หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนบทละครและซีรีส์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ENT-DILJ-009A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนบทละครและซีรีส์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2641 นักเขียนบทละคร นักเขียนบทภาพยนตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการเขียนบทละครและซีรีส์ การทบทวน ปรับปรุงแก้ไขบทตามข้อเสนอแนะจากทีมงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเขียนบท

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020301

เขียนบทตามรูปแบบของบทละครและซีรีส์

1. อธิบายเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และคำศัพท์ในการเขียนบทละครและซีรีส์  เบื้องต้นได้

1020301.01 215829
1020301

เขียนบทตามรูปแบบของบทละครและซีรีส์

2. ใช้โปรแกรมเขียนบทสากลได้

1020301.02 215830
1020301

เขียนบทตามรูปแบบของบทละครและซีรีส์

3. เขียนบทได้ตามรูปแบบบทละครและซีรีส์ 

1020301.03 215831
1020302

ทบทวนบทละครและซีรีส์

1. วิเคราะห์ และประเมินข้อดีข้อเสียของบทละครและซีรีส์ได้

1020302.01 215832
1020302

ทบทวนบทละครและซีรีส์

2. ปรับปรุงแก้ไขบทละครและซีรีส์ตามข้อเสนอแนะจากทีมงานที่เกี่ยวข้องได้

1020302.02 215833
1020302

ทบทวนบทละครและซีรีส์

3. ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง

1020302.03 215834

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการเขียนงานตามรูปแบบบทละครและซีรีส์

2.    ทักษะในการใช้โปรแกรมเขียนบทสากล

3.    ทักษะในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

4.    ทักษะการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และคำศัพท์ในการเขียนบทเบื้องต้น

2.    ความรู้เกี่ยวกับเขียนงานตามรูปแบบบทละครและซีรีส์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

         1.    แบบประเมินผลการสอบข้อเขียนอัตนัยและปรนัย

         2.    เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน หรือ ตัวอย่างผลงานที่เผยแพร่แล้ว 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         1.    แบบประเมินผลการสอบข้อเขียนอัตนัยและปรนัย

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน    

          ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียนอัตนัย ปรนัย และแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

เขียนบทละครและซีรีส์ โดยใช้โปรแกรมเขียนบทสากล ทบทวนบท ปรับปรุง และพิสูจน์อักษรภาษาไทย 

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้อง

        1.    มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และคำศัพท์ในการเขียนบทละครและซีรีส์เบื้องต้น สามารถใช้โปรแกรมเขียนบทสากล และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้

        2.    สามารถคำนวณความยาวของบทละครและซีรีส์ ได้

        3.    สามารถเขียนในรูปแบบของบทละครและซีรีส์ที่ถูกต้อง สามารถเขียนบทให้เห็นเป็นภาพได้

        4.    สามารถออกแบบบทสนทนา (dialogue) ได้สอดคล้องกับตัวละครและโครงเรื่อง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        N/A 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (เขียนบทละครและซีรีส์)

        1) แบบทดสอบข้อเขียนอัตนัยและปรนัย

        2) แฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน (ทบทวนบทละครและซีรีส์)

        1) แบบทดสอบข้อเขียนอัตนัย

       2) แฟ้มสะสมผลงาน



        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ