หน่วยสมรรถนะ
เพาะปลูกทุเรียน ระยะ 0-1 ปี
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-NFPF-1074A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เพาะปลูกทุเรียน ระยะ 0-1 ปี |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ 6112 : ผู้ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ISCO, 2008) 1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการเพาะปลูกทุเรียน ระยะ 0-1 ปี ประกอบด้วย การเพาะเมล็ดและเสียบยอด/เสียบข้างในแปลงเพาะปลูกทุเรียน การย้ายกล้าลงแปลงปลูก และพรางแสง ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องเพาะเมล็ด เสียบยอดทุเรียน ย้ายกล้าลงแปลงเพาะปลูกและวิธีการดูแลรักษา ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดี ตัดแต่งกิ่งหรือใบที่เสียหายหรือไม่จำเป็นออก ให้ปุ๋ยตามความเหมาะสม และการดูแลกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันโรคและแมลง การให้ร่มเงาหรือพรางแสงต้นทุเรียน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปลูกทุเรียน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัสอาชีพ 6112 : ผู้ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล (ISCO, 2008) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) กรมวิชาการเกษตร |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A231 เพาะเมล็ดและเสียบยอด/เสียบข้างในแปลงเพาะปลูก |
เลือกเมล็ดทุเรียนที่มีความสมบูรณ์ |
A231.01 | 216364 |
A231 เพาะเมล็ดและเสียบยอด/เสียบข้างในแปลงเพาะปลูก |
เตรียมถุงและวัสดุเพาะชำให้พร้อม |
A231.02 | 216365 |
A231 เพาะเมล็ดและเสียบยอด/เสียบข้างในแปลงเพาะปลูก |
ดำเนินการเสียบยอด/เสียบข้าง ทุเรียนในแปลงเพาะปลูกให้ถูกวิธี |
A231.03 | 216366 |
A232 ย้ายกล้าทุเรียนลงแปลงปลูก |
เลือกและเตรียมต้นกล้าให้พร้อม |
A232.01 | 216367 |
A232 ย้ายกล้าทุเรียนลงแปลงปลูก |
ย้ายกล้าลงหลุมปลูกได้อย่างถูกวิธี |
A232.02 | 216368 |
A232 ย้ายกล้าทุเรียนลงแปลงปลูก |
วางต้นกล้าลงปลูกให้เหมาะสมกับทิศทางและความลึก |
A232.03 | 216369 |
A233 พรางแสงต้นกล้าทุเรียน |
เตรียมอุปกรณ์พรางแสง |
A233.01 | 216370 |
A233 พรางแสงต้นกล้าทุเรียน |
พรางแสงให้ร่มเงาในช่วงแรกของการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน |
A233.02 | 216371 |
A233 พรางแสงต้นกล้าทุเรียน |
ตรวจเช็คทิศทางของแสง และ อุณหภูมิ ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับระดับของการพรางแสง |
A233.03 | 216372 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1) มีความรู้เรื่องพันธุ์ทุเรียน และการขยายพันธ์ทุเรียน 3) การสืบค้นข้อมูล |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) มีความรู้ เรื่อง การเพาะปลูก 2) มีความรู้ เรื่อง การขยายพันธุ์พืช |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ 2) แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา 2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ผลการสอบข้อเขียน 4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินจากหลักฐาน เช่น แผนการปลูก ภาพถ่ายการวางระบบต่างๆ ภายในแปลงปลูก เป็นต้น พร้อมทั้งคำอธิบายหลักการหรือเหตุผลประกอบ 2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง
(ง) วิธีการประเมิน - การสอบสัมภาษณ์ - แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การเพาะปลูกทุเรียนในช่วงอายุ 0-1 ปีมีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อการเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนในระยะต่อไป ดังนั้น การดูแลรักษาต้นทุเรียนในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมและดำเนินการที่เหมาะสม
การเพาะเมล็ดทุเรียนเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการขยายพันธุ์ เพราะสามารถเลือกใช้เมล็ดจากต้นทุเรียนที่มีลักษณะที่ต้องการได้ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองเพราะมีความต้านทานโรคสูง มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม 1. เตรียมเมล็ด : เลือกใช้เมล็ดทุเรียนที่แก่และสมบูรณ์ 4.การดูแลรักษา : รดน้ำเช้า - เย็น เพื่อรักษาความชื้นในดินให้คงที่ และให้ปุ๋ยตามความเหมาะสม
การเสียบยอดทุเรียนเป็นวิธีที่สามารถระบุได้ชัดเจนถึงคุณลักษณะของสายพันธุ์ทุเรียนที่จะได้ โดยสามารถเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพต้านทานโรคได้ดี 1.เลือกต้นพันธุ์: เลือกใช้ต้นทุเรียนที่มีคุณภาพดีเป็นต้นพันธุ์ เช่น ต้นที่ให้ผลผลิตดี มีความต้านทานต่อโรค ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ตัดยอดของต้นพันธุ์ 2.เตรียมยอดที่จะเสียบ: ตัดยอดของต้นทุเรียนที่จะเสียบให้เหลือเพียง 2-3 ใบ 3.การเสียบยอด: การเสียบยอดโดยแยกเป็นสองส่วน คือต้นทุเรียนที่จะเสียบ และต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ ทำการเสียบโดยใส่ยอดทุเรียนลงไปในรอยของต้นพันธุ์ หลังจากเสียบเสร็จ ใช้เทปใสผูกให้แน่นรอบต้นทุเรียนที่เสียบ เพื่อให้ยอดทุเรียนติดแน่นกับต้นพันธุ์ 4.การดูแลรักษา: ให้น้ำสม่ำเสมอ รดน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และให้ตามความเหมาะสม 3) แนวทางที่เหมะสมในการย้ายกล้าลงแปลงปลูก และวิธีการดูแลรักษา การย้ายกล้าทุเรียนเป็นขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นปลูกทุเรียนใหม่ ควรใส่ใจในการดูแลรักษาต้นทุเรียนหลังย้ายเพื่อให้มีการเจริญเติบโตที่ดี 1.เตรียมแปลงปลูก: เตรียมแปลงปลูกโดยไถหรือพรวนดินให้ร่วนซุย และเตรียมร่องหรือโคกเล็กๆ ในการปลูกแบบหลุมหรือเนินหรือระบบอื่นๆ ตามที่ต้องการ 2.การย้ายกล้า: ย้ายกล้าทุเรียนลงในแปลงปลูก โดยระวังไม่ให้รากและยอดของต้นกล้าเสียหาย ให้ต้นทุเรียนตั้งตรงบนร่องหรือโคก ในทิศทางที่เหมาะ 3.การดูแลรักษา: หลังจากย้ายกล้าแล้ว ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดี ควรตัดแต่งกิ่งหรือใบที่เสียหายหรือไม่จำเป็นออก ควรให้ปุ๋ยตามความเหมาะสม และการดูแลกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันโรคและแมลง
การพรางแสงต้นทุเรียนเป็นการปฏิบัติที่สำคัญในการดูแลรักษาต้นทุเรียน เพื่อช่วยป้องกันการเสียหายจากแสงแดดที่มากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นทุเรียนยังอ่อนแอหรือปลูกใหม่ นอกจากนี้ การให้ร่มเงายังช่วยลดการระเหยน้ำของต้นทุเรียนเมื่ออากาศร้อนจัด ไม้ผลหลายชนิดรวมทั้งทุเรียน ต้องมีการให้ร่มเงาหรือการพรางแสงในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ทางมะพร้าวปักเป็นกระโจมคร่อมต้นทุเรียน ใช้ตาข่ายพรางแสง เย็บเป็นถุงเปิดหัวท้ายครอบลงบนเสาไม้ที่ปักเป็นมุม 4 ด้านรอบต้นทุเรียน เพื่อกันแสงด้านข้างของต้น หรือ อาจปลูกต้นไม้โตเร็วระหว่างแถวทุเรียนให้มีระยะห่างระหว่างต้นของไม้โตเร็วที่สามารถแผ่ทรงพุ่มพรางแสง ให้ทุเรียนได้ประมาณ 30-40% เช่น ต้นกล้วย เป็นต้น
วิธีการเสริมรากทุเรียน 1.การคัดเลือกพันธุ์ทุเรียนที่จะนำมาเสริมราก: เลือกใช้พันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ เช่น พันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรคและแมลง เช่น พันธุ์พื้นเมือง 2.การทาบกิ่ง: นำต้นพันธุ์ทุเรียนที่จะนำมาเสริมรากทาบกับต้นพันธุ์ที่ต้องการ โดยเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ ทำการเฉือนกิ่งพันธุ์ให้เป็นรูปโล่เช่นเดียวกับต้นตอ นำต้นตอที่เตรียมไว้ขึ้นประกบกับกิ่งพันธุ์ โดยให้รอยแผลแนบกันสนิท พันด้วยแถบพลาสติกให้แน่น โดยพันจากล่างขึ้นบนเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าไปในแผล ทำให้แผลเน่าและ ทาบไม่ติด เมื่อแผลที่ทาบไว้สมานกันสนิท โดยสังเกตจากยอดพันธุ์ที่นำมาเสริมรากใบยังเขียวสดใส ให้ตัดยอดทิ้ง 3.การดูแลรักษา: ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดี ควรให้ปุ๋ยตามความเหมาะสม และการดูแลกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันโรคและแมลง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|