมเนียมอื่น เป็นต้น รูปแบบของสิทธิที่มอบให้ ได้แก่ สิทธิในการจำหน่ายสินค้า สิทธิในการใช้ชื่อสินค้าและการผลิต เทคนิคการตลาด เป็นต้น



ปัจจัยสำคัญในการทำสัมปทาน




  • เจ้าของสัมปทานมีบทบาทในการทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์ วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ และวิธีการบริหารจัดการ

  • ผู้รับสัมปทาน ต้องได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติและเงินทุน เช่น ปั้มน้ำมันก็ต้องมีที่ดินทำเลดี

  • Master franchise ตัวแทนเจ้าของสัมปทานในแต่ละประเทศ ประสานงานและจัดหาผู้รับสัมปทาน

  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (franchise fee) ถูกกำหนดเป็นจำนวนเงินคงที่   ค่าธรรมเนียม (royalty fee) ต้องจ่ายแปรผันตามยอดขายในงบการเงิน





ข้อดีการให้สัมปทาน (Franchising)



การให้สิทธิ์และระบบแฟรนไชส์ เป็นโอกาสให้กิจการเข้าสู่ตลาดโลกโดยใช้เงินลงทุนต่ำ เพราะไม่ต้องตั้งสาขา หรือ จ้างพนักงานไปทำงานในต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และการกีดกันทางการค้า



การร่วมทุนระหว่างประเทศ (International Joint Venture)



เป็นการร่วมลงทุนระหว่างกิจการตั้งแต่ 2 กิจการเป็นต้นไป โดยฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจจากต่างชาติ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิธีการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมาก โดยเป็นการแบ่งการถือหุ้น 50/50



ข้อดี




  • หลีกเลี่ยงข้อจำกัดจากการห้ามต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด ต้องหาผู้ร่วมทุนท้องถิ่น

  • เลี่ยงปัญหาเรื่องชาตินิยม

  • เกิดการแลกเปลี่ยนโดย ธุรกิจต่างชาติถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ให้แก่ท้องถิ่น และท้องถิ่นให้ช่องทางการตลาดและจำหน่ายในท้องถิ่น



ข้อเสีย




  • เป็นการสร้างคู่แข่งขันจากการได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี Know how

  • ฝ่ายบริหารไม่มีเอกภาพในการตัดสินใจ

  • อาจเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างหุ้นส่วนกัน เนื่องจากการดำเนินกลยุทธ์และเป้าหมายที่ต่างกัน





 



พันธมิตรธุรกิจ (Strategic alliances)



เป็นการร่วมกันระหว่าง 2 บริษัท หรือ มากกว่า เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดหนึ่งเหมาะกับอุตสาหกรรมใหญ่ ที่มีต้นทุนการผลิตสูง และการแข่งขันรุนแรงได้แก่ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เช่น Japan’s Sharp & Sanyo Electric เป็นพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลกในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า และร่วมมือกันทำวิจัย พัฒนา ผลิตตู้เย็น ไมโครเวฟ และเครื่องซักผ้า ทำให้กิจการเติบโตมากในประเทศจีน และเอเชีย



 



บทบาททางด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ



วัฒนธรรม  คือ รูปแบบหรือวิถีทางในการดำรงชีวิตของประชาชนในแต่ละสังคม วัฒนธรรมมิใช่เพียงขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นนามธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งของต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย



มิติของวัฒนธรรม  (Cultural Dimension) 



1.  ความแตกต่างในเรื่องของอำนาจ                      



     (Power  Distance)



2.  ความแตกต่างในเรื่องของการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง



     (Uncertainty  Avoidance)



3.  ความแตกต่างในเรื่องของความเป็นส่วนตัว



     (Individualism &  Collectivism)



4.  ความแตกต่างในเรื่องของการแบ่งชาย/หญิง



     (Masculinity  &  Femininity)



ความแตกต่างในเรื่องของอำนาจ  (Power  Distance)




  • ความแตกต่างทางอำนาจสูง (High Power Distance)



      รูปแบบวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความมีอำนาจ  ความยิ่งใหญ่  และความเป็นเจ้าคนนายคน เช่น ละตินอเมริกัน อินโดนีเซีย




  • ความแตกต่างทางอำนาจต่ำ (Low Power Distance)



      เป็นรูปแบบของวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับอำนาจต่ำมาก  ทำให้ผู้มีอำนาจไม่สามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ในการสร้างอิทธิพลได้ เช่น USA Canada ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป



ความแตกต่างในเรื่องของการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Uncertainty  Avoidance)




  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงมาก (High Uncertainty Avoidance)



         เป็นรูปแบบของวัฒนธรรม ที่ชื่นชอบความชัดเจนแน่นอน   โดยจะพยายามหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ นิยมทำงานเป็นทีม เช่น ญี่ปุ่น ตุรกี




  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงน้อย (Low Uncertainty Avoidance)



         พนักงานจะมุ่งที่ความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เนื่องจากบุคคลที่มีวัฒนธรรมแบบนี้จะชอบความท้าทาย  ยอมรับกับความไม่แน่นอนสูง พวกชื่นชอบความเสี่ยง(Risk Taking) เช่น คนเนเธอร์แลนด์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา



ความแตกต่างในเรื่องของความเป็นส่วนตัว (Individualism &  Collectivism)




  • การคำนึงถึงตนเอง (Individualism)



          รูปแบบที่มีการแสดงออกของอิสระทางความคิด  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีลักษณะที่อาศัยความสามารถของตัวเอง เช่น สังคมเยอรมัน นิวซีแลนด์และอเมริกา




  •  การคำนึงถึงสังคม (Collectivism)



          รูปแบบวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มและต้องการการยอมรับจากสังคมรอบข้าง  คำนึงถึงความรู้สึกของบุคคลอื่นมากกว่าที่จะคำนึงถึงกฎหมาย เช่น ปานามา เกาหลี ปากีสถาน และไทย



ความแตกต่างในเรื่องของการแบ่งชาย/หญิง  (Masculinity  &  Femininity)




  • สังคมที่มีความเสมอภาคสูง (Femininity)



          รูปแบบของวัฒนธรรมที่มีความเสมอภาคระหว่างเพศชายและหญิงสูง ทำให้เพศชายและหญิงมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน เช่น USA




  •  สังคมที่มีความเสมอภาคต่ำ  (Masculinity)



        บทบาททางสังคมระหว่างเพศชายและหญิงนั้นไม่เท่าเทียมกัน ผู้ชายจะมีบทบาทที่เหนือกว่าเพศหญิง เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        18.1 เครื่องมือประเมิน (ขยายกิจการธุรกิจเสริมสวย)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



          18.2 เครื่องมือประเมิน (วางแผนขยายกิจการธุรกิจเสริมสวยไปยังต่างประเทศ)



1) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



2) แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ