หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้าง Treatment/Outline

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ENT-APCZ-007A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้าง Treatment/Outline

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2641 นักเขียนบทละคร นักเขียนบทภาพยนตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการลำดับเรื่องที่เล่า  (sequence /scene / beat) ออกแบบ Execution ที่สร้างอารมณ์ร่วมของตัวละครและเรื่องราว  รวมทั้งขยายรายละเอียดโครงสร้างเรื่องตามวัตถุประสงค์ของ plot 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเขียนบท

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020101

ลำดับเรื่องที่เล่า (sequence /scene / beat)

1. ลำดับเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบทได้ครบถ้วน

1020101.01 215819
1020101

ลำดับเรื่องที่เล่า (sequence /scene / beat)

2. อธิบายองค์ประกอบของ treatment ความแตกต่างของ  sequence/scene และ beat, tempo ได้

1020101.02 215820
1020101

ลำดับเรื่องที่เล่า (sequence /scene / beat)

3. แยกโครงสร้างระหว่าง plot หลัก และ plot รอง และการขยาย plot รอง ได้

1020101.03 215821
1020102

ออกแบบเหตุการณ์ สถานการณ์ (scene design/Execution)

1. ออกแบบ Execution ที่สร้างอารมณ์ร่วมของตัวละคร และเรื่องราวได้

1020102.01 215822
1020102

ออกแบบเหตุการณ์ สถานการณ์ (scene design/Execution)

2. ขยายรายละเอียดโครงสร้างเรื่องตามวัตถุประสงค์ของ plot ได้

1020102.02 215823

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการลำดับเรื่อง

2.    ทักษะในการออกแบบเหตุการณ์ สถานการณ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของ treatment

2.    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเหตุการณ์ สถานการณ์ (scene design/Execution)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

         1.    แบบประเมินผลการสอบข้อเขียนอัตนัย

         2.    เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน หรือ ตัวอย่างผลงานที่เผยแพร่แล้ว 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         1.    แบบประเมินผลการสอบข้อเขียนอัตนัย

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน    

        ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียนอัตนัย

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ออกแบบเหตุการณ์ สถานการณ์ (scene design/Execution)  ลำดับเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบท

(ก)    คำแนะนำ 

         ผู้เข้ารับการประเมินต้อง

         1. เข้าใจองค์ประกอบของ treatment เข้าใจความแตกต่างของ sequence/scene และ beat สามารถแบ่งแยกโครงสร้างระหว่าง plot หลัก และ plot รอง และการขยาย plot รอง สามารถลำดับเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบทได้ครบถ้วน

         2. สามารถขยายรายละเอียดโครงสร้างเรื่องตามวัตถุประสงค์ของ plot สามารถออกแบบ Execution ที่สร้างอารมณ์ร่วมของตัวละคร และเรื่องราวได้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        1. sequence คือ ช่วง, ตอน

        2. beat คือ จังหวะที่เกิดขึ้นในองค์ประกอบต่างๆ ของฉาก 

        3. tempo คือ จังหวะในการเล่าเรื่อง (ขยี้ ขยัก ขยาย)

        4. plot คือ โครงเรื่อง

        5. scene design คือ การออกแบบเหตุการณ์ หรือสถานการณ์

        6. execution คือ การเปิดเผยใจความของฉากหรือ Sequence โดยผ่านเหตุการณ์ หรือการเล่าแบบรูปธรรม

        7. treatment คือ โครงเรื่องขยาย  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (ลำดับเรื่องที่เล่า (sequence /scene / beat))

        1) แบบทดสอบข้อเขียนอัตนัย

18.2 เครื่องมือประเมิน (ออกแบบเหตุการณ์ สถานการณ์ (scene design/Execution))

        1) แบบทดสอบข้อเขียนอัตนัย



        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ