หน่วยสมรรถนะ
ขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-EUBO-1071A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008) 1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ซึ่งประกอบด้วยการเตรียมการก่อนการขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน การขนส่งกล้าพันธุ์ทุเรียน และการให้คำแนะนำการดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีเทคนิคในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการเตรียมการก่อนขนส่งต้นกล้าทุเรียน จัดการขนส่งต้นกล้าทุเรียน และแนะนำการดูแลรักษาต้นกล้าทุเรียน ได้แก่ การตรวจสอบพันธุ์ต้นกล้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า การคัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์มีขนาดตรงตามความต้องการของลูกค้า การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับขนาดของต้นกล้า การจัดเรียงต้นกล้าที่ถูกต้องเหมาะสมและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การให้คำแนะนำและความรู้ก่อนการปลูก (การเรียง การพักต้นก่อนปลูก) และการคำแนะนำและให้ความรู้ตลอดช่วงการปลูกและหลังการปลูก |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
การกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกมาตรา 61 พระราชบัญญัติทางหลวง 2535 มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A181 เตรียมการก่อนขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
ตรวจสอบพันธุ์ต้นกล้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า |
A181.01 | 216338 |
A181 เตรียมการก่อนขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
คัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์มีขนาดตรงตามความต้องการของลูกค้า |
A181.02 | 216339 |
A182 ขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
คัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับขนาดของต้นกล้า |
A182.01 | 216340 |
A182 ขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
เตรียมต้นกล้าเพื่อบรรจุด้วยวิธีการที่เหมาะสม |
A182.02 | 216341 |
A182 ขนส่งต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
จัดเรียงต้นกล้าที่ถูกต้องเหมาะสมและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
A182.03 | 216342 |
A183 แนะนำการดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
ให้คำแนะนำและความรู้ก่อนนำต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนไปปลูก |
A183.01 | 216343 |
A183 แนะนำการดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน |
ให้คำแนะนำและความรู้ตลอดช่วงการปลูกและหลังการปลูก |
A183.02 | 216344 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) มีความรู้เรื่องพันธุ์ทุเรียนแต่ละชนิด 2) มีความรู้เรื่องการขนส่งกล้าพันธุ์ทุเรียน 3) กฎหมายกำหนด ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ 2) แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา 2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง
(ง) วิธีการประเมิน - สอบสัมภาษณ์ - แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1. แนวทางที่เหมาะสมในการตรวจสอบพันธุ์ต้นกล้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า การตรวจสอบพันธุ์ต้นกล้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพื่อเตรียมการก่อนขนส่งต้นกล้าทุเรียนดำเนินการ สามารถดำเนินการตามทางเลือกได้ ดังนี้ - การแบ่งพื้นที่ (โซน) ตามพันธุ์ที่กำหนดไว้ตาม Tag ที่กำหนดชื่อพันธุ์ไว้ทุกต้น - แยกต้นกล้าพันธุ์เป็นกลุ่มตามพันธุ์ก่อนนำขึ้นรถขนส่ง - ตรวจสอบลักษณะทางใบของต้นกล้าพันธุ์ให้ตรงตามพันธุ์ที่ลูกค้าต้องการก่อนนำขึ้นรถขนส่ง - เวลาเรียงให้เรียงพันธุ์เดียวกันไปพื้นที่เดียวกัน - เมื่อนำต้นกล้าพันธุ์ขึ้นรถแล้วใช้เชือกคั่นระหว่างสายพันธุ์ - มีเทคนิคให้ลูกค้ารับรู้ในการสื่อสารปลายทางโดยถ่ายเป็น VDO ส่งให้ลูกค้าตรวจสอบ 2. ลักษณะของต้นกล้าที่สมบูรณ์ การคัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์มีขนาดตรงตามความต้องการของลูกค้ามีการดำเนินการ ดังนี้ 1) ต้นกล้าพันธุ์ตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ 2) ต้นกล้าพันธุ์สมบูรณ์แข็งแรง รากไม่ขดงอ 3) ต้นกล้าพันธุ์ปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า ฯลฯ 3. แนวทางที่เหมาะสมในการขนส่งและรูปแบบการจัดเรียงต้นกล้า ต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) ขนส่งต้นกล้าโดยรถยนต์ 1.1) กรณีลูกค้ามารับเอง - การประมาณการขนาดของรถขนส่ง ให้สอดคล้องกับจำนวนที่เหมาะสมและสามารถขนส่งได้ โดยไม่เกินน้ำหนัก - การเรียง (เที๊ยบ) ต้นกล้าพันธุ์ให้แน่นโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหันยอดไปทางเดียวกั - ระมัดระวังไม่ให้ต้นกล้าเสียหาย 1.2) กรณีนำไปส่งให้ลูกค้า - การคัดเลือกรถขนส่งที่เหมาะสมกับจำนวน และขนาดของกล้า - การเรียง (เที๊ยบ) ต้นกล้าพันธุ์ให้แน่นโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหันยอดไปทางเดียวกัน - ระมัดระวังไม่ให้ต้นกล้าเสียหาย - การรักษาคุณภาพของต้นกล้าพันธุ์อาจใช้กระสอบคลุมรอบรถ แล้วใช้กระสอบชุบน้ำคลุมอีกครั้ง คลุมสแลน ฉีดน้ำ เพื่อให้มีความชื้นและควบคุมความร้อน - ทางภาคใต้จะใช้ใบตองเรียง (เที๊ยบ) ให้แน่นที่สุดหันยอดไปทางเดียวกัน - การเดินทางควรเป็นกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อน ถ้ามีความจำเป็นต้องจอดรถควรจอดในที่ร่มเท่านั้น - การขนส่งจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดเรียง การจัดเรียง (การเที๊ยบ) การดึงสแลน เลือกรถบรรทุกที่เหมาะสมกับน้ำหนักและจำนวนต้นกล้าที่จะขนส่ง (กรณีที่ฝนตกต้องเผื่อน้ำหนัก เพื่อไม่ให้เกิดการบรรทุกน้ำหนักเกิน) 2) ขนส่งต้นกล้าทางไปรษณีย์ เงื่อนไขในการฝากส่ง - ต้องจองคิวขนส่งกับไปรษณีย์ล่วงหน้า - ต้นกล้าพันธุ์ ไม่ควรมีความสูงเกิน 150 ซม. - เติมน้ำบริเวณโคนต้นไม้ ที่ห่อหุ้มในถุงดำเล็กน้อยพอให้ดินชุ่มชื้น - สวมถุงพลาสติกบริเวณโคนต้นไม้/กล้าพันธุ์ไม้ ให้รัดกุมมั่นคงแข็งแรง เพื่อไม่ให้ดินหลุดออกได้ - บรรจุต้นไม้/กล้าพันธุ์ไม้ลงในกล่อง/ตะกร้า โดยการบรรจุต้นไม้/กล้าพันธุ์ไม้ลงในกล่อง ควรมีน้ำหนักไม่เกิน 20 กก./กล่อง (กรณีที่น้ำหนักเกิน 20 กก. ขอให้แยกกล่องเพื่อเฉลี่ยน้ำหนัก หรือแนะนำให้ใช้บริการแบบเหมา Roll Pallet) - ระบุชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ฝาก และผู้รับบนกล่องให้ครบถ้วนชัดเจน - ระบุข้อความ “ส่งต้นไม้/กล้าพันธุ์ไม้” ด้วยสีแดงหรือสีเข้มบนจ่าหน้าที่ว่างให้ชัดเจน - จัดทำเอกสารระบุข้อความ ข้าพเจ้ายอมรับเงื่อนไขจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ หากเกิดการชำรุดเสียหาย อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของต้นไม้/กล้าพันธุ์ไม้ พร้อมลงลายมือชื่อให้ชัดเจนโดยเอกสารยินยอมการฝากส่งสามารถขอรับจากที่ทำการที่เปิดให้บริการได้
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|