หน่วยสมรรถนะ
จัดเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ในการต่อขนตาที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีการสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานสากล
สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HDS-KHDL-248B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ในการต่อขนตาที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีการสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานสากล |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 5142 ช่างเสริมสวยและผูปฏิบัติงานที่เกี่ยวของ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการจัดเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ในการต่อขนตาที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีการสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานสากลจัดหาวัสดุขนตาแบบต่างๆ เพื่อการต่อขนตาที่อย่างถูกหลักวิธี และถูกต้องตามมาตรฐานสากลความรู้ความเข้าใจในรูปแบบชนิดของขนตาชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของผู้รับบริการ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อาชีพช่างเสริมสวย |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ มาตรการควบคุมการประกอบกิจการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย พ.ศ.2562 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
1120201 จัดหาวัสดุขนตาแบบต่างๆ เพื่อการต่อขนตาที่อย่างถูกหลักวิธี
และถูกต้องตามมาตรฐานสากล |
1.
รู้จักชนิดและประเภทของขนตาแบบต่าง ๆ รู้จักวัสดุที่ใช้ทำขนตา |
1120201.01 | 216198 |
1120201 จัดหาวัสดุขนตาแบบต่างๆ เพื่อการต่อขนตาที่อย่างถูกหลักวิธี
และถูกต้องตามมาตรฐานสากล |
2. รู้จักชนิดของขนตา
คุณลักษณะของขนตาแต่ละประเภท |
1120201.02 | 216199 |
1120202 มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบชนิดของขนตาชนิดต่าง
ๆ ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของผู้รับบริการ |
1. รู้จักขนิดของขนตา
ความหนาของขนตา ความงอนในระดับต่าง ๆ ของเส้นขนตา |
1120202.01 | 216200 |
1120202 มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบชนิดของขนตาชนิดต่าง
ๆ ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของผู้รับบริการ |
2.
ออกแบบตกแต่งทรงในการต่อขนตาให้เข้ากับบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล |
1120202.02 | 216201 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะการตกแต่งเส้นขนตา (ข) ความต้องการด้านความรู้ ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนตา ชนิดของขนตา ความหนาของขนตา ระดับความงอนของขนตา |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ และสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
จัดเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ในการต่อขนตาที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
ผู้รับการประเมินต้องรู้จักชนิดและประเภทของขนตาแบบต่าง ๆ รู้จักวัสดุที่ใช้ทำขนตา รู้จักชนิดของขนตา คุณลักษณะของขนตาแต่ละประเภท รู้จักขนิดของขนตา ความหนาของขนตา ความงอนในระดับต่าง ๆ ของเส้นขนตา ออกแบบตกแต่งทรงในการต่อขนตาให้เข้ากับบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
ชนิดของขนตาที่ทำการต่อมีความแตกต่างกัน ความหนาบางแตกต่างกัน ความงอนแตกต่างกัน ดังรูป
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อขนตาได้แก่ ขนตาธรรมชาติของคนเรามีขนาดไม่เท่ากัน โดยมีความอวบเฉลี่ยอยู่ที่ 0.10-0.15 มิลลิเมตร (ไม่ถึง 1 มิลลิเมตร) ส่วนความยาวจะอยู่ที่ต่ำกว่า 10 มิลลิเมตร-15 มิลลิเมตร ความงอน และความยาวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขณะที่ขนตาลูกค้าบางคนสั้นกุดและทิ่มลงจนเกือบจะปิดดวงตา ทำให้ช่างต่อขนตาต้องมีเทคนิคเฉพาะเพื่อหาความลงตัวที่เข้ากับสภาพขนตาเดิมของลูกค้า โดยปกติเวลาต่อขนตาช่างจะนำเส้นขนซึ่งทำจากไฟเบอร์(เส้นไหม) ชนิดพิเศษ ที่มีความอ่อนนุ่มและมีความหนาเท่ากันหรือน้อยกว่าขนตาจริง มาวางแทรกตามไรขนตาหรือติดชิดขนตาเดิมให้มากที่สุด แล้วใช้กาวที่ไม่เป็นอันตรายกับดวงตายึดโคนขนให้ติดกับแนวขนตาเรา
ชนิดของขนตา วัสดุที่นำมาใช้ในการต่อขนตา มีทั้งขนมิงค์ ขนสังเคราะห์ ขนมิงค์เทียม และเส้นไหม ซึ่งวัสดุที่ได้รับความนิยมจะมีขนมิงค์ ขนสังเคราะห์ ที่มีขนนิ่มกำลังพอดี มีความใกล้เคียงกับขนตาจริง มีน้ำหนักเบา สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
คุณสมบัติของกาวต่อขนตา เนื้อกาวไม่เหลว รึข้นจนเกินไป ต้องไม่มีกลิ่นฉุนมาก เวลาต่อกาวต้องไม่จับเป็นก้อน เมื่อต่อเสร็จกาวจะแห้ง ติดแน่นดูเบาเป็นธรรมชาติ กาวต่อขนตาควนมีคุณสมบัติไม่แห้งเร็วหรือช้าเกินไป
ข้อควรระวังในการต่อขนตาเกี่ยวกับกาวต่อขนตา กาวต่อขนตามักมีส่วนผสมของ “ฟอร์มาลดีไฮด์” (formaldehyde) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของขนตาจริง และป้องกันไม่ให้เกิดระคายเคืองต่อดวงตา กาวที่ใช้ต่อขนตานั้นจึงจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานก่อนการนำมาใช้ต่อขนตา และหากไม่แน่ใจว่าผู้รับบริการจะแพ้สารชนิดดังกล่าวหรือไม่ ควรทดสอบอาการแพ้ก่อนทำการต่อขนตา |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน (จัดหาวัสดุขนตาแบบต่างๆ เพื่อการต่อขนตาที่อย่างถูกหลักวิธี และถูกต้องตามมาตรฐานสากล) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน 18.2 เครื่องมือประเมิน (มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบชนิดของขนตาชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของผู้รับบริการ) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน |