หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนพระ

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-NHSV-418B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนพระ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO - 08 รหัสอาชีพ 2655 นักแสดงโขน/ละครใน/ละครนอก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย ความรู้และทักษะในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ โดยสามารถอธิบายและปฏิบัตินาฏยศัพท์ในการรำ เช่น ใช้ตัว ย้อนตัว และปฏิบัติการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ตามที่กำหนด เช่น เพลงตระนิมิต เพลงตระนิมิตแปลง เพลงชำนาญ เพลงตระบองกัน เพลงรุกล้น-เสมอข้ามสมุทร เพลงโอดสองชั้น เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแสดงโขน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111

อธิบายนาฏยศัพท์ ที่เกี่ยวข้อง ในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ

1. อธิบายกระบวนท่านาฏยศัพท์ ที่เกี่ยวข้อง ในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ

01111.01 216102
01111

อธิบายนาฏยศัพท์ ที่เกี่ยวข้อง ในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ

2. อธิบายความหมายของ คำว่า หน้าพาทย์ และโอกาสในการนำไปใช้

01111.02 216103
01112

รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนพระ ตามที่กำหนด

1. ปฏิบัติกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ที่กำหนด

01112.01 216104
01112

รำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบโขนพระ ตามที่กำหนด

2. ปฏิบัติท่ารำเพลงหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลอง และทำนองเพลง

01112.02 216105

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ปฏิบัติการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ได้ตรงตามจังหวะหน้าทับ ไม้กลองและทำนองเพลงที่กำหนด 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้นาฏยศัพท์พื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ในการแสดงโขน ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่สามารถสื่อความหมายในการแสดงต่าง ๆ ของวงการนาฏศิลป์ไทย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. การแสดงที่นำเสนอผ่านภาพถ่าย VDO หรือสื่อ Social media ในรูปแบบต่าง ๆ

    2. เกียรติบัตร วุฒิบัตรเกี่ยวกับการแสดงโขน และ/หรือ  

    3.  เอกสารรับรองและผลการประเมินจากบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1.  ใบผ่านการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการแสดงโขน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ

(ง) วิธีการประเมิน

    1. สาธิตการปฏิบัติงาน

    2. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินจะรู้นาฏยศัพท์ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสัมพันธ์กับเพลงหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 5 คำ เช่น ใช้ตัว ย้อนตัว สะดุ้งตัว ห่มเข่า รำร่าย ป้องหน้า ฯลฯ

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ โขนพระ ตามเพลงที่กำหนดไว้ อย่างน้อย 3 เพลง เช่น รำหน้าพาทย์ เพลงตระนิมิต เพลงตระนิมิตแปลง เพลงชำนาญ เพลงตระบองกัน เพลงรุกล้น-เสมอข้ามสมุทร เพลงโอดสองชั้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขอบเขตความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับความหมายและการนำไปใช้ ของการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ ตลอดจนองค์ประกอบร่วมระหว่างปฏิบัติการรำหน้าพาทย์นักแสดงสมทบ ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมหรือให้ผู้แสดงด้วยกันทราบ ด้วยภาษาท่าทางตามรูปแบบนาฏศิลป์ไทย

    นาฏยศัพท์ หมายถึง คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการอธิบายการปฏิบัติท่ารำในการแสดงโขน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของกระบวนท่า ใช้สำหรับสื่อสารบทบาท และกิริยาของตัวละคร 

    หน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยา อารมณ์ หรือการแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครในการแสดงโขน ซึ่งผู้แสดงจะต้องรำตามจังหวะ หน้าทับ และทำนองเพลงที่กำหนดไว้ 

(ค) เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น

    1. องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ CB จะต้องเตรียมเครื่องเสียง และไฟล์เพลงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับประกอบการแสดง ได้แก่ อาวุธ ศร พระขรรค์ กระบอง ตรี คทา และจักร 

    2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดเตรียมชุดแต่งกายสำหรับฝึกนาฎศิลป์ไทย (โจงกระเบน) ที่มีความสุภาพ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้าและให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ