หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-CUAF-1070A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)


1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ซึ่งประกอบด้วยการดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน และการย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องจัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนอย่างสมดุล โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ การให้น้ำในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม การให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ตลอดจนการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถพิเคราะห์ลักษณะและอายุต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายกล้าลงถุงเพาะ คัดต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนเพื่อย้ายขยายถุงเพาะ ตลอดจนมีทักษะในการตัดปลายรากต้นกล้าทุเรียนก่อนการย้ายขยายถุงเพาะ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตรพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A171

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

ให้น้ำที่เหมาะสมกับปริมาณและช่วงเวลา

A171.01 216331
A171

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

ให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับช่วงอายุ

A171.02 216332
A171

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่ถูกต้อง และปลอดภัย

A171.03 216333
A172

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

คัดต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน จากลักษณะ อายุ และความสมบูรณ์ที่เสียบกิ่งยอดติดแล้ว

A172.01 216334
A172

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

ตัดปลายรากขด

A172.02 216335
A172

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ลงถุงเพาะ

A172.03 216336
A172

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ หลังการย้ายต้นกล้าพันธุ์ ตามวิธีการปฏิบัติก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

A172.04 216337

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ทักษะการสังเกต       



2) ทักษะการคำนวน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะในการให้น้ำในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม

  2. มีทักษะในการธาตุอาหารต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในด้านธาตุอาหารพืช



2) มีความรู้ในเกี่ยวกับการเปลี่ยนถุงและตัดรากขด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้



2)  แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา



2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ



3)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                       1) เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



                   2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง








      • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

      • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

      • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง







(ง) วิธีการประเมิน



                      - สอบสัมภาษณ์



                      - แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. แนวทางที่เหมาะสมในการให้น้ำในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม



                       การดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ควรมีการให้น้ำประมาณ 20-30 นาที/ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นตามสภาพอากาศของพื้นที่ โดยในช่วงอนุบาล (10 วันแรก) ควรให้ทุกวัน ซึ่งเกษตรกรกสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้เครื่องมือวัดความชื้นและอุณหภูมิ เพื่อให้น้ำในปริมาณและช่วงที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังมีการนำโทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยการรดน้ำด้วยระบบการให้น้ำอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ได้แก่




  1. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามเวลา

  2. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามความชื้นดิน

  3. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามอัตราคายระเหย

  4. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามความต้องการของพืช



2. แนวทางที่เหมาะสมในการให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับต้นกล้า



         การดูแลรักษากล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ แบ่งช่วงเวลาการให้ธาตุอาหาร ดังนี้



1) ช่วงอนุบาลจะใช้ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำฉีดทางใบ ประมาณ 7-14 วัน/ครั้ง



              2) ช่วงเริ่มแตกยอด อายุประมาณ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยทางดิน



              3) ช่วงอายุที่มีใบ จะเริ่มใส่ปุ๋ยทางดิน เมื่ออนุบาลไปแล้วประมาณ 3 เดือนขึ้นไป



4) ช่วงยอดอ่อน 1 รอบใบ จะให้ปุ๋ยทางดิน เดือนละ 1 ครั้ง



ซึ่งทั้งการใส่ปุ๋ยและรดน้ำนั้นจะสอดคล้องกับสัดส่วนของวัสดุที่ใช้ในการปลูก โดยส่วนใหญ่จะเน้นให้ปุ๋ยทางใบมากกว่าทางดิน



3. แนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช



การดูแลรักษากล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ จะพบศัตรูพืชที่ต้องดำเนินการป้องกันและกำจัด ดังนี้



1) โรคพืช



      1.1) รากเน่าโคนเน่า



ลักษณะอาการของโรครากเน่าโคนเน่า ในกรณีที่เกิดบริเวณราก เริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีด ไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูราก จะพบรากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตายหากเกษตรกรประสบปัญหาแล้ว สามารถใช้สารเคมีเข้าช่วยในการรักษาได้ 



      1.2) ราใบติด



 ใบที่เป็นโรคจะมีจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นสีน้ำตาลอ่อน และแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดติดอยู่เป็นกระจุก และเส้นใยของเชื้อราสามารถลุกลามทำลายใบและกิ่งที่อยู่ติดกันได้ เมื่อพบการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย สามารถกำจัดโดยการพ่นสารเคมี



2) แมลงศัตรูพืช



      2.1) เพลี้ยไฟ



เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทลายทุเรียนในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทให้ใบอ่อนร่วงได้ ซึ่งการป้องกันกำจัดควรติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อจับตัวเต็มวัยจะลดการวางไข่ได้ หรือการใช้สารชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นด้วยเชื้อราราบิวเวอเรีย หรือ ใช้สารเคมี



      2.2) เพลี้ยไก่แจ้



ลักษณะการทำลายทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกิน น้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติเมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อน ของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน การป้องกันกำจัด โดยการวางกับดักกาวเหนียวสีเหลืองในระยะแตกใบอ่อน เพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย หรือใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ



2.3) เพลี๊ยจักจั่นฝอย



ลักษณะการทำลายโดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนทุเรียน เนื่องจากเพลี้ยจั๊กจั่นฝอยทุเรียน มีปากแบบเจาะดูด การดูดกินน้ำเลี้ยงในเซลล์พืชจะไม่ทำให้เซลล์พืชแตก แต่จะใช้น้ำลายซึ่งมีสารพิษ ไปย่อยผนังเซลล์ให้บางลง เพื่อให้ธาตุอาหารที่เพลี้ยจั๊กจั่น ต้องการภายในเซลล์พืชซึมผ่านผนังเซลล์ออกมา ทำให้ขอบใบอ่อนทุเรียน มีอาการม้วนงอ ขอบใบมีลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ระยะต่อมาขอบใบจะม้วนงอเกิดอาการใบไหม้ ที่เรียกว่า "Hopper burn" หากพบการระบาดรุนแรงอาจทำให้ใบอ่อน ยอดอ่อนเกิดอาการไหม้รุนแรงทั้งต้น การป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน

ได้แก่ เชื้อราบิวเวอเรีย หรือ เชื้อราเมธาไรเซี่ยม โดยควรฉีดพ่นเชื้อราทั้งสองชนิด อย่างต่อเนื่อง หรือสลับกัน หรือใช้สารเคมี



3) ศัตรูพืชอื่น ๆ



      3.1) ไรแดง



ไรแดงทุเรียน ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณผิวใบทุเรียน ทำให้เกิดเป็นจุดปะ สีขาวกระจายอยู่ ทั่วบนใบ ต่อมาจุด ปะสีขาวจะแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง จนใบมีอาการขาวซีดและมีคราบสีขาวเกาะติดเป็นรอยขาวๆ คล้ายฝุ่นจับ ถ้าหากมีไรแดงทำลายเป็นปริมาณมากและต่อเนื่องจะทำให้ใบร่วง ป้องกันกำจัดโดยการกำจัดวัชพืชในสวนทุเรียน ซึ่งอาจเป็นแหล่งหลบซ่อน หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน เช่น มะนาว มันสำปะหลัง หมั่นตรวจดูต้นทุเรียนอย่างใกล้ชิด โดยสำรวจไรแดงบนใบทุเรียน ซึ่งมองเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มวิ่งเคลื่อนไหวไปมา



4. แนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนถุงและตัดรากขด



การดูแลรักษากล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ในช่วงการเปลี่ยนถุงและตัดรากขด มีสิ่งที่ต้องคำนึง ดังนี้



- ถอนต้นกล้าจากถุงเพาะชำหรือแปลงเพื่อลงในถุงเพาะชำใหม่ โดยตัดปลายราก

1 ครั้ง ประมาณครึ่งหนึ่ง



- เปลี่ยนถุงเพาะชำและตัดรากครั้งที่ 2 กรณีมีรากขดหรือรากแก่ ตัดประมาณ

1 นิ้ว จากท้องถุง (ก้นถุง) นำดินตรงก้นและด้านข้างออกบางส่วน เพื่อมีพื้นที่ให้รากขยายได้ ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของสภาพดินในถุงเพาะชำ



- เปลี่ยนถุงให้มีขนาดเหมาะสมกับทรงพุ่ม



- การเปลี่ยนถุงเพาะชำกี่ครั้งนั้นขึ้นกับขนาดที่ต้องการ



         - ความสูงของต้นพันธุ์ ที่นิยมใช้มีขนาด 80-200 ซม. แต่สามารถขยายขนาดอื่นได้ เช่น ต้นถอน (ต้นกล้าที่เสียบยอดแล้ว) ขายส่งให้เกษตรกรนำไปชำเพื่ออนุบาลต่อ ทั้งนี้ขนาดของต้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)



    1. ประเมินโดยการสัมภาษณ์

    2. ประเมินโดยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

    3. ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์





ยินดีต้อนรับ