หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมข้อมูลเพื่อการสร้างบท

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ENT-ZDML-002A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมข้อมูลเพื่อการสร้างบท

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2641 นักเขียนบทละคร นักเขียนบทภาพยนตร์ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมการค้นหาข้อมูลเพื่อการสร้างบทตามที่กำหนดอย่างหลากหลายรอบด้าน โดยค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถให้ข้อมูลตรงประเด็นตามหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพนั้นๆการเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพนักเขียนบท การคัดกรองข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อเตรียมสำหรับการสร้างบท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักเขียนบท

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010201

ค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท

1. ค้นหาข้อมูลตามที่กำหนดอย่างหลากหลายรอบด้าน

1010201.01 215775
1010201

ค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท

2. ค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถให้ข้อมูลตรงประเด็นตามหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพนั้นๆ

1010201.02 215776
1010201

ค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท

3. เข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพนักเขียนบท

1010201.03 215777
1010202

คัดกรองข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท

1. รวบรวมข้อมูลจากการหาได้อย่างหลากหลายรอบด้าน 

1010202.01 215778
1010202

คัดกรองข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท

2. คัดกรองข้อมูลได้เหมาะสมกับการสร้างบท

1010202.02 215779

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการจัดหาและค้นหาข้อมูลเบื้องต้น

2.    ทักษะในการสรุปและจับประเด็น

3.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้น 

2. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของงานเขียนบท 

3. ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของบทที่จะทำการเขียน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

        1.    แบบประเมินผลการสอบข้อเขียนปรนัย

        2.    เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน หรือ ตัวอย่างผลงานที่เผยแพร่แล้ว 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1.    แบบประเมินผลการสอบข้อเขียนปรนัย 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน    

         ประเมินความรู้และทักษะโดยการสอบข้อเขียนปรนัย

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ค้นหาและคัดกรองข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการเขียนบท

(ก)    คำแนะนำ 

         ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถให้ข้อมูลตรงประเด็นตามหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพนั้นๆ และนำข้อมูลมาคัดกรองเพื่อเตรียมสำหรับการเขียนบท

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         1. การค้นหาข้อมูลจากเอกสาร และแหล่งข้อมูล ได้แก่ การค้นหาจากแหล่งเอกสารข้อมูลการสัมภาษณ์บุคคล และการลงพื้นที่ 

         2. การเข้าถึงแหล่งข้อมูลต้องยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพของนักเขียนบท 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (ค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท)

        1) แบบทดสอบข้อเขียนปรนัย

18.2 เครื่องมือประเมิน (คัดกรองข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างบท)

        1) แบบทดสอบข้อเขียนปรนัย

    

         ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ