หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเป็นไปได้และศักยภาพการใช้ประโยชน์

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-EUWL-319B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเป็นไปได้และศักยภาพการใช้ประโยชน์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินข้อค้นพบ (Invention Disclosure) ในด้านการประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์ และตรวจสอบความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมาย และกฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อาทิ  ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11201 ประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์  1. ประเมินศักยภาพของผลงานด้านเทคนิค 11201.01 214878
11201 ประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์  2. ประเมินความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์  11201.02 214879
11201 ประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์  3. ประเมินความเป็นไปได้ทางด้านต้นทุนและความคุ้มค่า  11201.03 214880
11201 ประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์  4. ประเมินความเป็นไปได้ในการผลิต/บริการ 11201.04 214881
11201 ประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์  5. ประเมินความเป็นไปได้ทางกฎเกณฑ์และข้อบังคับทางกฎหมาย 11201.05 214882
11202 ตรวจสอบความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์  1. วิเคราะห์ความสอดคล้องกับกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ผลงาน 11202.01 214883
11202 ตรวจสอบความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์  2. สรุปความเป็นไปได้และศักยภาพการใช้ประโยชน์ 11202.02 214884

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลและการสัมภาษณ์ 

(2)    ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การจับใจความ 

(3)    ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

(4)    ทักษะในการปฏิสัมพันธ์และการสร้างสัมพันธภาพกับเครือข่ายวิชาชีพภายในประเทศ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(2)    ความรู้ด้านการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level-TRL)

(3)    ความรู้เกี่ยวกับตลาดและอุตสาหกรรม

(4)    ความรู้ด้านมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ผลงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)    หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2)    ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)    ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)    ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)    วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานประเมินความเป็นไปได้และศักยภาพการใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

•    การประเมินศักยภาพของผลงานตามข้อค้นพบด้านเทคนิค เป็นการประเมินประโยชน์ที่ได้จากการใช้ผลงานในเชิงเทคนิค (Technical Potential)  โดยอาจเทียบกับงานใกล้เคียงที่มีมาก่อนหน้า หรือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาดเป็นคู่เทียบ ในมิติต่าง ๆ ตามความเหมาะสม อาทิ ประสิทธิภาพที่ได้ ระยะเวลา ต้นทุน วัตถุดิบ แรงงาน และรวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานตามข้อค้นพบไปใช้ในพื้นที่จริง

•    การประเมินความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ สามารถระบุกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายได้ และประมาณการณ์ความต้องการ ขนาดตลาดได้เบื้องต้น สามารถระบุผู้ใช้ประโยชน์ (User) ตลอดจนความสามารถในการซื้อ/จ่ายเพื่อใช้ผลงานนั้น (Ability to Pay/Willing to Pay) เป็นต้น 

•    การประเมินความเป็นไปได้ทางด้านต้นทุนและความคุ้มค่า หมายรวมถึงการประเมินด้านต้นทุนในการใช้ผลงานตามข้อค้นพบเบื้องต้น  รวมถึง โครงสร้างต้นทุนในการผลิต การขนส่ง ต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงมาใช้เทคโนโลยีใหม่ (Switching Cost)  ตลอดจนความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อให้ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ กับผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นต้น

•    การประเมินความเป็นไปได้ในการผลิต/ให้บริการของผลงานตามข้อค้นพบ  พิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี/ผลงาน โดยใช้เครื่องมือที่เหมะสม เช่น TRL Related Evaluation ต่าง ๆ ความพร้อมของผลงานที่เพียงพอกับการใช้งานจริง รวมไปถึงความพร้อมของปัจจัยสนับสนุนอื่นที่ต้องใช้ประกอบกัน ข้อจำกัดของส่วนประกอบที่จำเป็นต้องใช้ (เช่น วัตถุดิบ) เป็นต้น

•    การประเมินความเป็นไปได้ทางกฎเกณฑ์ ข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นการประเมินข้อจำกัด หรือ ประเด็นในมุมมองด้านกฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการนำผลงานตามข้อค้นพบไปใช้ประโยชน์ อาทิ วัตถุดิบที่นำมาใช้มีกฎหมายใดที่ควบคุมที่จะเป็นข้อจำกัดในการนำมาใช้ในเชิงธุรกิจหรือไม่ 

•    กฎหมายและมาตรฐานที่จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการใช้ประโยชน์ หมายถึงกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์  อาทิ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการผลิต กฎหมายด้านวัตถุอันตราย กฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีเทียบโอนประสบการณ์



ยินดีต้อนรับ