หน่วยสมรรถนะ
ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริง ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท วาดลวดลายสามมิติ นูนต่ำ ลอยตัว การเพ้นท์ลายเส้นแบบละเอียด ด้วยหลักการทางศิลปะในการทำเล็บ
สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HDS-BTUA-266B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริง ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท วาดลวดลายสามมิติ นูนต่ำ ลอยตัว การเพ้นท์ลายเส้นแบบละเอียด ด้วยหลักการทางศิลปะในการทำเล็บ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 5142 ช่างเสริมสวยและผูปฏิบัติงานที่เกี่ยวของ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการบริการเพ้นท์ การออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริงด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท การเพ้นท์ลายเส้นแบบละเอียดด้วยหลักการทางศิลปะ การออกแบบตกแต่งเล็บปลอม รวมทั้งการออกแบบวาดลวดลายบนเล็บโดยสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานเทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อาชีพช่างเสริมสวย |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
1140801 ใช้ความรู้เรื่องทฤษฎีสี
ในการออกแบบตกแต่งลวดลายพื้นฐานด้วยหลักการทางศิลปะ ติด
ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท |
1. ใช้เทคนิคด้วยสีมากกว่า 2 สีด้วยเทคนิคที่หลากหลาย |
1140801.01 | 216275 |
1140801 ใช้ความรู้เรื่องทฤษฎีสี
ในการออกแบบตกแต่งลวดลายพื้นฐานด้วยหลักการทางศิลปะ ติด
ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท |
2.
ออกแบบตกแต่งลวดลายจากวัสดุตกแต่งเล็บ |
1140801.02 | 216276 |
1140802 เลือกใช้เครื่องมือในการตกแต่งเล็บได้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท |
1.
เลือกสีทาเล็บได้ถูกวิธี |
1140802.01 | 216277 |
1140802 เลือกใช้เครื่องมือในการตกแต่งเล็บได้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท |
2. ใช้วัสดุ
อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ตกแต่งได้ถูกวิธี |
1140802.02 | 216278 |
1140803 บริการเพ้นท์
ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริง ด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท |
1. วาดภาพเสมือนได้ |
1140803.01 | 216279 |
1140803 บริการเพ้นท์
ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริง ด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท |
2. ใช้เทคนิคผสมสีฐานสอง/ขั้นที่สอง
มากกว่า 3 สีด้วยเทคนิคที่หลากหลายได้ |
1140803.02 | 216280 |
1140803 บริการเพ้นท์
ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริง ด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท |
3. ทำการเพ้นท์ลายเส้นแบบละเอียดด้วยหลักการทางศิลปะได้
เช่น ลายลูกไม้ ภาพสัตว์ ภาพคนเสมือนจริง ลายหกมิติ เป็นต้น |
1140803.03 | 216281 |
1140804 ออกแบบตกแต่งเล็บปลอม |
1. ใช้วัสดุตกแต่งเล็บฝังลาย เช่น สติ๊กเกอร์ ดอกไม้ ลูกไม้ ผงกากเพชร
ฟีโม่ ฯลฯ ได้ถูกต้อง |
1140804.01 | 216282 |
1140804 ออกแบบตกแต่งเล็บปลอม |
2. วาด ปั้น ลวดลายข้างในเล็บปลอมให้เกิดมิตินูนต่ำ หรือการฝังลวดลายในเล็บได้ |
1140804.02 | 216283 |
1140804 ออกแบบตกแต่งเล็บปลอม |
3. วาด ปั้น ลวดลายข้างบนเล็บปลอมให้เกิดมิติลอยตัว หรือเกิดภาพ 3 มิติ ได้ |
1140804.03 | 216284 |
1140804 ออกแบบตกแต่งเล็บปลอม |
4. ออกแบบตกแต่งเล็บปลอมได้อย่างมีมิติหลากหลายรูปแบบ |
1140804.04 | 216285 |
1140805 ออกแบบ วาดลวดลายบนเล็บโดยสร้างสรรค์ให้เกิดผลงาน
เทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ |
1.ออกแบบลวดลายด้วยเทคนิคทีหลากหลายได้ |
1140805.01 | 216286 |
1140805 ออกแบบ วาดลวดลายบนเล็บโดยสร้างสรรค์ให้เกิดผลงาน
เทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ |
2.
ใช้พู่กันด้วยเทคนิคทีแปรงได้ |
1140805.02 | 216287 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ และสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ให้บริการเพ้นท์ลาย ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริงด้วยวัสดุตกแต่ง เพ้นท์ลายเส้นแบบละเอียดด้วยหลักการทางศิลปะ ออกแบบตกแต่งเล็บปลอม รวมทั้งออกแบบวาดลวดลายบนเล็บโดยสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานเทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ
ผู้รับการประเมินต้องเข้าใจพื้นฐานงานศิลปะเบื้องต้นและมีความรู้เรื่องทฤษฎีสี ใช้เทคนิคด้วยสีมากกว่า 2 เฉดด้วยเทคนิคที่หลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ออกแบบผลงานให้เกิดผลงานใหม่ สร้างเทรนแฟชั่นใหม่ๆของลวดลายบนเล็บได้ วาดภาพเสมือน ออกแบบลวดลายเสมือนจริงด้วยเทคนิคทีแปรง สามารถให้บริการเพ้นท์ ออกแบบตกแต่ง ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภทได้เหมาะสมกับลักษณะงาน สามารถออกแบบตกแต่งลวดลายจากวัสดุตกแต่งเล็บ เลือกใช้พู่กันและวาดลายเส้น สามารถให้บริการงานฝังลวดลายในชิ้นงาน เช่น การใช้สติ๊กเกอร์ ดอกไม้แห้ง กากเพชร ลูกไม้ ฟีโม่ ฯลฯ สามารถปั้นนูนสร้างสรรคลวดลายบนชิ้นงาน เช่น การปั้นสามมิติข้างในเล็บและข้างนอกเล็บด้วยวัสดุที่เกี่ยวข้อง เช่น อะคริลิค
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. ทฤษฎีสี (color theory) ทฤษฎีสี (color theory) มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการผสมและเลือกสีในการออกแบบลวดลายบนเล็บ ทั้งสีธรรมดาและสีเจล เพื่อให้เกิดความรู้สึกทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อง่ายต่อการออกแบบเรานิยมใช้หลักการทฤษฎีการจับคู่สี (Color wheel)
รูปที่ 5 วงล้อสี (color wheel) Credit by https://www.dulux.co.th/th/inspiration/colour-theory-made-easy, [Retrieved on March 13th , 2020] จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง) วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย (ที่มา: ทฤษฎีการจับคู่สี (Color wheel) แม่สี คือ สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน Campus star โดย Root) วงล้อสีแบบดั้งเดิมเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการจัดระบบสีหลักและช่วยให้คุณสามารถผสมผสานเฉดสีเข้าด้วยกันเพื่อตกแต่งพื้นที่หรืองานต่าง ๆ องค์ประกอบหลักของสีประกอบด้วยสามส่วนด้วยกันคือ 1) สีขั้นต้น (primary colours) ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน สีเบสสามสีนี้เป็นพื้นฐานของสีอื่นๆ ทั้งหมด 2) สีขั้นที่สอง (secondary colours) ประกอบด้วยสีส้ม สีม่วง และสีเขียว แต่ละสีเหล่านี้เกิดขึ้นจากแม่สีสองในสาม กล่าวคือ สีแดงและสีเหลืองผสมกันเกิดเป็นสีส้ม สีฟ้าและสีแดงผสมกันเกิดเป็นสีม่วง และสีฟ้ากับสีเหลืองผสมกันเกิดเป็นสีเขียว 3) สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เกิดจากการผสมแม่สีกับสีขั้นที่สอง หรือการผสมสีขั้นที่สองจำนวนสองสีเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น สีบรั่นดี (สีเหลืองผสมสีเขียว) สีแดงอมม่วง (สีแดงผสมสีม่วง) (ที่มา: www.Dulux.co.th) 4) สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่เกือบดำ ทั้งนี้การเลือกใช้สีในวงล้อสีมีหลายหลายวิธี เช่น คู่สี (Complementary color) ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้ ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ และถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี สีข้างเคียง (Analogous color) เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน (harmony) สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือสีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน การใช้พู่กันขนาดต่างๆ การเพ้นท์และตกแต่งเล็บมีพู่กันเพ้นท์หลายรูปแบบต่างกันทั้งหัวกลม หัวแบน เส้นยาว เส้นสั้น ขนบาง ขนหนา แต่ละแบบให้ภาพที่ต่างกันเช่นถ้าต้องการวาดภาพแบบพู่กันจีนต้องใช้พู่กันหัวกลม หรือถ้าจะวาดภาพโฟล์กอาร์ต (Folk Art) ต้องใช้พู่กันหัวแบนสี่เหลี่ยม หรือถ้าจะวาดลายเส้นยาวให้ใช้พู่กันขนยาวเบอร์ 000 เพื่อใช้ตวัดเส้นโค้ง พู่กันแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะภาพที่ได้จะออกมาแตกแต่งกัน 2. การออกแบบตกแต่งเล็บ การออกแบบตกแต่งเล็บที่สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางกายเกิดความพึ่งพอใจแก่ประสาทสัมผัสต่อความรู้สึกของลูกค้า ความพอใจอันเกิดจากความประณีตสวยงาม ความกลมกลืน แก่ประสาทสัมผัส (ที่มา: คู่มือ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ สำหรับช่างเล็บมืออาขีพ ฉบับที่ 1/2019 หน้า 32 สถาบันชมรมช่างเล็บไทย) เทคนิคที่ใช้มีหลากหลาย เช่น เทคนิคการไล่สี (Sheading หรือ Ombre Coloring) เป็นการไล่สีมากกว่า 2 เฉดช่วยทำให้เกิดความเนียนกลมกลืนสวยงาม การใช้ผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งลวดลายเล็บ ส่วนมากจะต้องมีเครื่องมือใช้ร่วมกับอุปกรณ์คู่กันเพื่อสร้างลวดลาย วัสดุตกแต่งเล็บ (Nail Accessories) โดยทั่วไปแบ่งออก 3 ประเภทดังนี้ 1. ประเภทที่นำมาติดตกแต่งสำเร็จรูป เช่น สติ๊กเกอร์ ฟอยล์ (Foil) เพชร (rhinestone) ลูกไม้ ทองคำเปลว ฟีโม่ สติ๊กเกอร์ นี้นำมาตกแต่งได้ทั้งในและนอกเล็บต่อ โดยใช้เจล หรือ กาวติด 2. วัสดุที่ต้องนำมาประดิษฐ์อีกทีเพื่อการตกแต่ง เช่น ผงอะคริลิคสี เจลปั้น บล็อกยาง ที่ต้องนำมาปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ตัวการ์ตูน โบว์ ดาว ฯลฯ ก่อนเอาไปตกแต่ง 3. ประเภทสีพิเศษที่ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์เพื่อให้เกิดลวดลายเช่น สีแคทอายส์ ที่ต้องใช้กับก้านแม่เหล็กเพื่อดูดให้สีเป็นแสง เงา รูปร่าง สีน้ำ ที่ต้องใช้รองพื้นก่อนสร้างลวดลาย สีมาร์เบิ้ลหรือสีลายหินอ่อน ที่ต้องใช้น้ำยากระจายเม็ดสี สีไททาเนี่ยม หรือสีกระจก ที่ต้องใช้ผงขัดให้ขึ้นเงา การใช้พู่กันสะบัดทีแปรง งานศิลปะแนวประยุกต์ที่การใช้ลวดลายไม่ต่อเนื่องที่เน้นเส้นให้มีน้ำหนักใหญ่เล็ก สั้นยาว แหลมคมต่างกัน เป็นการใช้วิธีสะบัดพู่กันให้เกิดความลึกของภาพที่ทำให้เกิดมิติที่มีพลังซ่อนในภาพเช่นภาพเกลียวคลื่น ภาพสายน้ำ ภาพเกลียวบิดผ้า ภาพสายลมภาพผนังเก่า วินเทจ ฯลฯ และใช้วัสดุอุปกรณ์อื่นมาตกแต่งเพิ่มหลังจากสะบัดพู่กันเสร็จ 3. การออกแบบตกแต่งเล็บปลอมอย่างมีมิติ การออกแบบตกแต่งเล็บปลอมอย่างมีมิติ เป็นรูปแบบการตกแต่งเล็บที่เพิ่มมูลค่าผลงานให้ดูสร้างสรรคและมีมิติมากยิ่งขึ้น ส่วนมากนิยมให้บริการรูปแบบฝังลายบนแผ่นเล็บด้วยผลิตภัณฑ์เจลหรืออะคริลิค วัสดุที่นิยมนำมาใช้จะเป็น ดอกไม้ปลอม สติ๊กเกอร์ลวดลายต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้การปั้นนูนบนชิ้นงานก็เป็นรูปแบบการให้บริการที่ผู้ให้บริการควรฝึกฝนทักษะอยู่เสมอ ส่วนมากนิยมใช้ผลิตภัณฑ์อะคริลิคในการสร้างสรรค์คผลงาน แต่ก็มีบ้างที่ใช้สีเจลสำหรับปั้นนูนเช่นเดียวกัน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน (ใช้ความรู้เรื่องทฤษฎีสี ในการออกแบบตกแต่งลวดลายพื้นฐานด้วยหลักการทางศิลปะ ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 18.2 เครื่องมือประเมิน (เลือกใช้เครื่องมือในการตกแต่งเล็บได้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 18.3 เครื่องมือประเมิน (บริการเพ้นท์ ออกแบบลวดลายภาพเสมือนจริง ด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน 18.4 เครื่องมือประเมิน (ออกแบบตกแต่งเล็บปลอม) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน 18.5 เครื่องมือประเมิน (ออกแบบ วาดลวดลายบนเล็บโดยสร้างสรรค์ให้เกิดผลงาน เทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน |