หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-FYYC-337B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการ อาทิ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศและให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมาย และกฎที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ และเงื่อนไขความคุ้มครองผลงาน 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
25101 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน 25101.01 216112
25101 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  2. วิเคราะห์ข้อมูลผลงานและกรอบกฎหมายเพื่อประกอบการจัดทำแนวทางการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  25101.02 216113
25101 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ  3. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์และแนวทางการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ 25101.03 216114
25102 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ  1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ 25102.01 216115
25102 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ  2. วิเคราะห์ข้อมูลผลงานและกรอบกฎหมายเพื่อประกอบการจัดทำแนวทางการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ 25102.02 216116
25102 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ  3. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์และแนวทางการใช้ประโยชน์ผลงานในต่างประเทศ 25102.03 216117

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความสามารถในการรับจดทะเบียน และศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์

(2)    ทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ได้แก่ การอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาอังกฤษเพื่อการแปลความหมายด้านเทคโนโลยีและด้านกฎหมาย

(3)    ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน สรุปความ

(4)    ทักษะการสืบค้นจากฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา วิธีการสืบค้นข้อมูล 

(5)    ทักษะการวิเคราะห์เอกสารผลการสืบค้นหรือผลการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับจัดทำคำขอรับความคุ้มครอง แก้ไขเพิ่มเติม หรือการชี้แจงผลการตรวจสอบ เพื่อการรักษาสิทธิภายหลังการรับจดทะเบียน

(6)    ทักษะในการปฏิสัมพันธ์และการสร้างสัมพันธภาพทั้งในและต่างประเทศ

(7)    ทักษะการเป็นผู้นำ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านเทคโนโลยี 

(2)    ความรู้ด้านกฎหมาย วิธีปฏิบัติและขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

(3)    ความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)    หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2)    ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)    ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)    ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)    วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

•    ผลงาน หมายรวมถึงสิ่งที่ประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์ อันเป็นทรัพย์สินที่มีตัวตน (Tangible) และไม่มีตัวตน (Intangible) อาทิ ผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงผลพลอยได้จากการวิจัย

•    การวิเคราะห์ข้อมูลผลงาน ในกรอบความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ รายละเอียดของผลงาน เงื่อนไขความคุ้มครองผลงาน กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ

•    การวิเคราะห์ข้อมูลผลงานในกรอบการใช้ประโยชน์ผลงาน อาทิ ความเหมาะสมความเป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ผลงาน ผู้รับถ่ายทอดผลงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประเทศเป้าหมาย โอกาสทางการตลาด ความต้องการของตลาด หรือมูลค่าตลาด รวมถึงในกรอบด้านการเงิน อาทิ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับผลตอบแทน

•    ฐานข้อมูลสำหรับสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์ทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ Patentscope, Global Design Database, Global Brand Database หรือ Lisbon Express Database

•    ฐานข้อมูลสำหรับสืบค้นข้อมูลเชิงพาณิชย์ อาทิ Trade Map, Export Potential Map, Export Potential Map หรือ United States Food and Drug Administration (FDA)

•    กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ อาทิ สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty, PCT) พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Paris Convention) ความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (Hague Agreement Concerning the International Registration of Industrial Designs) หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Lisbon Agreement for the Protection of Appellation of Origin and Their International Registration)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เทียบโอนประสบการณ์ 



ยินดีต้อนรับ