หน่วยสมรรถนะ
ดำเนินการสักคิ้วโดยใช้หลักการทางกายวิภาคศาสตร์
สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HDS-OSSD-244B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ดำเนินการสักคิ้วโดยใช้หลักการทางกายวิภาคศาสตร์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ISCO 5142 ช่างเสริมสวยและผูปฏิบัติงานที่เกี่ยวของ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการตรวจสอบสถานที่และสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งอุปกรณ์ก่อนการสักคิ้ว และการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อาชีพช่างเสริมสวย |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พระราชบัญญัติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2560 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ มาตรการควบคุมการประกอบกิจการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย พ.ศ.2562 คำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกอบกิจการ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
110502 ทำการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด |
1.
วิเคราะห์โครงสร้างของชั้นผิวและสภาพผิวก่อนทำการสักได้ |
110502.01 | 216181 |
110502 ทำการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด |
2.
วิเคราะห์ส่วนประกอบของผิว ปัญหาผิวที่อาจก่อให้เกิดปัญหาก่อนทำการสักคิ้วได้ |
110502.02 | 216182 |
110502 ทำการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด |
3.
วิเคราะห์โรคภัยไข้เจ็บของผู้รับบริการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายก่อนทำการสักคิ้วได้ |
110502.03 | 216183 |
110502 ทำการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด |
4.
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสักคิ้ว |
110502.04 | 216184 |
110502 ทำการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด |
5.
ทำการสักคิ้วตามหลักการทางกายวิภาคศาสตร์ของชั้นผิวหนัง ด้วยอุปกรณ์ที่มีความสะอาดให้ผู้รับบริการตามที่ออกแบบไว้ด้วยความระมัดระวังและเป็นไปตามหลักสุขอนามัย |
110502.05 | 216185 |
1110501 ตรวจสอบสถานที่และสภาพแวดล้อมที่สะอาดและมีแสงสว่างตามมาตรฐานฆ่าเชื้ออุปกรณ์สักคิ้ว |
1.
ตรวจสอบความสะอาดของสถานที่ตลอดจนสภาพแวดล้อมก่อนการสักคิ้วให้ได้มาตรฐานด้านแสงสว่างตามที่กฎหมายกำหนดและอุณหภูมิที่เหมาะสม |
1110501.01 | 216179 |
1110501 ตรวจสอบสถานที่และสภาพแวดล้อมที่สะอาดและมีแสงสว่างตามมาตรฐานฆ่าเชื้ออุปกรณ์สักคิ้ว |
2. ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์พร้อมฆ่าเชื้ออุปกรณ์สักคิ้วก่อนการสักคิ้ว |
1110501.02 | 216180 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะการสักตกแต่งคิ้วเพื่อความงามกึ่งถาวรที่ถูกวิธี (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการสักตกแต่งคิ้วเพื่อความงามกึ่งถาวร 2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายระเบียบข้อบังคับและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ 3. ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารผลการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. เอกสารประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ และสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ตรวจสอบสถานที่ สภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ ก่อนทำการสักคิ้ว และสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์
ผู้รับการประเมินต้องสามารถทำการสักคิ้วตามหลักการทางวิทยาศาสตร์กายวิภาคศาสตร์ของชั้นผิวหนัง เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ด้วยความระมัดระวังและเป็นไปตามหลักสุขอนามัย ทำการสักโดยมีความรู้ในเรื่องของโครงสร้างชั้นผิว ส่วนประกอบของชั้นผิวหนัง และปัญหาผิวที่เป็นอุปสรรคต่อการสักคิ้ว และมีความรู้ในข้อห้ามและข้อควรระวังในการสักคิ้วได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บที่อาจเป็นอันตรายต่อการสักคิ้ว ดูแลสถานที่และสภาพแวดล้อม ความสะอาด แสงสว่าง การฆ่าเชื้ออุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีความเชี่ยวชาญในการสักคิ้ว
1. บุคคลที่ทำการสักคิ้วหรือเกี่ยวข้องกับการสักคิ้ว ตามราชกิจจานุเบกษาระบุในส่วนผู้ปฏิบัติการสักไว้ดังนี้ 1.) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ขณะให้บริการ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ 2.) มีใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจเฝ้าระวังโรคติดต่อ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และวัณโรค 3.) มีความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ และการจัดการมูลฝอย ที่เกิดจากการประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามประกาศนี้ ผู้ดำเนินกิจการและผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับ การป้องกันการติดเชื้อ หรืออันตรายจากการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย รวมทั้ง การจัดการมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ 2. การตรวจสอบความสะอาดและความพร้อมของสถานที่และสภาพแวดล้อม ได้แก่ เตียงสัก โคมไฟส่องสว่าง เข็มสัก สี ก่อนการสักคิ้ว ให้ได้มาตรฐานด้านแสงสว่างและอุณหภูมิ 3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสักตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ของชั้นผิวหนัง การสักควรจะสักให้ลึกถึงชั้น Dermis เพราะ ในชั้น Dermis มีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ เมื่อร่างกายเกิดแผล หลังจากนั้นจึงฝัง Pigment หรือ สีลงไปยัง เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งเมื่อแผลหายดีแล้ว เนื้อเยื่อนั้น จะกลายเป็นแผลเป็นที่มีสี ซึ่งคือรอยสักนั่นเอง มีความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนในการสัก ในแต่ละวิวัฒนาการงานสักคิ้ว ให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนการทำความสะอาด ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ติดสีได้ดียิ่งขึ้น การสักด้วยเครื่องสักไฟฟ้า สามารถสักเพื่อทำคิ้วสไลด์และคิ้วลายเส้น ซึ่งส่วนใหญ่ช่างสักจะนิยมใช้อุปกรณ์เครื่องสักไฟฟ้านี้ทำคิ้วสไลด์ เนื่องจากสีจะติดดีกว่าและระดับสีสม่ำเสมอมากกว่าการใช้อุปกรณ์การสักอื่นๆ แต่ก็สามารถทำคิ้วลายเส้นได้เช่นกันแต่ลักษณะของเส้นที่ได้จะใหญ่และไม่คม การสักแบบด้าม ด้ามเพ้นท์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสักคิ้วลายเส้น ผลสำเร็จที่ได้ที่เกิดจากอุปกรณ์การสักและทักษะของของช่างสักคิ้วนั้น ลายเส้นจะพลิ้ว คมเส้นเล็กดูเป็นธรรมชาติน้ำหนักมือในการสัก ไม่เบาหรือหนักไปถูกกำหนดด้วยลักษณะของเส้นคือ โคนเข้มปลายบาง ความลึกของผิว ควรอยู่ในระดับประมาณ 1 มิลลิเมตร หากใช้น้ำหนักมือที่น้อยเกินไป หมึกจะติดเพียงชั้นหนังกำพร้า ซึ่งจะติดผิวได้ ประมาณ 7-14 วันแล้วหลุดลอกไปตามกลไกการผลัดเซลล์ผิว |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน (ตรวจสอบสถานที่และสภาพแวดล้อมที่สะอาดและมีแสงสว่างตามมาตรฐานฆ่าเชื้ออุปกรณ์สักคิ้ว) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน 18.2 เครื่องมือประเมิน (ทำการสักคิ้วตามหลักวิทยาศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ตามมาตรฐานที่กำหนด) 1) แบบทดสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินผลสังเกตการปฏิบัติงาน |