หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านการเตรียมความพร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-KTHH-326B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านการเตรียมความพร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์ การประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ ตลอดจนการประเมินมูลค่าผลงาน (Valuation)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมาย และกฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อาทิ  ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21101 ตรวจสอบผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์  1. ตรวจสอบสถานภาพการขอรับความคุ้มครอง ประเภทการคุ้มครองและอายุการคุ้มครอง 21101.01 215689
21101 ตรวจสอบผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์ 
2. ตรวจสอบความเป็นเจ้าของและสัดส่วนความเป็นเจ้าของ ข้อมูลผู้ประดิษฐ์/
ผู้สร้างสรรค์และสัดส่วนในการประดิษฐ์/การสร้างสรรค์ผลงาน
21101.02 215690
21101 ตรวจสอบผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์  3. ตรวจสอบข้อมูลสัญญา/เงื่อนไขแหล่งทุน/สัญญาที่เกี่ยวข้อง 21101.03 215691
21101 ตรวจสอบผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์  4. ตรวจสอบข้อมูลการดำเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 21101.04 215692
21101 ตรวจสอบผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์  5. ตรวจสอบข้อมูลสถานภาพการใช้ประโยชน์ที่อาจมีมาก่อนหน้า 21101.05 215693
21102 ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์  1. ตรวจสอบข้อมูลศักยภาพในการใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ของผลงาน 21102.01 215694
21102 ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์  2. ตรวจสอบข้อมูลสถานะของการพัฒนา/ระดับความพร้อมของผลงาน 21102.02 215695
21102 ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์  3. ตรวจสอบความมีอิสระในการดำเนินการเบื้องต้น (Preliminary Freedom to Operate)  21102.03 215696
21102 ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์  4. สืบค้นและรวบรวมข้อมูลโอกาสการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 21102.04 215697
21102 ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์  5. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อการประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม 21102.05 215698
21103 ประเมินมูลค่า (Valuation) ของผลงาน  1. เลือกใช้วิธีการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมกับสถานการณ์/การนำไปใช้ 21103.01 215699
21103 ประเมินมูลค่า (Valuation) ของผลงาน  2. ดำเนินการประเมินมูลค่าด้วยวิธีที่เหมาะสม 21103.02 215700
21103 ประเมินมูลค่า (Valuation) ของผลงาน  3. สรุปข้อมูลจากการประเมินมูลค่าเพื่อจัดทำข้อเสนอ (Business Proposal) 21103.03 215701

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสืบค้นข้อมูล

(2)    ทักษะด้านการสัมภาษณ์ 

(3)    ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การจับใจความ ทั้งทางด้านเทคนิคและภาษา

(4)    ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

(5)    ทักษะในการปฏิสัมพันธ์และการสร้างสัมพันธภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น พรบ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ฯ

(2)    ความรู้ด้านการประเมินระดับความพร้อมของผลงาน

(3)    ความรู้ด้านการประเมินศักยภาพในเชิงธุรกิจ รวมถึงการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์/ประเมินศักยภาพ

(4)    ความรู้ด้านการประเมินมูลค่า การประเมินต้นทุนและการกำหนดราคา 

(5)    ความรู้ด้านการตรวจสอบความมีอิสระในการดำเนินการเบื้องต้น (Preliminary Freedom to Operate)

(6)    ความรู้เกี่ยวกับตลาดและอุตสาหกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)    หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2)    ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)    ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)    ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)    วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบผลงาน ประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ และประเมินมูลค่าผลงาน (Valuation) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

•    ผลงาน หมายรวมถึงสิ่งที่ประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์ อันเป็นทรัพย์สินที่มีตัวตน (Tangible) และไม่มีตัวตน (Intangible) อาทิ ผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงผลพลอยได้จากการวิจัย

•    การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณประโยชน์

•    กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช ระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและ การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ (PIC & MAT) การได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ และรวมถึงกฎหมายและกฎอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

•    สถานะของการพัฒนา/ระดับความพร้อมของผลงาน หมายถึง การบ่งชี้ระดับความพร้อมและเสถียรภาพของผลงานตามบริบทการใช้งาน  โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการประเมิน อาทิ  Technology Readiness Level (TRL) 

•    ความมีอิสระในการดำเนินการเบื้องต้น (Preliminary FTO) หมายถึง ความอิสระในการดำเนินการโดยไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นในขอบเขตเป้าหมายการใช้ประโยชน์ และ ข้อผูกพันตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ สัญญา ข้อตกลงต่าง ๆ 

•    แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลโอกาสการใช้ประโยชน์ อาทิ ผู้ประดิษฐ์  กลุ่มผู้ใช้/ลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงข้อมูลจากฐานข้อมูล/สื่อต่าง ๆ/กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 

•    เครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อประเมินศักยภาพและวางแผนการใช้ประโยชน์ อาทิ การประเมินขนาดตลาดด้วย Total Addressable Market (TAM), Serviceable Addressable Market (SAM), Serviceable Obtainable Market (SOM), SWOT Analysis, Technology Evaluation Canvas (TEC), Business Model Canvas (BMC)  หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์และเป้าหมายของการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

•    การประเมินมูลค่า (Valuation) หมายถึง การประเมินค่าของผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ครอบครอง ซึ่งอาจเป็นการประเมินมูลค่าจากต้นทุนของการได้มาหรือค่าใช้จ่าย (Cost Approach) หรือ ประเมินจากราคาตลาด (Market Approach) หรือประเมินจากผลประโยชน์และผลตอบแทนที่จะได้รับจากการครอบครองในอนาคต (Income Approach) เป็นต้น  ทั้งนี้ ยังมีวิธีการประเมินมูลค่าอื่น ๆ ที่อาจจะเลือกหรือนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์และบริบทของการทำงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีเทียบโอนประสบการณ์ 



ยินดีต้อนรับ