หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รำเดี่ยวและรำคู่โขนพระ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-MBGQ-423B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รำเดี่ยวและรำคู่โขนพระ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 2655 นักแสดงโขน/ละครใน/ละครนอก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย ความรู้และทักษะในการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ โดยสามารถอธิบายและปฏิบัตินาฏยศัพท์ในการรำ เช่น ลงวง กาจับปากโรง เล่นแมลง ตลอดจนองค์ประกอบของการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ และปฏิบัติกระบวนท่าในการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ตามที่กำหนด เช่น รำเดี่ยว ชุด ฉุยฉายอินทรชิตแปลง หรือรำคู่ ชุด พระรามตามกวาง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแสดงโขน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01161

อธิบายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ 

1. อธิบายความหมายนาฏยศัพท์ ที่เกี่ยวข้องในการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ

01161.01 216434
01161

อธิบายนาฏยศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ 

2. อธิบายความหมายของการรำเดี่ยว รำคู่ และโอกาสในการนำไปใช้ 

01161.02 216435
01162

ปฏิบัติกระบวนท่ารำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ตามที่กำหนด

1. ปฏิบัติกระบวนท่ารำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ที่กำหนด

01162.01 216436
01162

ปฏิบัติกระบวนท่ารำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ตามที่กำหนด

2. ปฏิบัติกระบวนท่ารำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ตรงตามจังหวะ บทร้อง และทำนองเพลง ที่กำหนด

01162.02 216437

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ปฏิบัติการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ได้ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลองและทำนองเพลงที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้นาฏยศัพท์พื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดงโขน ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่สามารถสื่อความหมายในการแสดงต่าง ๆ ของวงการนาฏศิลป์ไทย 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ผลงานการแสดงที่นำเสนอผ่านภาพถ่าย VDO หรือสื่อ Social media ในรูปแบบต่าง ๆ

    2. เกียรติบัตร วุฒิบัตรเกี่ยวกับการแสดงโขน และ/หรือ  

    3.  เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1.  ใบผ่านการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการแสดงโขน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับการรำเดี่ยวและรำคู่โขนพระ

(ง) วิธีการประเมิน

    1. สาธิตการปฏิบัติงาน

    2. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินจะรู้นาฎศัพท์ ที่เกี่ยวข้องของการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 5 คำ เช่น ลงวง เกาคาง กาจับปากโรง เล่นแมลง จับแมลง หย่อง ฯลฯ

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติกระบวนท่าของการรำเดี่ยวและรำคู่ โขนพระ ได้ตามเพลงที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 1 เพลง ได้แก่ การรำเดี่ยว ชุด ฉุยฉายอินทรชิตแปลง ฉุยฉายมานพ และการรำคู่ ชุด พระรามตามกวาง 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขอบเขตความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้ ของการรำเดี่ยวและรำคู่ ตลอดจนองค์ประกอบของการตีบทใช้บทประกอบเพลงร้อง ตามรูปแบบของการสืบทอดกระบวนท่ารําประกอบบทขับร้องทำนองเพลงดนตรี ที่สอดแทรกอยู่ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออวดฝีมือการร่ายรำที่ประณีตงดงาม และสามารถแสดงบุคลิกเฉพาะของตัวละครในบทนั้น ๆ ด้วยทักษะในการรำที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี 

    นาฏยศัพท์ หมายถึง คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบายการปฏิบัติท่ารำในการแสดงโขน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของกระบวนท่า ใช้สำหรับสื่อสารบทบาท และกิริยาของตัวละคร 

    รำเดี่ยว หมายถึง รูปแบบของการแสดงที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว มีจุดมุ่งหมายเพื่ออวดฝีมือการร่ายรำที่ประณีตงดงาม ผู้แสดงจึงต้องมีทักษะในการรำและได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี 

    รำคู่ หมายถึง รูปแบบของการแสดงที่ใช้ผู้แสดง 2 คน ซึ่งถ่ายทอดบทบาทลีลา ท่ารำ ทักษะและความสามารถที่ต้องได้รับการฝึกฝนเทคนิคให้สัมพันธ์กันตามบทบาทและลักษณะของตัวละครเป็นสำคัญ

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

    1. องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ CB จะต้องเตรียมเครื่องเสียง และไฟล์เพลงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับประกอบการแสดง ได้แก่ อาวุธ ศร พระขรรค์ กระบอง ตรี คทา และจักร 

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดเตรียมชุดแต่งกายสำหรับฝึกนาฎศิลป์ไทย (โจงกระเบน) ที่มีความสุภาพ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าและให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ