หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์สภาพผิวรอบดวงตา และวิเคราะห์โครงหน้าเพื่อออกแบบทรงขนตา

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-BEZZ-247B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์สภาพผิวรอบดวงตา และวิเคราะห์โครงหน้าเพื่อออกแบบทรงขนตา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 5142 ช่างเสริมสวยและผูปฏิบัติงานที่เกี่ยวของ    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการวิเคราะห์สภาพผิว  และวิเคราะห์โครงหน้าเพื่อออกแบบทรงขนตารู้และเข้าใจหลักการต่อขนตาวิเคราะห์สภาพเปลือกตาและรูปทรงดวงตาเพื่อออกแบบทรงขนตา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
8. กลุ่มอาชีพ (Sector)อาชีพช่างเสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ มาตรการควบคุมการประกอบกิจการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย พ.ศ.2562 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1120101

วิเคราะห์สภาพผิว รอบดวงตา  และวิเคราะห์โครงหน้าเพื่อออกแบบทรงขนตา  

1.รู้และเข้าใจเส้นวงจรขนตาและสภาพขนตา วิเคราะห์สภาพผิวรอบดวงตา

1120101.01 216194
1120101

วิเคราะห์สภาพผิว รอบดวงตา  และวิเคราะห์โครงหน้าเพื่อออกแบบทรงขนตา  

2. รู้และเข้าใจโครงหน้า ใบหน้าของผู้รับบริการเพื่อออกแบบทรงขนตา 

1120101.02 216195
1120102

วิเคราะห์สภาพเปลือกตาและรูปทรงดวงตาเพื่อ

ออกแบบทรงขนตา

1. วิเคราะห์รูปทรงดวงตา ผิวเปลือกตา ของผู้รับบริการ

1120102.01 216196
1120102

วิเคราะห์สภาพเปลือกตาและรูปทรงดวงตาเพื่อ

ออกแบบทรงขนตา

2. วิเคราะห์บุคลิกภาพของผู้รับบริการเพื่อออกแบบให้เหมาะสม

1120102.02 216197

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการวิเคราะห์สภาพผิวรอบดวงตา โครงหน้า รูปทรงดวงตา เปลือกตา เพื่อที่จะได้เลือกรูปแบบของขนตาที่เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 ความรู้เกี่ยวสภาพผิวรอบดวงตา รูปหน้า รูปทรงดวงตา เพื่อการออกแบบที่เหมาะสม รวมทั้งมี ความรู้เรื่องวงจรชีวิตของขนตาอย่างถูกต้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์



3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ และสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

วิเคราะห์สภาพผิวรอบดวงตา  วิเคราะห์โครงหน้า วิเคราะห์สภาพเปลือกตาและรูปทรงดวงตาเพื่อออกแบบทรงขนตา




  • คำแนะนำ



ผู้รับการประเมินต้องรู้และเข้าใจเส้นวงจรขนตาและสภาพขนตา รู้และเข้าใจรูปทรงดวงตา ผิวเปลือกตา ของผู้รับบริการ วิเคราะห์รูปทรงโครงสร้างใบหน้าของผู้รับบริการเพื่อทำการออกแบบขนตา วิเคราะห์บุคลิกภาพของผู้รับบริการเพื่อออกแบบให้เหมาะสม




  • คำอธิบายรายละเอียด



วงจรของขนตานั้นมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน 




  1. ขั้นเริ่มต้น (Anagen) กระบวนการนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเติบโตของขนตา และขนตาเหล่านี้จะยาวขึ้นตามโปรแกรมที่ร่างกายได้ตั้งไว้ กระบวนการนี้จะมีระยะเวลาระหว่าง 30 ถึง 45 วัน

  2. ขั้นเปลี่ยนแปลง (Catagen) เมื่อขนตาได้ยาวขึ้นไปถึงจุดที่เต็มที่แล้ว ขนตาก็จะเริ่มหยุดยาวขึ้นและรูขุมขนจะหดตัวลง และถ้าขนตาหลุดหรือถูกดึงออกมา ในระยะนี้ก็จะไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้จนกว่าระยะรอบนี้จะหมดลง ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์

  3. ขั้นหยุดการเติบโต (Telogen) กระบวนการนี้จะใช้ช่วงที่นานที่สุดของวงจรขนตา ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลามากกว่า 100 วัน โดยที่ขนตาของเรานั้นจะหลุดร่วงเหมือนในระยะเปลี่ยนแปลง Catagen และโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ก่อนที่ขนตาใหม่จะเริ่มผลิตขึ้นมาใหม่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (วิเคราะห์สภาพผิว รอบดวงตา  และวิเคราะห์โครงหน้าเพื่อออกแบบทรงขนตา  )



1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



          18.2 เครื่องมือประเมิน (วิเคราะห์สภาพเปลือกตาและรูปทรงดวงตาเพื่อออกแบบทรงขนตา)



1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์



3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ