หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาและบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-OBVB-340B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาและบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน และการสอนการทำงานเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
25401 ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  1. ปฏิบัติการประเมินสมรรถนะและวิเคราะห์องค์ความรู้และทักษะที่ผู้ร่วมงานควรได้รับการถ่ายทอด 25401.01 216141
25401 ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  2. วางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้  25401.02 216142
25401 ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  3. จัดเตรียมเนื้อหาและสื่อในการถ่ายทอดองค์ความรู้ 25401.03 216143
25401 ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  4. ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน 25401.04 216144
25401 ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  5. ประเมินสมรรถนะของผู้ร่วมงานหลังการรับการถ่ายทอด 25401.05 216145
25402 โค้ช (Coach) การทำงานเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  1. วินิจฉัยปัญหาของงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 25402.01 216146
25402 โค้ช (Coach) การทำงานเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  2. วางแผนและแนวทางการโค้ช (Coach) การทำงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 25402.02 216147
25402 โค้ช (Coach) การทำงานเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  3. โค้ช (Coach) การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 25402.03 216148
25402 โค้ช (Coach) การทำงานเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน  4. ติดตามผลการสอนการทำงาน 25402.04 216149

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนสิทธิบัตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสัมภาษณ์

(2)    ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน สรุปความ ทั้งทางด้านเทคนิคและภาษา

(3)    ทักษะการแปลความหมายด้านเทคโนโลยี การวิเคราะห์เอกสารผลการตรวจสอบภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความสามารถในการรับจดทะเบียน ศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์ สำหรับจัดทำคำขอรับความคุ้มครอง

(4)    ทักษะในการปฏิสัมพันธ์และการสร้างสัมพันธภาพกับเครือข่ายวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ

(5)    ทักษะการเป็นผู้นำ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านเทคโนโลยี

(2)    ความรู้ด้านกฎหมาย วิธีปฏิบัติและขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)    หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2)    ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)    ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)    ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)    วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน งานถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการด้านขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน โดยมีรายละเอียดที่สำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่จะทำการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้ร่วมงาน ที่เลือกได้อย่างน้อยหนึ่งฉบับจาก 

•    สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty, PCT)

•    พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)

•    อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Paris Convention) 

•    ข้อตกลงฉบับอื่น ๆ ที่ประเทศไทยยังเข้าร่วมประชุม 

•    การเจรจาในคณะกรรมการต่าง ๆ ภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization, WIPO) อาทิ ความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (Hague Agreement Concerning the International Registration of Industrial Designs) 

•    สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีเทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ