หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาและบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-HKEA-339B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาและบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการรักษาและบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหลังการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ (Post Filing) ปฏิบัติงานด้านการรักษาสิทธิในต่างประเทศ (Maintenance) และให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
25301 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหลังการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ (Post Filing)  1. ดำเนินการให้มีที่ปรึกษา หรือตัวแทนผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการด้านขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ 25301.01 216127
25301 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหลังการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ (Post Filing)  2. ปฏิบัติการประเมิน และตรวจสอบคำสั่งของนายทะเบียน วิเคราะห์หาแนวทางการดำเนินการร่วมกับที่ปรึกษา หรือตัวแทนผู้มีอำนาจ 25301.02 216128
25301 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหลังการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ (Post Filing)  3. ปฏิบัติการจัดทำคำชี้แจงตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ 25301.03 216129
25301 ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหลังการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ (Post Filing)  4. ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการให้ได้รับความคุ้มครองและรักษาสิทธิ 25301.04 216130
25302 ปฏิบัติงานด้านการรักษาสิทธิในต่างประเทศ (Maintenance)  1. ปฏิบัติการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความคุ้มค่าในการรักษาสิทธิในต่างประเทศ 25302.01 216131
25302 ปฏิบัติงานด้านการรักษาสิทธิในต่างประเทศ (Maintenance)  2. ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ผลงานเพื่อดำเนินการรักษาสิทธิในต่างประเทศ 25302.02 216132
25302 ปฏิบัติงานด้านการรักษาสิทธิในต่างประเทศ (Maintenance)  3. จัดทำข้อสรุป และแนวทางการดำเนินการรักษาสิทธิในต่างประเทศ 25302.03 216133
25302 ปฏิบัติงานด้านการรักษาสิทธิในต่างประเทศ (Maintenance)  4. นำเสนอความเห็นและทางเลือกต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ 25302.04 216134
25302 ปฏิบัติงานด้านการรักษาสิทธิในต่างประเทศ (Maintenance)  5. ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการรักษาสิทธิ 25302.05 216135
25303 ให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 25303.01 216136
25303 ให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  2. ดำเนินการให้มีที่ปรึกษา หรือตัวแทนผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการในต่างประเทศ 25303.02 216137
25303 ให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  3. วิเคราะห์ข้อมูล และปัจจัยแวดล้อมของกรณีเกิดการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ร่วมกับที่ปรึกษาหรือตัวแทนฯ 25303.03 216138
25303 ให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  4. จัดทำข้อสรุปประเด็นการละเมิด และแนวทางการดำเนินการทางกฎหมายในต่างประเทศ 25303.04 216139
25303 ให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  5. นำเสนอความเห็นและทางเลือกต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ 25303.05 216140

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความสามารถในการรับจดทะเบียน และศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์

(2)    ทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ได้แก่ การอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาอังกฤษเพื่อการแปลความหมายด้านเทคโนโลยีและด้านกฎหมาย

(3)    ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน สรุปความ

(4)    ทักษะการวิเคราะห์เอกสารผลการสืบค้นหรือผลการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับจัดทำคำขอรับความคุ้มครอง แก้ไขเพิ่มเติม หรือการชี้แจงผลการตรวจสอบ เพื่อการรักษาสิทธิภายหลังการรับจดทะเบียน

(5)    ทักษะในการปฏิสัมพันธ์และการสร้างสัมพันธภาพกับเครือข่ายวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ

(6)    ทักษะการเป็นผู้นำ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านเทคโนโลยี 

(2)    ความรู้ด้านกฎหมาย วิธีปฏิบัติและขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

(3)    ความรู้ด้านกฎหมาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)    หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2)    ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)    ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)    ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)    วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานรักษาและบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

•    ทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกละเมิด ด้วยการถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยบุคคลอื่น หรือไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาต้องตรวจสอบว่ามีผู้ใดละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน โดยอาจจัดให้มีเจ้าหน้าที่สำรวจตลาด หรือจ้างบริษัทหรือสำนักงานนายความให้ดำเนินการ และเมื่อพบว่ามีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มีดำเนินการ อาทิ ส่งจดหมายเตือน เจรจาต่อรอง หรือดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

•    การรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจถูกละเมิด อาทิ ขอบเขตของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สรุปข้อมูลการที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พื้นที่กฎหมาย ตรวจสอบความชัดเจนหรือแนวโน้มของการละเมิด ระยะเวลาที่กระทำละเมิด ประมาณการมูลค่าความเสียหาย ค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการดำเนินการ พร้อมจัดทำสรุปข้อมูล มีการหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึงแนวทางการดำเนินการ ดำเนินการหารือกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประดิษฐ์ ผู้ทรงสิทธิ ฝ่ายกฎหมาย และบริษัทสำนักงานกฎหมายหรือตัวแทนผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการดำเนินการในต่างประเทศ ถึงแนวทางการดำเนินการกับผู้ละเมิด อาทิ การแจ้งเตือน การเจรจา การหาขอบเขตความคุ้มครองในส่วนของตัวทรัพย์สินทางปัญญา หรือพื้นที่กฎหมาย หรือการพิจารณาฟ้องร้องบังคับใช้สิทธิ เป็นต้น การสรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทางกฎหมาย อย่างหนังสือมอบอำนาจให้สำนักงานกฎหมายกระทำการแทนผู้ทรงสิทธิ พร้อมจัดทำสรุปการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อเป็นข้อมูลของหน่วยงาน

•    ทรัพย์สินทางปัญญาของตนมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และได้รับจดหมายเตือน จึงควรดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาของตนเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาที่อ้างถึง ทั้งในส่วนของผลงาน วัตถุแห่งสิทธิ และพื้นที่กฎหมาย เพื่อดำเนินการมีจดหมายตอบชี้แจง การเจรจา หรือพิจารณายุติการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาที่ละเมิดนั้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์ 



ยินดีต้อนรับ