หน่วยสมรรถนะ
เตรียมการเพาะเมล็ดทุเรียนเพื่อเป็นต้นตอ
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-OIHU-1068A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เตรียมการเพาะเมล็ดทุเรียนเพื่อเป็นต้นตอ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008) 1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมและเพาะเมล็ดทุเรียนเพื่อเป็นต้นตอ ประกอบด้วย การเตรียมเมล็ด การจัดการเมล็ดและวิธีการเพาะเมล็ดทุเรียน ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องจัดหาและคัดเมล็ดที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง ทำความสะอาดเมล็ด จัดการเมล็ดแช่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง เพาะเมล็ดและการกำหนดเป้าหมายและตรวจสอบการเตรียมและเพาะเมล็ดทุเรียนทั้งคุณภาพและปริมาณ สามารถปรับปรุงกระบวนการการเตรียมและเพาะเมล็ดทุเรียน โดยประเมินข้อมูลเพื่อพัฒนาการการเตรียมและเพาะเมล็ดทุเรียน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด(ISCO, 2008) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A151 เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์ทุเรียน |
เลือกพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการเป็นต้นตอพันธุ์ทุเรียน |
A151.01 | 216317 |
A151 เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์ทุเรียน |
จัดหาเมล็ดทุเรียนเพื่อใช้เพาะเป็นต้นตอพันธุ์ทุเรียน |
A151.02 | 216318 |
A151 เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์ทุเรียน |
คัดเลือกเมล็ดทุเรียนที่สมบูรณ์เพื่อทำต้นตอ |
A151.03 | 216319 |
A152 จัดการเมล็ดทุเรียนเพื่อป้องกัน กำจัดปราศจากศัตรูพืช |
ล้างทำความสะอาดเมล็ดทุเรียน |
A152.01 | 216320 |
A152 จัดการเมล็ดทุเรียนเพื่อป้องกัน กำจัดปราศจากศัตรูพืช |
กำหนดชนิดและปริมาณการใช้สารจำกัดโรคและแมลงศัตรูพืช |
A152.02 | 216321 |
A153 เพาะเมล็ดทุเรียนตามเป้าหมายที่กำหนด |
เตรียมแปลงเพาะหรือถุงเพาะที่ใส่วัสดุเพาะตามสัดส่วนที่เหมาะสม |
A153.01 | 216322 |
A153 เพาะเมล็ดทุเรียนตามเป้าหมายที่กำหนด |
นำเมล็ดปักลงในวัสดุเพาะ ในแนวตั้ง ความลึกครึ่งหนึ่งของเมล็ด |
A153.02 | 216323 |
A153 เพาะเมล็ดทุเรียนตามเป้าหมายที่กำหนด |
อนุบาลต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด |
A153.03 | 216324 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
มีทักษะการสืบค้นข้อมูล |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) มีความรู้ลักษณะเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ 2) มีความรู้ในการดูแลหลังจากการเพาะเมล็ด 3) มีความรู้ในในการใช้สารเคมีกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงานหรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ 2) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการเพาะเมล็ด การจัดเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ การแช่เมล็ดป้องกันกำจัดเชื้อรา 2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง
(ง) วิธีการประเมิน 1) การสอบสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1.เลือกพันธุ์ทุเรียนที่เหมาะสมต่อการเป็นต้นตอพันธุ์ทุเรียน แหล่งที่มาของเมล็ดทุเรียนที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ การคัดเมล็ดทุเรียนทำต้นตอ ลักษณะเมล็ดทั้งรูปร่างและขนาด เช่น เมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านทางใต้ หรือ พันธุ์ชะนี หรือ พวงมณี หรือ ตะพาบน้ำ 2.จัดหาและรวบรวมเมล็ดทุเรียนเพื่อใช้เพาะเป็นต้นตอพันธุ์ทุเรียน การเลือกเมล็ดที่มีความสมบูรณ์และไม่มีร่องรอยการเข้าทำลายของโรคหรือแมลง คัดแยกเมล็ดทุเรียนที่สมบูรณ์เพื่อทำต้นตอ โดยพิจารณาความสดใหม่ของเมล็ดหลังจากแกะออกจากเปลือก 3.นำเมล็ดล้างน้ำให้สะอาด ลอกเยื่อหุ้มเมล็ด ตัดแต่งให้สะอาดเพื่อไม่ให้มีเนื้อทุเรียนติดซึ่งจะทำให้เมล็ดเกิดเชื้อราและนำไปแช่ในสารจำกัดโรคและแมลงในปริมาณที่เหมาะสม 4.เตรียมวัสดุเพาะ รดน้ำผสมสารป้องกันเชื้อราลงในวัสดุเพาะก่อน 1 วัน สารเคมี เช่น อาลิเอท ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ เมทาเลกซิล 4.นำเมล็ดที่เลือกมาเพาะในถุงเพาะหรือแปลงเพาะที่ใส่วัสดุเพาะตามอัตราส่วนของวัสดุเพาะ การวางเมล็ดลงในกระบะเพาะและวัสดุที่ใช้หรือกระบะเพาะชำ (นำเมล็ดมาเพาะโดยการนำส่วนที่เป็นหัวสีขาว ปักลงวัสดุเพาะ ลึก 1/2 ของเมล็ด ปักในแนวตรงหรือเอียงเล็กน้อยและใช้ขุยมะพร้าวโรยทับประมาณ ¾ ของเมล็ด) 5.อนุบาลต้นอ่อนจากการเพาะเมล็ดในเรือนเพาะชำ รดน้ำให้ชุ่มตั้งไว้ที่ไม่ต้องมีแสงหรือน้ำฝน หรืออาจพรางแสง 60-80 % หลังเพาะประมาณ 20-25 วัน ทิ้งไว้ความสูงพอประมาณนำไปเสียบยอด |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|