หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของงานทำเล็บ

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-LALV-260B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของงานทำเล็บ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 5142 ช่างเสริมสวยและผูปฏิบัติงานที่เกี่ยวของ    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการจัดเตรียมและเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในการทำเล็บ รู้ข้อมูล ส่วนประกอบสำคัญ คุณสมบัติ วิธีการใช้งาน ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้งาน วิธีการดูแลรักษาของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำเล็บ เพื่อพิจารณารูปแบบการใช้งานและบริการ รวมทั้งแนะนำขั้นตอนการให้บริการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพช่างเสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1140201

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์

1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้อย่างถูกสุขอนามัย

1140201.01 216247
1140201

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์

2. เตรียมการให้บริการอย่างถูกสุขอนามัย เช่น สถานที่ให้บริการทำเล็บ บุคลิกภาพและการแต่งกายของผู้ให้บริการ ความสะอาดของสถานที่ ฯลฯ

1140201.02 216248
1140202

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน

1. รู้ส่วนประกอบสำคัญ คุณสมบัติและวิธีการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์เพื่อเลือกใช้อย่างถูกต้อง

1140202.01 216249
1140202

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน

2. รู้ข้อห้ามและข้อควรระวังของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและผลิตภัณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการทำเล็บ

1140202.02 216250
1140202

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน

3. ลำดับการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการได้อย่างถูกต้อง

1140202.03 216251
1140202

เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน

4. รู้วิธีการเก็บ ดูแลรักษา ฉลาก วันหมดอายุ เลขที่ใบอนุญาต และเครื่องหมายรับรอง

1140202.04 216252
1140203

แนะนำขั้นตอนการให้บริการ

1. แนะนำการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ

1140203.01 216253
1140203

แนะนำขั้นตอนการให้บริการ

2. สามารถตอบคำถามผู้รับบริการเกี่ยวกับขั้นตอนและผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการ

1140203.02 216254

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการเตรียมและเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ในการทำเล็บ

  2. ทักษะในการอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์และสารเคมี ข้อห้ามข้อควรระวังของการใช้ผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับเล็บ

  2. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการให้บริการทำเล็บแต่ละทุกประเภท

  3. ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ และสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

เตรียมและเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ในการทำเล็บ






    • คำแนะนำ





ผู้รับการประเมินต้องสามารถเตรียมและเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการให้บริการทำเล็บ โดยวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดถูกสุขอนามัย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการให้บริการทำเล็บเป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้ให้บริการที่จำเป็นต้องทราบ โดยละเอียดมีดังต่อไปนี้



ข้อมูลของผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่เกี่ยวข้อง เข้าใจส่วนประกอบสำคัญ คุณสมบัติและการทำงานของสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เพื่อเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม สามารถอ่านและเข้าใจฉลากของผลิตภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพ วิธีการใช้งาน การดูแลรักษา และวันหมดอายุ



ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่ก่อให้เกิดจากการทำเล็บ



มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน มีหลากหลายองค์กรทั้งหน่วยงานเอกชนและรัฐบาลเข้ามาสร้างกฎเกณฑ์และสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวาง ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
























































CE



เป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป



 



มอก.



(Thai Industrial Standard) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง สิ่งหรือเกณฑ์ทางเทคนิคที่กำหนดขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะระบุคุณภาพของวัตถุดิบ คุณลักษณะที่สำคัญที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพการใช้งาน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มอก



อย.



สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้าน การคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์





MSDS



(Material Safety Data Sheet) ตัวเอกสารจะมีคำอธิบายประกอบอยู่หลายเรื่อง แต่ที่สำคัญกับการขนส่งคือ จะบอกว่าสินค้าตัวนี้ต้องดูแลยังไงนั่นเอง ผู้ส่งสามารถดูเลข UN No., Class และ ระดับของ Package



 



FDA



(Food and Drug Administration) องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานจากรัฐบาลกลาง โดยคอยทำหน้าที่สอดส่องดูแลสวัสดิภาพด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้ยา อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องสำอางต่างๆ ของชาวอเมริกัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น อย. ในสหรัฐฯ มีหน้าที่บริหารควบคุมสินค้า ยาสำหรับมนุษย์และสัตว์ เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ เครื่องสำอาง และสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ที่ปล่อยรังสีออกมา





ISO 9001



ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System: QMS) ที่มาตรฐานองค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่กำกับดูแลทั้งการออกแบบ การพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ ซึ่ง ISO 9001 นี้เองจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีของการดำเนินงานภายในองค์กร จะมีการควบคุม และตรวจสอบขั้นตอน รวมถึงวิธีการทำงานผ่านระบบอย่างละเอียด เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับองค์กร





GMP



มาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิต (Good Manufacturing Practice) ตลอดจนกระบวนการควบคุมให้ปฏิบัติตามของกองบริหารคุณภาพผลิตภัณฑ์แห่งรัฐหรือชุมชนนเพื่อการวิจัย การผลิต การบริโภค และการประกอบการค้าที่ดีขึ้น รายการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบและปฏิบัติตาม แตกต่างกันบ้าง ในแต่ละชุมชน แต่จุดมุ่งหมายในการสร้างมาตรฐาน GMP ขึ้นอยู่กับการลดความเสี่ยงในปัจจัยและวัสดุที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค โดยกำหนดให้มีมาตรฐานทางสาธารณะที่สะอาดและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จีเอ็มพี เรียกว่า ระบบบริหารงานคุณภาพ เริ่มแรกนั้นใช้เป็นกระบวนการควบคุมวัตถุมีพิษและวิธีการทางเภสัช






 



การเตรียมสถานที่ให้บริการ คือ เตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการสม่ำเสมอ เช่น ความสะอาดบริเวณร้าน ที่ให้บริการทำเล็บ หมั่นตรวจสภาพของวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ให้พร้อมสำหรับบริการ



บุคลิกภาพและการแต่งกาย คือ ลักษณะทางกายและกิริยาที่แต่ละบุคคลนั้นแสดงออกมา ทั้ง พฤติกรรม การแสดงออก รูปร่าง การแต่งกาย เป็นต้น ผู้ให้บริการควรดูแลความสะอาดร่างกาย ไม่ให้ตัวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ การแต่งกายที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการบริการและความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้รับบริการ



การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับเล็บ อาจจะเกิดจากการใช้อุปกรณ์ผิดวิธีทำให้เลือดออก ถ้าแผลเล็กให้กดลงบนบาดแผลโดยตรง ถ้าแผลใหญ่ให้ใช้ฝ่ามือกดปลายแผลไว้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ผ้าสะอาดพับหนาๆ กดลงบนบาดแผล หากเป็นกรณีฉุกเฉินให้ใช้เสื้อหรือผ้าเช็ดหน้าแทน โดยกดบริเวณบาดแผลนานประมาณ 10 นาที กรณีที่ผู้รับบริการมีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์ บริเวณเล็บ มือและเท้า ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันทีและควรปรึกษาแพทย์ในลำดับต่อไป (ที่มา : หนังสือปฐมพยาบาลคู่บ้าน โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)





รูปตัวอย่างภาพบรรยากาศภายในร้านทำเล็บ credit by Instagram: wenaildit



 



แนะนำรูปแบบการให้บริการ คือ ให้ข้อมูลขั้นตอนการบริการทำเล็บ สามารถแยกประเภทการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบริการ และสามารถตอบคำถามสำหรับการบริการได้ ผู้รับบริการต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการเป็นอย่างดี สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับบริการได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        18.1 เครื่องมือประเมิน (จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์)



1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



          18.2 เครื่องมือประเมิน (เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน)



1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



        18.3 เครื่องมือประเมิน (แนะนำขั้นตอนการให้บริการ)



1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ