หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินโอกาสและความเป็นไปได้ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-JZMV-318B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินโอกาสและความเป็นไปได้ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะนี้ ต้องมีความสามารถในการฟังและอ่าน เพื่อจับประเด็นหลักและเนื้อหาของเอกสาร เพื่อวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ ที่นำไปสู่การประเมินศักยภาพผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ และสามารถให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 1349 ผู้จัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎหมาย และกฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อาทิ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11101 สัมภาษณ์นักวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ  1. สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลโครงการ และข้อค้นพบ 11101.01 214870
11101 สัมภาษณ์นักวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ  2. สืบค้นข้อมูลผลงานวิจัย เพื่อทวนสอบความใหม่และศักยภาพในการใช้ประโยชน์ 11101.02 214871
11101 สัมภาษณ์นักวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ  3. เปรียบเทียบข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อหาข้อสรุป 11101.03 214872
11102 ระเมินศักยภาพผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ  1. สอบถามสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อค้นพบ ลักษณะ ประเภทของผลงาน  11102.01 214873
11102 ระเมินศักยภาพผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ  2. สืบค้นตามลักษณะผลงานเพื่อทวนสอบข้อค้นพบ 11102.02 214874
11102 ระเมินศักยภาพผลงานในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ  3. วิเคราะห์ข้อมูลข้อค้นพบ ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ 11102.03 214875
11103 ให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัย  1. ให้คำปรึกษาในการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัยในด้านความแตกต่าง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง 11103.01 214876
11103 ให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัย  2. ให้คำปรึกษาในการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพในการขยายผลของการคุ้มครองจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่กว้างขึ้น 11103.02 214877

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(1)    ทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัย

(2)    ทักษะการสัมภาษณ์ จับใจความสำคัญ และสรุปข้อมูล

(3)    ทักษะการวิเคราะห์ 

(4)    ทักษะการอธิบาย และการให้ข้อมูล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(1)    ความรู้ด้านกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา

(2)    ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ต้องมีหลักฐาน 2 รายการขึ้นไปจากข้อ (1) – (3)

(1)  หนังสือรับรองการทำงานจากต้นสังกัด หรือในกรณีผู้ทำงานอิสระให้ใช้หนังสือรับรองจากผู้ใช้บริการได้

(2) ใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) จากต้นสังกัด

(3)  ผลงานการปฏิบัติงาน และทักษะที่เกี่ยวข้อง (Portfolio) พร้อมหลักฐานหรือคำรับรองผลงาน

(4)   ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหรืองานนวัตกรรม (ถ้ามี)

(ข)   หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ใบประกาศที่แสดงผลผ่านการทดสอบของหลักสูตรที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผลการเรียนรู้

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง)   วิธีการประเมิน

เทียบโอนประสบการณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตงานและความรับผิดชอบ ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานประเมินโอกาสและความเป็นไปได้ในการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ 

•    ทรัพย์สินทางปัญญา หมายรวมเฉพาะ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ลิขสิทธ์ และเครื่องหมายการค้า เท่านั้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีเทียบโอนประสบการณ์ 



ยินดีต้อนรับ