หน่วยสมรรถนะ
ดูแลรักษาต้นทุเรียน ระยะก่อนให้ผลผลิต (0-4 ปี)
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-BKGY-1075A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดูแลรักษาต้นทุเรียน ระยะก่อนให้ผลผลิต (0-4 ปี) |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ 6112 : ผู้ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ISCO, 2008) 1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องบำรุงและดูแลทุเรียนก่อนให้ผลผลิตระยะต้นช่วงระหว่าง 0-4 ปี ด้านการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้ธาตุอาหารรอง ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตัดแต่งกิ่ง ควบคุมทรงพุ่ม สังเกตความผิดปกติของต้น โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบำรุงและดูแลทุเรียน ได้แก่ ความสามารถในการให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอกับการเจริญเติบโตของทุเรียน การเลือกวิธีการหรือระบบการให้น้ำที่เหมาะสม การกำหนดปริมาณการให้น้ำและช่วงระยะเวลาให้น้ำที่ถูกต้อง ความสามารถในการให้ปุ๋ยและธาตุอาหาร ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ได้อย่างถูกต้องเพียงพอ การเลือกวิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สารชีวภาพ สารเคมี ชีวภัณฑ์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงและดูแลรักษาทุเรียน คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความปลอดภัย |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปลูกทุเรียน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัสอาชีพ 6112 : ผู้ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ISCO, 2008) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A241 ให้น้ำตามระยะเวลาการเจริญเติบโต |
เลือกระบบและวิธีการให้น้ำตามการเจริญเติบโต |
A241.01 | 216373 |
A241 ให้น้ำตามระยะเวลาการเจริญเติบโต |
ให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสม ในแต่ละระยะช่วงของการเจริญเติบโต |
A241.02 | 216374 |
A242 ให้ปุ๋ยตามระยะเวลาการเจริญเติบโต |
เลือกใช้ชนิดปุ๋ยในการบำรุงให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต |
A242.01 | 216375 |
A242 ให้ปุ๋ยตามระยะเวลาการเจริญเติบโต |
กำหนดปริมาณการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต |
A242.02 | 216376 |
A243 ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช |
เลือกวิธีการป้องกันศัตรูพืชได้ |
A243.01 | 216377 |
A243 ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช |
วินิจฉัยโรคและแมลงศัตรูที่เกิดกับต้นทุเรียนได้ |
A243.02 | 216378 |
A243 ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช |
เลือกวิธีการกำจัดโรค และแมลงศัตรูทุเรียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
A243.03 | 216379 |
A244 ตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม |
คัดเลือกไว้กิ่งที่ให้ผลผลิตได้ถูกวิธี |
A244.01 | 216380 |
A244 ตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม |
ตัดแต่งกิ่งได้อย่างถูกวิธี |
A244.02 | 216381 |
A244 ตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม |
ตัดแต่งควบคุมขนาดทรงพุ่มได้ |
A244.03 | 216382 |
A245 สังเกตความผิดปกติของการเจริญเติบโต |
ระบุความผิดปกติของการเจริญเติบโตได้ |
A245.01 | 216383 |
A245 สังเกตความผิดปกติของการเจริญเติบโต |
วิเคราะห์สาเหตุของความผิดปกติได้ |
A245.02 | 216384 |
A245 สังเกตความผิดปกติของการเจริญเติบโต |
แก้ไขปัญหาความผิดปกติของการเจริญเติบโตได้ |
A245.03 | 216385 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1) ลักษณะประจำพันธุ์ของทุเรียน 2) มีทักษะการสืบค้นข้อมูล 3) ทักษะการคำนวณ 4) ทักษะการสังเกต |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) มีความรู้ในการคำนวณปริมาณความต้องการน้ำและ ปุ๋ย ของแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน 2) มีความรู้ในการเลือกวิธีการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การเลือกสารเคมี สารชีวภัณฑ์ที่เหมะสมกับต้นทุเรียน 3) มีความรู้ในการป้องกันกำจัด โรคและแมลงและศัตรูพืชอื่นๆ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงานหรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ 2) แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา 2) หลักฐานการผ่านการอบรม 3) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการบำรุงรักษาดูแลการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง 2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง
(ง) วิธีการประเมิน 1) การสอบสัมภาษณ์ 2) การสอบข้อเขียน 3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1.การคำนวณปริมาณให้น้ำ ทุเรียนอายุ 0-4 ปี (ทุเรียนที่ยังไม่ให้ผลผลิต) คือปริมาณน้ำที่พืชต้องการใช้จริงๆ รวมถึงปริมาณน้ำที่สูญเสียไปจากแปลงปลูกโดยกระบวนการค่ายน้ำของพืชและการระเหย สามารถคำนวณปริมาณการใช้น้ำของพืชจาก ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช ค่าศักย์การระเหยน้ำของพืช ปริมาณความต้องการน้ำของทุเรียนแตกต่างกันในแต่ละระยะพัฒนาการของพืช (มีหน่วยเป็น ลิตร/พื้นที่ 1 ตารางเมตร) คำนวณได้จาก
ปริมาณการใช้น้ำของพืช = ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช x ค่าศักย์การระเหยน้ำของพืช (Consumptive Use or Evapotranspiration; ET) (Crop Coefficient; Kc) (Potential evapotranspiration)
ปริมาณการใช้น้ำของพืช หรือ การคายระเหยน้ำของพืช (Consumptive use or Crop Evapotranspiration; ET) หมายถึง ปริมาณน้ำที่พืชต้องการใช้จริงๆ รวมถึงปริมาณน้ำที่สูญเสียไปจากแปลงปลูกโดยขบวนการคายน้ำของพืชและการระเหยมีหน่วยเป็นความลึกของน้ำ/หน่วยเวลาหรือปริมาตรของน้ำ/หน่วยเวลา/หน่วยพื้นที่ เช่น มิลลิเมตร/วัน ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (Reference Crop Evapotranspiration; ETo) หรือ ค่าสัมประสิทธิ์พืช (Crop Coefficient; Kc) หมายถึง ค่าคงที่ของพืชที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้น้ำของพืช (ET) ที่ทำการทดลองกับผลการคำนวณหาปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETo) คำนวณจาก KC = ET ETo ค่าสัมประสิทธิ์พืชจะมีค่าแตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล แต่ละพื้นที่ และแตกต่างกันตามขนาดของทรงพุ่มทุเรียน รวมถึง ต้องทราบ ชนิดของดิน ความลึกของรากทุเรียนที่ปลูก อัตราการใช้น้ำของทุเรียน เพื่อคำนวนการให้น้ำแก่ทุเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการได้ โดยค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของทุเรียนแต่ละช่วง เป็นดังนี้ ระยะพัฒนาด้านกิ่งก้านสาขา 0.60 ระยะชักน้ำการออกดอก 0.00 ระยะดอก 0.75 ระยะติดผล 0.50 ระยะผลอ่อน 0.60 ระยะเจริญเติบโตของผล 0.85 ระยะเริ่มสุข แก่ 0.75 ตัวอย่าง การคำนวณการให้น้ำแก่ต้นทุเรียน จังหวัดจันทบุรี ในช่วงฤดูร้อนเดือนมีนาคม มีอัตราการระเหยน้ำ 5.09 มิลลิเมตรต่อวัน (หาข้อมูลได้จากสถานีอุตุนิยมวิทยา) จากสูตร ปริมาณการใช้น้ำของพืช = ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช x ค่าศักย์การระเหยน้ำของพืช ปริมาณการใช้น้ำของพืช = 0.60 x 5.09 หน่วยลิตร/พื้นที่ 1 ตร.เมตร ปริมาณการใช้น้ำของพืช = 3 ลิตร/พื้นที่ 1 ตร.เมตร ดังนั้น ควรให้น้ำแก่ต้นทุเรียนเล็กประมาณ 3 ลิตร/วัน/พื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร ถ้าต้นทุเรียนมีพื้นที่ใต้ทรงพุ่มประมาณ 7 ตารางเมตร ต้องให้น้ำ 21 ลิตร โดยหลักการให้น้ำแก่ต้นพืชให้น้อยแต่บ่อยครั้ง พืชจะได้ประโยชน์มากกว่าให้ปริมาณเท่ากันแต่นานวันครั้ง 2. รูปแบบการให้น้ำ อาจเป็น แบบสปริงเกอร์ น้ำหยด หรืออื่นๆ โดยต้องทราบปริมาณน้ำที่ออกจากหัวจ่ายกับปริมาณน้ำที่ทุเรียนต้องการ การเลือกใช้หัวสปริงเกอร์ที่สามารถกระจายน้ำได้อย่างทั่วถึง 3. ใส่ปุ๋ยตามระยะเวลาการเจริญเติบโต และปริมาณ มีวิธีการแบ่งใส่ ดังนี้ ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ย 4 ครั้งทุกๆ 3 เดือน และ ปีที่ 2-4 ใส่ปุ๋ยทุกเดือน โดยใส่ปุ๋ยคอก (ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมัก) ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้งในครั้งแรกและในครั้งถัดไปใส่ในอัตราเพิ่มขึ้นเท่าตัว เพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างดิน รวมกับปุ๋ยเคมี โดยเน้นปุ๋ยไนโตรเจน ตัวอย่างเช่น อาจเป็นสูตร (29-5-18 ) ( 25-7-7) หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร (6-3-3) ระยะ 1-3 ปี ใส่บริเวณทรงพุ่มพรวนดินกลบอัตรา 2-10 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีขึ้นกับขนาดต้นในปีแรกควร 3 ครั้ง หมายเหตุ ครั้งที่ 1 (ระยะเวลาปลูก 1-3 เดือน) ครั้งที่ 2 (ระยะเวลาปลูก 4-6 เดือน) ครั้งที่ 3 (ระยะเวลาปลูก 7-9 เดือน) ครั้งที่ 4 ((ระยะเวลาปลูก 10-12 เดือน) และวิธีการและอัตราตามคำแนะนำเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมีของกรมวิชาการเกษตร 4. กำจัดวัชพืช รอบทรงพุ่ม ไม่ให้กระทบรากของทุเรียน 4.1 ตัดวัชพืชให้สั้นด้วยเครื่องตัดหญ้า ประมาณ 3-5 ครั้ง/ปี ห่างจากโคนต้น 1 เมตร ควรกำจัดวัชพืช รอบทรงพุ่ม อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้แล้วแต่สภาพแวดล้อม บางครั้งอาจไม่จำเป็นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดินไว้โดยเฉพาะในฤดูร้อน 4.2 ใช้สารเคมีที่เป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 5. ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หมั่นตรวจโรคและแมลงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงแตกยอดใหม่ และหลังฝนตก สังเกตรอบต้น หากพบให้เลือกใช้ สารชีวภัณฑ์/สารอินทรีย์/สารเคมี ช่วงระยะเวลาของการระบาดโรคแมลงในแต่ละชนิดตามอัตราที่ระบุในฉลาก (ต้องหมั่น ตรวจโรคและแมลงอย่างสม่ำเสมอ (ทุกวัน) โดยเฉพาะช่วงแตกยอดใหม่ ในรอบ 45 วัน และหลังฝนตก สังเกตรอบต้น หาก เห็นนกหรือแมลงปออยู่ที่ต้นทุเรียน ใบละ 4-5 ตัวต่อต้น สันนิษฐานว่าอาจมี เพลี้ยจั๊กจั่นฝอย เข้าทำลาย ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ โรคและแมลงที่พบ ได้แก่ 1. โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปเธอรา (Phytophthora palmivora) ลักษณะอาการ ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง รากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสี ต้นทุเรียนที่ถูกทำลายมักพบรูพรุนตามโคนต้นและกิ่ง ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว สีเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก เกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็วแล้วค่อยๆ ร่วงไป การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่กระจายในอากาศโดยลม ไปตามน้ำและฝน แพร่ระบาดได้ดีใน ช่วงที่มีฝนตกชุก และความชื้นสูง การควบคุมและป้องกันกำจัด ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืชถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 2. โรคกิ่งแห้งทุเรียน เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม มักพบในภาคใต้ ลักษณะอาการ เชื้อราฟีวซาเรี่ยมจะเจริญจากกิ่งเข้ามาที่ต้นจะเสียหายทั้งกิ่ง (ภาคใต้) ลักษณะอาการคล้ายกับเชื้อราไฟทอปเธอรา (เชื้อเจริญจากต้นไปปลายกิ่ง) ถ้าตัดไม่ทันจะลุกลามทั้งกิ่ง อย่างรวดเร็ว ใบจะเหลืองทั้งต้น ภายใน 1 อาทิตย์ ต้องรีบตัดทิ้ง เพราะอาจลามเข้าลำต้น(ไส้) ได้ เชื้อนี้รุนแรงกว่าเชื้อราไฟทอปเธอรา (ใช้เวลาลุกลาม 2 อาทิตย์) การแพร่ระบาด เชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกได้ตามเศษซากพืชติดกับดิน เมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค การควบคุมและป้องกันกำจัด ใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรค ปราศจากเชื้อ ใช้ไตรโคเดอร์มาโรยคลุกเคล้าดินช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ หรือใช้สารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 3. โรคราสีชมพู เกิดจาก เชื้อรำ Corticium salmonicolor ลักษณะอาการ ใบเหลืองและร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่าที่เกิด จากเชื้อรา P.palmivora เมื่อตรวจดูบริเวณกิ่งหรือลำต้นจะพบเส้นใยของเชื้อราลักษณะสีขาวเจริญคลุมกิ่งหรือ ลำต้น ต่อมาเชื้อราเจริญลุกลามเมื่อมีอายุมากขึ้น เส้นใยเปลี่ยนเป็นสีครีมถึงชมพูอ่อน เมื่อถากกิ่งที่เชื้อราขึ้น ปกคลุมจะพบเนื้อไม้แห้งเป็นสีน้ำตาล การแพร่ระบาด ระบาดมากในช่วงฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูง การควบคุมและป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ช่วงฤดูฝนหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบตัดกิ่งและกำจัดทิ้งนอกแปลง ถ้าพบโรคบนง่ามกิ่ง หรือโคนกิ่งที่มีขนาดใหญ่ หรือบริเวณลำต้นให้ถากแผลบริเวณที่เป็นโรคออก พ่นด้วยสารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 4. โรคใบไหม้/แอนเทรคโนส เชื้อราคอลเลโตตริคัม (Colletotrichum gloeosporiodes) ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีน้ำตาลบนใบ หากรุนแรงแผลจะขยายทำให้ใบไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เกิดบริเวณ ขอบใบหรือปลายใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม ใบที่ไหม้จะยังคงติดอยู่กับกิ่งไม่ร่วงหล่นง่าย ในระยะต้นกล้าหรือต้นที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่จะทำให้การเจริญโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต หากอาการรุนแรงจะทำให้กิ่งแห้ง หรือต้นตาย การแพร่ระบาด ช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง การควบคุมและป้องกันกำจัด หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบเริ่มมีอาการของโรค ตัดใบ หรือส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลง เพื่อลดปริมาณและไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค หากโรคยังคงระบาดพ่นสารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 5. เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ลักษณะอาการ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่(ใบเพสลาด) ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ใบหงิกงอแห้งและร่วง และเพลี้ยขับสารสีขาวทำให้เกิดเชื้อรา การแพร่ระบาด ระยะแตกใบอ่อน การควบคุมและป้องกันกำจัด วางกับดักกาวเหนียวสีเหลืองใบระยะแตกใบอ่อนเพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย หรือฉีดพ่นยูเรียละลายน้ำอัตรา 200 ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้เชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กก.ต่อ น้ำ 40 ลิตร หรือ ใช้สารเคมี พ่นด้วยสารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 6. ไรแดงแอฟริกัน ลักษณะอาการ ทำลายช่วงใบแก่ ไรแดงมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า การแพร่ระบาด ในช่วงที่ฝนเริ่มทิ้งช่วง อากาศแห้งและมีลมพัดแรง การควบคุมและป้องกันกำจัด หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดง เช่น ส้ม มะละกอ มะนาว พืชตระกูลถั่ว หมั่นสำรวจแปลง การฉีดพ่นน้ำให้แปลงมีความชื้นเพื่อลดไรแดง หากพบใบแก่ถูกทำลายมากกว่า 25% ต่อต้นให้ควบคุม พ่นด้วยสารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย
7. หนอนเจาะลำต้น ลักษณะอาการ การเข้าทำลายเป็นตัวอ่อนของด้วงหนวดยาว ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ จะกัดกินส่วนของเปลือกไม้ด้านใน โดยกัดกินเป็นรอบต้น หรือเจาะกัดกินเนื้อไม้ ทำให้ต้นทุเรียนมีอาการทรุดโทรม ช่วงเวลาระบาด ตลอดปี การควบคุมและป้องกันกำจัด หมั่นตรวจรอบลำต้นทุเรียน กำจัดตัวเต็มวัยด้วยหนวดยาว การ พ่นด้วยสารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 8. มอดเจาะลำต้น ลักษณะอาการ ตัวหนอนและตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปในลำต้นและกิ่งทุเรียน ลึกตั้งแต่ 2.0-3.0 เซนติเมตรขึ้นไป ส่วนมากพบทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ลักษณะอาการ การแพร่ระบาด ตลอดปี พบการระบาดร่วมกับโรครากเน่าโคนเน่าในช่วงฝนตกชุกในระยะแตกใบอ่อน ช่วงแดดแรงอากาศร้อนและแห้งในตอนกลางวันอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำในตอนกลางคืน การควบคุมและป้องกันกำจัด หมั่นตรวจตามลำต้นทุเรียน ถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดเจาะลำต้นทำลาย ตัดทิ้งและเผา 9. ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน ลักษณะอาการ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ จะกัดกินไชชอนไปตามเปลือกไม้ด้านใน หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น มีผลทำาให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นทุเรียนเริ่มทรุดโทรม ใบเหลืองและร่วง และยืนต้นตายได้ ลักษณะอาการ การแพร่ระบาด ตลอดปี พบระบาดทำาความเสียหายต่อทุเรียนอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคตะวันออก ในปี พ.ศ. 2545 - 2547 ในจังหวัดระยองพบการระบาดแทบทุกอำาเภอที่ปลูกทุเรียน ส่วนในจังหวัดจันทบุรี และ ตราด พบระบาดเฉพาะในบางพื้นที่ แล้วยังพบระบาดในทุเรียนที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ การทำลายในทุเรียน ส่วนใหญ่พบทำาลายทุเรียนพันธุ์หมอนทอง การควบคุมและป้องกันกำจัด หมั่นตรวจสวนเป็นประจำ โดยสังเกตรอยแผล ซึ่งเป็นแผลเล็กและชื้นที่ตัวเต็มวัยทำาขึ้นเพื่อการวางไข่ ถ้าพบให้ทำลายไข่ทิ้ง หรือ ถ้าพบขุยและการทำลายที่เปลือกไม้ให้ใช้มีดแกะ และจับตัวหนอนทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรงควรป้องกันการเข้าทำาลายโดยพ่นด้วยสารเคมีที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือตาม พรบ.ควบคุมวัตถุอันตราย 10. เพลี้ยไฟพริก ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟพริกระบาดทำาลายในช่วงใบอ่อนใบอ่อนหรือยอดอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง หงิกงอ และไหม้ การแพร่ระบาด เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม - พฤษภาคม การควบคุมและป้องกันกำจัด หมั่นตรวจตามลำต้นทุเรียน หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง เมื่อพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรง ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ 6.การตัดแต่งกิ่งและควบคุมทรงพุ่ม (จำนวนและขนาดกิ่งแขนง ความสูงของทรงพุ่ม) การตัดแต่งกิ่งตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ หลังจากปลูกประมาณ 1.0-1.5 ปี ควรตัดแต่งให้มีลำต้นเดี่ยว
7. สังเกตความผิดปกติของการเจริญเติบโตที่เกิดจากขาดธาตุอาหาร หรือต้นพันธุ์ ลักษณะ ใบเหลือง เพราะขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม เช่นขาดธาตุแมกนีเซียม ขาดธาตุเหล็ก และการให้ธาตุไนโตรเจนมากเกินไปแสดงอาการใบเหลือง และการใช้สารในกลุ่มพาราควอต ในอัตราสูงกว่าที่กำหนดทำให้ปริมาณสารเคมีส่วนเกินสัมผัสกับรากทุเรียน แสดงอาการใบเหลือง และต้นกล้าทุเรียนที่อยู่ในถุงชำนานกว่า 1 ปี รากขดหรืองอ เปลี่ยนถุงต้องตัดรากออกครึ่งหนึ่งก่อนเปลี่ยนถุง และสังเกตต้นพันธุ์ ไม่โตไม่แตกยอด ไม่แตกใบ ให้รื้อและปลูกใหม่ 8. การอนุรักษ์ธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการจัดการน้ำให้เพียงพอ การวัดปริมาณและตรวจสอบการคุณภาพน้ำไม่ปล่อยสารเคมีตกค้างลงในน้ำ และให้ปุ๋ยที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีอย่างถูกวิธีในอัตราที่เหมาะสม การใช้สารเคมี สารชีวภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการโรคและแมลง โดยปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและหลักความปลอดภัย การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การตรวจสอบและวินิจฉัยโรค การใช้วิธีการป้องกันเชิงกลอุปกรณ์ต่างๆ การใช้สารชีวภัณฑ์: ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการพื้นที่ปลูก เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช การลดการใช้สารเคมีส่งเสริมการใช้วิธีการทางชีวภาพและเชิงกลเพื่อลดการพึ่งพาสารเคมี 9.การให้คำแนะนำ สอนงาน ในการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ให้ผู้ปฏิบัติ โดยคำนึงถึง แนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP เช่น แหล่งน้ำต้องสะอาด พื้นที่ปลูกต้องไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างปนเปื้อน การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามคำแนะนำหรืออ้างอิงของกรมวิชาการเกษตร การใช้สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้ ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายที่ทางราชการห้ามใช้ การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต บันทึกข้อมูลการสำรวจและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมถึงความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานแนะนำการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เช่น ถุงมือ หน้ากาก และแว่นตาเมื่อต้องใช้สารเคมี การจัดเก็บและทิ้งสารเคมีอย่างถูกต้อง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|