หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-MNYO-338B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานในขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  ได้แก่ จัดทำแผนและกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ ประเมินความเสี่ยงในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ จัดทำคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ และเงื่อนไขความคุ้มครองผลงาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
25201 จัดทำแผนและกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ  1. สรุปผลการสืบค้นทรัพย์สินทางปัญญา เอกสาร รวมถึงข้อมูลในสัญญาที่เกี่ยวข้อง  25201.01 216118
25201 จัดทำแผนและกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ  2. ประเมินศักยภาพและความเหมาะสมของการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ  25201.02 216119
25201 จัดทำแผนและกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ  3. จัดทำข้อเสนอแผนและกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ 25201.03 216120
25202 ประเมินความเสี่ยงในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ 1. วิเคราะห์ข้อมูลและเอกสารที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยงในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ  25202.01 216121
25202 ประเมินความเสี่ยงในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ 2. ดำเนินการให้มีการจัดทำการประเมินและนำเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ 25202.02 216122
25203 จัดทำคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  1. ประเมิน ทวนสอบ ขอบเขตสิทธิการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 25203.01 216123
25203 จัดทำคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  2. จัดทำข้อสรุปแนวทางและขอบเขตการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเสนอผู้มีอำนาจตัดสินใจ 25203.02 216124
25203 จัดทำคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  3. ดำเนินการให้มีที่ปรึกษา หรือตัวแทนผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการดำเนินการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 25203.03 216125
25203 จัดทำคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  4. ดำเนินการให้มีการยื่นขอรับความคุ้มครอง 25203.04 216126

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความสามารถในการรับจดทะเบียน และศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์

(2)    ทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ได้แก่ การอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาอังกฤษเพื่อการแปลความหมายด้านเทคโนโลยีและด้านกฎหมาย

(3)    ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน สรุปความ

(4)    ทักษะการวิเคราะห์เอกสารผลการสืบค้นหรือผลการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับจัดทำคำขอรับความคุ้มครอง แก้ไขเพิ่มเติม หรือการชี้แจงผลการตรวจสอบ เพื่อการรักษาสิทธิภายหลังการรับจดทะเบียน

(5)    ทักษะในการปฏิสัมพันธ์และการสร้างสัมพันธภาพกับเครือข่ายวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ

(6)    ทักษะการเป็นผู้นำ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านเทคโนโลยี 

(2)    ความรู้ด้านกฎหมาย วิธีปฏิบัติและขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

(3)    ความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)    หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2)    ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)    ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)    ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)    วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

•    ผลงาน หมายรวมถึงสิ่งที่ประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์ อันเป็นทรัพย์สินที่มีตัวตน (Tangible) และไม่มีตัวตน (Intangible) อาทิ ผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงผลพลอยได้จากการวิจัย

•    การวิเคราะห์ข้อมูลผลงาน ในกรอบความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ รายละเอียดของผลงาน เงื่อนไขความคุ้มครองผลงาน กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ

•    การวิเคราะห์ข้อมูลผลงานในกรอบการใช้ประโยชน์ผลงาน อาทิ ความเหมาะสมความเป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ผลงาน ผู้รับถ่ายทอดผลงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประเทศเป้าหมาย โอกาสทางการตลาด ความต้องการของตลาด หรือมูลค่าตลาด รวมถึงในกรอบด้านการเงิน อาทิ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับผลตอบแทน

•    ฐานข้อมูลสำหรับสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์ทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ Patentscope, Global Design Database, Global Brand Database หรือ Lisbon Express Database

•    ฐานข้อมูลสำหรับสืบค้นข้อมูลเชิงพาณิชย์ อาทิ Trade Map, Export Potential Map, Export Potential Map หรือ United States Food and Drug Administration (FDA)

•    กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ อาทิ สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty, PCT) พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Paris Convention) ความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (Hague Agreement Concerning the International Registration of Industrial Designs) หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Lisbon Agreement for the Protection of Appellation of Origin and Their International Registration)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีเทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ